ต้องส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงอย่างเต็มที่
(VOVWORLD) - เช้าวันที่ 29 พฤศจิกายน ณ กรุงฮานอย ได้มีการเปิดการประชุมเกี่ยวกับการปฏิบัติมติของกรมการเมืองพรรคฯเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ค้ำประกันงานด้านกลาโหมและความมั่นคงของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 ภายใต้อำนวยการของเลขาธิการใหญ่พรรคฯเหงวียนฟู้จ่อง
เลขาธิการใหญ่พรรคฯเหงวียนฟู้จ่องกล่าวปราศรัยในการประชุม |
เลขาธิการใหญ่พรรคฯ เหงวียนฟู้จ่องได้ยืนยันว่า ภายหลังการปฏิบัติมติและข้อสรุปของกรมการเมืองพรรคฯสมัยที่ 9 และ 11 ในตลอด 17 ปี พรรคสาขาทุกระดับ ทางการปกครองและประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงได้ส่งเสริมเกียรติประวัติ วัฒนธรรม การปฏิวัติ ศักยภาพ ความได้เปรียบ โดยเฉพาะแหล่งบุคลากรเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค ความท้าทายและบรรลุผลงานที่สำคัญต่างๆ
“การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคฯสมัยที่ 13 ได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 โดยตั้งเป้าหมายว่า ถึงปี 2030 เวียดนามจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมทันสมัย มีรายได้ปานกลางในระดับสูงและถึงปี 2045 จะเป็นประเทศที่พัฒนาและมีรายได้ในระดับสูง อีกทั้งวางแนวทางพัฒนาเขตนี้ โดยจะใช้ประโยชน์และส่งเสริมจุดแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐาน สภาพธรรมชาติ สถานะทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง แหล่งบุคลากรอย่างเต็มที่ ขยายการเชื่อมโยงภายในเขตและระหว่างเขตต่างๆเพื่อเข้าร่วมระบบห่วงโซ่คุณค่าโลก สร้างบรรยากาศการพัฒนาใหม่ สร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่แบบก้าวกระโดดในภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ค้ำประกันงานด้านกลาโหมและความมั่นคงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงและทั่วประเทศในระยะการพัฒนาใหม่”
ในการนี้ นาย เจิ่นต๊วนแอง หัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางได้เผยว่า มติของกรมการเมืองพรรคฯเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนปี 2022 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในระยะใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่นโยบายกระตุ้นการพัฒนาเขตนี้ในเวลาข้างหน้า โดยถือการพัฒนาวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานและเป็นพลังที่เข้มแข็งเพื่อปลูกฝังจิตใจแห่งความรักชาติ การพึ่งตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมปฏิบัติความคาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งผลักดันการปฏิรูประเบียบราชการ การพัฒนาทางการปกครองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทางการปกครองดิจัล เศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมดิจิทัล
“ต้องระบุแผนการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศแบบบูรณาการ ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลิตภาพแรงงานและผลิตภาพรวมของภาคอุตสาหกรรม การบริการ การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การเกษตรอินทรีย์และการเกษตรแบบครบวงจร ผลักดันการขยายตัวแห่งสีเขียว รูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเพื่อปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามคำมั่นของการประชุม COP26”