(VOVworld) - ในตลอด 40ปีตั้งแต่เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทยได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งในหลายด้านทั้งเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม การศึกษาและการท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่มีกลไกการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับเวียดนาม ในโอกาสฉลองครบรอบ 40ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ทางผู้จัดทำรายการขอทบทวนนิมิตรหมายสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศในตลอด 40ปีที่ผ่านมา
(VOVworld) - ในตลอด 40ปีตั้งแต่เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทยได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งในหลายด้านทั้งเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม การศึกษาและการท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่มีกลไกการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับเวียดนาม ในโอกาสฉลองครบรอบ 40ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ทางผู้จัดทำรายการขอทบทวนนิมิตรหมายสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศในตลอด 40ปีที่ผ่านมา
นาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกับนาย พิชัย รัตตกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
|
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปี1976 เวียดนามและไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในโอกาสการเยือนเวียดนามของนาย พิชัย รัตตกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1978 ได้มีการเปิดสถานทูตเวียดนามประจำกรุงเทพฯและทางการไทยได้เปิดสถานทูตไทยประจำกรุงฮานอยในเดือนมีนาคมปี 1978 ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังหลังการเยือนประเทศไทยของนาย ฝ่ามวันด่ง นายกรัฐมนตรีเวียดนามเมื่อเดือนกันยายนปี 1978 ตามคำเชิญของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีไทย โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 10 กันยายนเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาความสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมือทวิภาคี
พิธีฉลองครบรอบ 40ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ณ กรุงฮานอย
|
ในช่วงปี 1990 รัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณได้มีแนวทางลดสถานการณ์ความตึงเครียดในภูมิภาคและปรับเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า โดยเฉพาะการเยือนประเทศไทยของนาย เลกวางด่าว ประธานรัฐสภาเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1990 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาแห่งสันติภาพ ความร่วมมือและมิตรภาพระหว่าง 2 ประเทศ
ในระหว่างเดือนตุลาคมปี 1991 ถึงเดือนมีนาคมปี 1992 นาย หวอวันเกียด ประธานสภารัฐมนตรีเวียดนามได้เดินทางไปเยือน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งการเยือนดังกล่าวของนาย หวอวันเกียดได้ช่วยสร้างก้าวกระโดดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ บรรดาอดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างประเทศ พร้อมผู้ประกอบการชั้นนำของไทยและเพื่อนมิตรของเวียดนามเยือนสถานทูตเวียดนามในกรุงเทพฯ (Vietnam in Thailand)
|
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมปี 1995 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ทำให้เวียดนามและไทยเป็นสมาชิกขององค์กรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
เดือนกุมภาพันธ์ปี 2004 เวียดนามและไทยได้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมครั้งแรกภายใต้อำนวยการของนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศ ณ นครดานังของเวียดนามและจังหวัดนครพนม โดยได้วางแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและการศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยวได้รับการผลักดัน
พิธีเปิด “งานวันวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย”
|
เดือนมีนาคมปี 2008 นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไทยได้เดินทางมาเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนาย เหงวียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม โอกาสนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามเอกสารความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยเฉพาะทั้ง 2 ฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะผลักดันการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก
เดือนกันยายนปี 2012 กระทรวงกลาโหมเวียดนามและไทยได้ลงนามในบันทึกช่วยจำเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกลาโหม ซึ่งสร้างพื้นฐานให้แก่การจัดตั้งกลไกความร่วมมือด้านกลาโหมและกระชับความสัมพันธ์ในด้านนี้ให้พัฒนาเข้าสู่ส่วนลึกมากขึ้น หลังจากนั้น 1 เดือน ได้มีการจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมเวียดนาม-ไทยครั้งที่ 2 ณ กรุงฮานอย โดยได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ด้านความมั่นคงเวียดนาม-ไทยระยะปี 2012-2016
พิธีฉลองครบรอบ๔๐ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับไทยในนครโฮจิมินห์ (Photo: voh)
|
เวียดนามและไทยได้ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในโอกาสการเยือนประเทศไทยของท่าน เหงวียนฟู้จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2013 ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่ยกระดับความสัมพันธ์กับเวียดนามขึ้นเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์
ในโอกาสการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2014 ทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามในแผนการปฏิบัติความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทยระยะปี 2014-2018 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ระบุถึงความร่วมมือในทุกด้านระหว่าง 2 ประเทศ
หนังสือภาพ "Vietnam through the lens of her royal highness princess maha chakri sirindhorn"
|
เดือนกรกฎาคมปี 2015 นาย เหงวียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการและเป็นประธานร่วมในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมเวียดนาม-ไทยครั้งที่ 3 เพื่อวางแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในทศวรรษที่ 5 ซึ่งที่ประชุมได้ยํ้าถึงการกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและเสถียรภาพของแต่ละประเทศและภูมิภาคอาเซียน ในปี 2015 ทั้ง 2 ฝ่ายได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระยะปี 2015 – 2020 โดยตั้งเป้าหมายว่า จะพยายามเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2020
ปี 2016 ในโอกาสฉลองครบรอบ 40ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เวียดนามและไทยได้ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรม“งานวันวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย” และ “งานวันวัฒนธรรมไทยในเวียดนาม” นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จเยี่ยมสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทยและ ทรงเข้าร่วมพิธีเปิดตัวหนังสือภาพ "Vietnam through the lens of her royal highness princess maha chakri sirindhorn"ซึ่งเป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เกี่ยวกับประเทศเวียดนามจำนวน 60 ภาพเมื่อครั้งเสด็จเยือนเวียดนามในช่วงปี 1993-2015 และพิธีเปิดตัว “ดวงตราไปรษณีย์เวียดนาม-ไทย” ที่จัดแสดงสแตมป์ 2 ชุดภายใต้หัวข้อ “หุ่นกระบอก” ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของไทยและเวียดนาม ส่วนเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดพิธีเปิดป้ายวัดภาษาเวียดนามอีก 7 แห่ง ซึ่งทำให้จำนวนวัดที่มีป้ายวัดเป็นภาษาเวียดนามในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 21 แห่ง
พิธีเปิดตัว “ดวงตราไปรษณีย์เวียดนาม-ไทย”
|
สำหรับความสัมพันธ์ด้านการค้า คาดว่ามูลค่าการค้าต่างตอบแทนในปี 2016 อาจอยู่ที่ 1 หมื่น 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 11ต่อปีในรอบ 10ปีที่ผ่านมา สำหรับความร่วมมือด้านการลงทุน ไทยเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 3 ในกลุ่มอาเซียนและอยู่อันดับที่ 10 ในจำนวน 115 ประเทศและดินแดนที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม รวมยอดเงินลงทุนจดทะเบียนประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามมี 10 โครงการลงทุนในประเทศไทย รวมยอดเงินลงทุนกว่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่อันดับที่ 22 จากทั้งหมด 55 ประเทศและดินแดนที่ลงทุนในประเทศไทย ทั้งนี้จากผลสำเร็จดังกล่าว สามารถเชื่อมั่นได้ว่า ในอนาคต ความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยจะนับวันพัฒนาเข้มแข็งมากขึ้น.