เวียดนามและฝรั่งเศสพยายามบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก
(VOVworld) – ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่า ทุกการพิพาทในทะเลตะวันออกต้องได้รับการแก้ไขด้วยสันติวิธีบนพื้นฐานการให้ความเคารพกฎหมายสากล อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982
ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรี พบปะกับท่าน มานุแอล วาลส์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (nguyentandung.org)
|
(VOVworld) – ในกรอบการเข้าร่วมการประชุม COP 21 ณ กรุงปารีส ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้เจรจากับท่าน มานุแอล วาลส์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสโดยผู้นำทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องที่จะปฏิบัติเนื้อหาของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างเข้มแข็งต่อไปและเห็นพ้องกับมาตรการต่างๆที่เป็นรูปธรรมเพื่อขยายความร่วมมือเวียดนาม-ฝรั่งเศสในเวลาที่จะถึง ในด้านการเมือง ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะผลักดันการพบปะทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับสูง ยกระดับบทบาทของกลไกการชี้นำ กำหนดแนวทางความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่นคณะกรรมการผสมด้านกลาโหมและการสนทนาระดับสูงทางเศรษฐกิจเป็นประจำทุกปี การประสานจัดการประชุมร่วมมือระหว่างท้องถิ่นต่างๆของเวียดนามและฝรั่งเศสครั้งที่ 10 ในเดือนกันยายนปี 2016 ที่เวียดนามให้ประสบความสำเร็จ ในด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำว่า ต้องขยายความร่วมมือในโครงการหลักเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง พลังงาน การบินอวกาศ การเกษตรและเภสัชกรรม นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส มานุแอล วาลส์ ได้ย้ำว่า ฝรั่งเศสให้ความสนใจถึงความต้องการของเวียดนามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เห็นพ้องกันว่าทั้งสองฝ่ายต้องให้การช่วยเหลือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก พร้อมที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการฝรั่งเศสเข้าร่วมโครงการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเวียดนาม
นายกรัฐมนตรี มานุแอล วาลส์ ได้ให้คำมั่นว่า ฝรั่งเศสจะให้การช่วยเหลือเวียดนามในการขยายความสัมพันธ์ร่วมมือในทุกด้านกับอียู โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการค้า เสร็จสิ้นการให้สัตยาบันข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือในทุกด้านเวียดนาม-อียูหรือพีซีเอ พร้อมทั้งสนับสนุนเวียดนามและอียูลงนาม ให้สัตยาบันและปฏิบัติข้อตกลงการค้าเสรีโดยเร็วเพื่อมีส่วนร่วมขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนเวียดนาม-ฝรั่งเศส ส่วนนายกรัฐมนตรี เหงียนเติ๊นหยุงได้ยืนยันว่า เวียดนามสนับสนุนและพร้อมที่จะเป็นสะพานเชื่อมเพื่อช่วยให้ฝรั่งเศสขยายความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและอาเซียน
ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่า ทุกการพิพาทในทะเลตะวันออกต้องได้รับการแก้ไขด้วยสันติวิธีบนพื้นฐานการให้ความเคารพกฎหมายสากล อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 การรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือและการบินเพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาคและโลก.