ฝึกสอนอาชีพควบคู่กับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่
Long Lam-Thu Hang -  
(VOVworld)-ในช่วงปี2010-2013 จำนวนแรงงานภาคการเกษตรที่ได้รับการฝึกสอนอาชีพมีกว่า6แสน6หมื่นคนในแขนงอาชีพหลักคือปศุสัตว์ เพาะปลูกและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามความต้องการของท้องถิ่นและมีความสอดคล้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ซึ่งผลงานที่ได้รับนั้นก็สามารถตอบสนองความต้องการของกระบวนการพัฒนาการเกษตรและชนบทตามแนวทางที่ทันสมัย มีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อการสร้างสรรค์ชนบทใหม่
(VOVworld)-ในช่วงปี2010-2013 จำนวนแรงงานภาคการเกษตรที่ได้รับการฝึกสอนอาชีพมีกว่า6แสน6หมื่นคนในแขนงอาชีพหลักคือปศุสัตว์ เพาะปลูกและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามความต้องการของท้องถิ่นและมีความสอดคล้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ซึ่งผลงานที่ได้รับนั้นก็สามารถตอบสนองความต้องการของกระบวนการพัฒนาการเกษตรและชนบทตามแนวทางที่ทันสมัย มีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อการสร้างสรรค์ชนบทใหม่
การฝึกสอนอาชีพถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
การฝึกสอนอาชีพถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
|
ปัจจุบันทั้งประเทศมีแรงงานภาคการเกษตร25ล้านคนแต่มีเพียง5ล้านคนได้ผ่านการฝึกสอนอาชีพ ซึ่งในสภาวการณ์ที่พื้นที่ผลิตเกษตรนับวันลดน้อยลง แรงงานภาคการเกษตรก็ลดลงตามไปด้วยนั้น การฝึกสอนอาชีพถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นายเหงวียนมิงหยาน อธิบดีกรมบุคลากรสังกัดกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้ได้เผยว่าทางกระทรวงได้จัดทำโครงการพัฒนาชนบทที่มีการเชื่อมโยงกิจกรรมการส่งเสริมการเกษตรควบคู่กับกิจกรรมการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานชนบท การหาตลาดรองรับและการบริการสนับสนุนการเกษตรถึงระดับตำบล นายเหงวียนมิงหยานเผยว่า“แรงงานในชนบทยังคงประกอบการผลิตแบบรายย่อย ซึ่งก็เป็นลักษณะการผลิตเกษตรของเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะได้รับการสอนอาชีพเพื่อช่วยให้การผลิตเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ก็มีแรงงานที่แม้จะผ่านการฝึกอบรมแล้วยังเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้จะต้องปฏิบัติการสอนอาชีพควบคู่กับการปรับโครงสร้างอาชีพและการวางแผนพัฒนาชนบทใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรในการปรับเปลี่ยนอาชีพ”
ตั้งแต่ปี2010มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนแรงงานภาคการเกษตรที่ผ่านการฝึกอบรมได้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยแรงงานเหล่านี้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่ได้กลับมาประกอบอาชีพเดิมหลังการเรียนอาชีพปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น ต้นทุนลดน้อยลงช่วยให้รายได้สูงขึ้น นาย เลจ๋องหว๋าง รองประธานคณะกรรมการประชาชนจ.ลายเจาเผยว่า“การสอนอาชีพต้องอาศัยความต้องการที่เป็นจริงของแรงงานเพราะจะเป็นประโยชน์ให้แก่พวกเขาโดยตรงรวมทั้งสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน มิใช่เปิดสอนอาชีพอย่างแพร่หลายตามกระแสสังคมเพราะจะต้องลงทุนมากแต่ประสิทธิภาพไม่คุ้มค่า ไม่สมดังความคาดหวัง”
เป้าหมายของการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานชนบทเพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าร่วมกระบวนการผลิตเกษตรที่ทันสมัย นอกจากต้องให้ความสำคัญต่อความต้องการแล้ว ยังต้องเน้นเป้าหมายคือการแก้ปัญหางานทำ การแสวงหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาชนบทให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น
ในช่วงปี2014-2015ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทจะผลักดันความร่วมมือกับท้องถิ่นต่างๆเน้นปฏิบัติโครงการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบท โดยเฉพาะการฝึกอบรมให้แก่กระบวนการเจ้าหน้าที่เทคนิกที่เป็นมืออาชีพเพื่อเพิ่มทักษะให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่นต่างๆ./.
Long Lam-Thu Hang