การเปลี่ยนแปลงใหม่ในจังหวัดเบ๊นแจเมื่อปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่

(VOVWORLD) -เบ๊นแจมีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นจังหวัดที่ปลูกต้นมะพร้าวมากที่สุดของเวียดนามและมีระบบแม่น้ำคูคลองที่แตกออกเป็นหลายสาขาแต่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่นี่ยังประสบอุปสรรคมากมาย  ดังนั้น ทางการและประชาชนท้องถิ่นได้ผลักดันแนวทาง รัฐและประชาชนร่วมกันปฏิบัติผ่านการการปฏิบัติโครงการแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่  ซึ่งโฉมหน้าของเขตชนบทในจังหวัดเบ๊นแจได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
การเปลี่ยนแปลงใหม่ในจังหวัดเบ๊นแจเมื่อปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ - ảnh 1 ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเบ๊นแจได้รับการปรับปรุงเนื่องจากการปลูกส้มโอ

ถนนในชนบทได้รับการก่อสร้างด้วยคอนกรีต การแลกเปลี่ยนด้านการค้าได้รับการพัฒนาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้สร้างโฉมหน้าใหม่ให้แก่เขตชนบทในจังหวัดเบ๊นแจ  จากการลงทุนของส่วนกลางและการร่วมแรงร่วมใจของทางการและประชาชน  จนถึงขณะนี้  จังหวัดเบ๊นแจมีตำบล21แห่งในจำนวนทั้งหมด147แห่งที่ได้รับการรับรองเป็นตำบลชนบทใหม่  โดยได้ทั้งหมด19มาตรฐาน  ซึ่งสมาคมทหารผ่านศึกของจังหวัดเป็นผู้เดินหน้าในการปฏิบัติขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่  ในตลอด2ปีที่ผ่านมา สมาคมทหารผ่านศึกทุกระดับของจังหวัดเบ๊นแจได้รณรงค์บริจาคเงินกว่า1หมื่น2พันล้านด่ง  โดยได้ก่อสร้างสะพาน164แห่ง บริจาคที่ดินกว่า6หมื่น5พันตารางเมตรเพื่อก่อสร้างกิจการสาธารณะในท้องถิ่น นาย เหงวียนวันหลึก นายกสมาคมทหารผ่านศึกตำบลเซินหว่า อำเภอโจว์แถ่งได้เผยว่า “เพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่  นอกจากการชี้นำของทางการอำเภอแล้ว  สมาคมทหารผ่านศึกตำบลเซินหว่าได้ปฏิบัติเป็นอย่างดี  โดยสมาชิกของสมาคมฯได้บริจาคที่ดินและเงินเพื่อก่อสร้างถนน   นอกจากการบริจาคเงินแล้ว สมาชิกของสมาคมฯยังเข้าร่วมก่อสร้างถนนด้วย ”

การเปลี่ยนแปลงใหม่ในจังหวัดเบ๊นแจเมื่อปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ - ảnh 2สวนดอกไม้ในอำเภอเจ๋อแล๊ก จังหวัดเบ๊นแจ

เมื่อเทียบกับท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  จังหวัดเบ๊นแจถือว่า ประสบอุปสรรคมากกว่าในการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ เช่น การก่อสร้างระบบคมนาคมในเขตชนบท ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมจากรูปแบบการเลี้ยงสัตว์แบบเก่า  แต่อย่างไรก็ดี ทางการทุกระดับและประชาชนในท้องถิ่นได้ถอดประสบการณ์ในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขอุปสรรคต่างๆ นาย เยืองวันเจือง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอย่งตมได้เผยว่า“พวกเราต้องผลักดันการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจได้ว่า ประชาชนเป็นผู้เดินหน้าในการปฏิบัติขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตชนบทก็เพื่อรับใช้ประชาชน  ประชาชนและรัฐร่วมกันก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตชนบท  รูปแบบการเลี้ยงวัวแม้จะมีประสิทธิภาพแต่ก็ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม  ทางการท้องถิ่นพยายามรณรงค์ให้ประชาชนก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์  ”

โครงการสร้างสรรค์ชนบทได้สร้างโฉมหน้าใหม่ในจังหวัดเบ๊นแจ  โดยระบบไฟฟ้า ระบบคมนาคมและโรงเรียนต่างๆได้รับการยกระดับ ซึ่งตอบสนองความต้องการในการเดินทางและการแลกเปลี่ยนสินค้าของประชาชนและทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น  จนถึงขณะนี้ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในเขตชนบทของจังหวัดเบ๊นแจได้เพิ่มขึ้นเป็น32ล้านด่งต่อปี  เพิ่มขึ้น18ล้านด่งเมื่อเทียบกับช่วงก่อน  อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงเหลือเพียงร้อยละ10เท่านั้น

จังหวัดเบ๊นแจได้ตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี2020 จะมีตำบลอีก45แห่งที่ได้มาตรฐานในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่  ในปี2020 อำเภอเจ๋อแลกพยายามกลายเป็นอำเภอชนบทใหม่และเมืองเบ๊นแจกลายเป็นตัวเมืองชนบทใหม่  แนวทางของทางการเบ๊นแจคือยกระดับคุณภาพของตำบลชนบทใหม่ โดยเน้นถึงปัญหาการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนผ่านโครงการสร้างฐานะ   นาย เหงวียนหึวเหลิบ รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดเบ๊นแจได้เผยว่า“พวกเรากำลังปฏิบัติหลายมาตรการ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ต้องทำอย่างไรเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน  นี่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เน้นเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพันธุ์พืชและสัตว์เลี้ยงตามห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณท์ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน”

  การสร้างสรรค์ตำบลชนบทใหม่เป็นแนวทางใหญ่ของรัฐและมีความหมายที่เป็นรูปธรรม  จากผลงานที่ได้บรรลุและแผนการต่างๆ  ในเวลาที่จะถึง จังหวัดเบ๊นแจจะร่วมกับท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เพื่อสร้างโฉมหน้าใหม่ให้แก่เขตชนบทและพัฒนาต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด