วัดและวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
To Tuan- VOV5 -  
(VOVWorld)-เขตที่ราบลุ่มภาคเหนือเป็นบ่อเกิดแห่งอารยธรรมการปลูกข้าวนาดำ ดังนั้น ที่นี่ยังคงเก็บรักษาความเรียบง่ายของเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนาม เขตที่ราบลุ่มภาคเหนือยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่พุทธศาสนาถูกเผยแผ่เข้าสู่เวียดนาม พุทธศาสนามีความศักดิ์สิทธิ์และมีความใกล้ชิดกับชาวเวียดนาม ดังนั้น ในประวัติศาสตร์การพัฒนาของเวียดนาม ทุกหมู่บ้านต่างก่อสร้างวัดประจำหมู่บ้านเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
(VOVWorld)-
เขตที่ราบลุ่มภาคเหนือเป็นบ่อเกิดแห่งอารยธรรมการปลูกข้าวนาดำ ดังนั้น ที่นี่ยังคงเก็บรักษาความเรียบง่ายของเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนาม เขตที่ราบลุ่มภาคเหนือยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่พุทธศาสนาถูกเผยแผ่เข้าสู่เวียดนาม พุทธศาสนามีความศักดิ์สิทธิ์และมีความใกล้ชิดกับชาวเวียดนาม ดังนั้น ในประวัติศาสตร์การพัฒนาของเวียดนาม ทุกหมู่บ้านต่างก่อสร้างวัดประจำหมู่บ้านเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
วัดแกวในจังหวัดท้ายบิ่ง
|
ในกระบวนการจัดตั้งหมู่บ้านและนับตั้งแต่พุทธศาสนาถูกเผยแผ่เข้าเวียดนามในช่วง๓ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช นอกเหนือจากสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของหมู่บ้าน เช่น ต้นไทร ท่าน้ำและศาลาประจำหมู่บ้านแล้ว ทุกหมู่บ้านต่างมีวัด ซึ่งวัดไม่เพียงแต่เป็นสิ่งปลูกสร้างทางศิลปะเท่านั้นหากยังเป็นการสะท้อนความปรารถนาของประชาชนอีกด้วย เมื่อไปวัด ทุกคนต่างก็รู้สึกว่าจิตใจสะอาดผ่องแผ้วปราศจากความวุ่นวายของชีวิต สำหรับบางคน วัดเป็นสถานที่แห่งความทรงจำในวัยเด็กที่ได้ไปวัดพร้อมกับคุณแม่และพี่สาวเพื่อรับฟังคำสอนเกี่ยวกับศีลธรรมจากพระภิกษุ ดังนั้น ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนแต่ภาพลักษณ์ของวัดยังคงสถิตอยู่ในใจของชาวบ้านทุกคน
ในจิตใจของชาวบ้าน วัดวาอารามยังแสดงให้เห็นถึงปรัชญาในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และจิตใจแห่งความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยลดความไม่เสมอภาคในชีวิตชุมชนหมู่บ้านเก่า เมื่อก่อนหนี้ ถ้าหากศาลาประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่ที่ผู้ชายในหมู่บ้านใช้ชุมนุมกันและเป็นสถานที่จัดการประชุมของผู้สูงอายุและผู้ที่ได้รับความเคารพในหมู่บ้านเพื่อมีการตัดสินใจที่สำคัญของหมู่บ้าน ซึ่งสตรีไม่ได้เข้าร่วม วัดก็จะเป็นสถานที่ที่สตรีในหมู่บ้านใช้พบปะสังสรรค์ วัดได้รับการก่อสร้างในสถานที่ที่เงียบสงบในพื้นที่ของหมู่บ้านหรือในใจกลางของหมู่บ้าน แม้จะตั้งอยู่ที่ไหนแต่วัดยังมีบทบาทสำคัญในชีวิตจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น นอกจากศาลาประจำหมู่บ้าน วัดก็เป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมของหมู่บ้าน เป็นแหล่งกำเนิดด้านวัฒนธรรมของประชาชาติ พระมหาเถระ ทิ๊กเตี๊ยนดาด วัดกื๋อด่าในเขตชานเมืองกรุงฮานอยได้เผยว่า “ พุทธศาสนาถูกเผยแผ่เข้าสู่เวียดนามมานานแล้ว ดังนั้น หมู่บ้านไหนๆก็มีวัด ซึ่งเป็นสถาบันด้านวัฒนธรรมที่ขาดไม่ได้ในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ วัดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้าน แสดงความคาดหวังและความปรารถนาในชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของชาวบ้าน”
วัดแกวในหมู่บ้านแห่งเถียน จังหวัดนามดิ๋ง
|
ในโอกาสวสันต์ฤดูเวียนมา ชาวบ้านต่างไปไหว้พระที่วัดเพื่อขอพรให้ทั้งครอบครัว การไปทำบุญที่วัดในวันขึ้นปีใหม่ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ในชีวิตจิตใจของชาวบ้าน นาย เหงวียนหึวแคง ชาวบ้านของหมู่บ้านนา อำเภอเตียนยู จังหวัดบั๊กนิงได้เผยว่า “เมื่อได้ยินเสียงระฆังของวัด บรรดาผู้สูงอายุในหมู่บ้านต่างรู้สึกตื่นเต้น คุณแม่ของผมก็เร่งให้กินเร็วๆเพื่อพาคุณแม่ไปวัด ในวันที่๑และวันที่๑๕ทุกเดือนตามจันทรคติ ผู้สูงอายุในหมู่บ้านต่างไปทำบุญที่วัดและสวดมนต์”
วัดหลายแห่งไม่เพียงแต่บูชาพระพุทธเจ้าเท่านั้นหากยังบูชาเทพเจ้าและเจ้าแม่อีกด้วย ดังนั้น งานวัดจึงเป็นการผสมผสานระหว่างการนับถือศาสนาและความเปิดเผยของชาวเวียดนาม สิ่งที่น่าสนใจคืองานวัดจะถูกจัดขึ้นตรงกับช่วงเวลาการจัดงานเทศกาลของหมู่บ้าน
สิ่งที่น่าสนใจคือ เทศกาลพื้นเมืองของหมู่บ้านเป็นงานสักการะร่วมของเจ้าพ่อหลักเมืองต่างๆที่ได้รับการบูชาในศาลาประจำหมู่บ้านกับพระพุทธเจ้าและเจ้าแม่ที่ได้รับการบูชาในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาเวียดนามและวัฒนธรรมของเวียดนามและเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะของวัดในชุมชนหมู่บ้านเวียดนาม เวลาได้ผ่านพ้นไป วัดยังคงมีส่วนร่วมช่วยให้ชาวบ้านทุกรุ่นตระหนักและมีความเข้าใจเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนาม.
To Tuan- VOV5