เวียดนามจะเข้าร่วมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC อย่างเข้มแข็งและเป็นฝ่ายรุกมากขึ้น
(VOVWORLD) -เช้าวันที่ 5 เมษายน ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว การประชุมระดับสูงครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC ได้มีขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเวียดนาม นายกรัฐมนตรีลาว นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำของไทย รวมทั้งผู้บริหารและตัวแทนหุ้นส่วนสนทนา หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระดับภูมิภาค องค์กรสังคมและองค์กรด้านชุมชนเข้าร่วม
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง กล่าวปราศรัยในการประชุม |
ในการกล่าวปราศรัยในการประชุม นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ชื่นชมบทบาทของ MRC ที่กำลังมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรเกือบ 70 ล้านคนในเขตลุ่มแม่น้ำโขงให้ดีขึ้น แต่นายกรัฐมนตี ฝ่ามมิงชิ้ง ก็แสดงความกังวลต่อการที่เขตนี้กำลังต้องเผชิญความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนามได้รับผลกระทบอย่างหนักจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชากรเกือบ 20 ล้านคน ความพยายามค้ำประกันความมั่นคงของแหล่งน้ำและความมั่นคงด้านอาหารของทุกประเทศในเขตนี้ และเสนอว่า
“หนึ่งคือ ควรยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นที่เข้มแข็งที่สุดและจริงจังในการปฏิบัติข้อตกลงแม่โขงปี 1995 และกลไกการใช้น้ำที่ได้ถูกจัดทำขึ้น เน้นปฏิบัติแผนการและยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ สองคือ นโยบายและการปฏิบัติต่างๆ ต้องถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางด้วยวิธีการเข้าถึงอย่างรอบด้านและครอบคลุมเพื่อค้ำประกันการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน เพิ่มทักษะความสามารถในการปรับตัวและการพึ่งตนเองของประชาชนและชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน สามคือ ส่งเสริมการประสานงานและการเชื่อมโยงระหว่างคณะกรรมาธิการฯ กับกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคอื่นๆ โดยส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางของคณะกรรมาธิการฯ”
ก่อนหน้านั้น ในเช้าวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีลาว สอนไซ สีพันดอนและสมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยทุกฝ่ายได้ยืนยันถึงการยึดมั่นในหลักการไม่ปล่อยให้ฝ่ายที่เป็นอริใช้ดินแดนของตนเพื่อทำลายความมั่นคงของประเทศอื่น เห็นพ้องที่จะประสานงานเสริมสร้างความมั่นคงด้านกลาโหมและความมั่นคงในเขตชายแดน การยับยั้งอาชญากรรมข้ามชาติและแผนทำลายความสัมพันธ์ระหว่าง 3 ประเทศ ตลอดจนประสานงานอย่างใกล้ชิดในปัญหาระดับภูมิภาคและโลก มีส่วนร่วมต่อการธำรง เสริมสร้างความสามัคคี ความเป็นเอกฉันท์และบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนต่อไป.