ศาลาประจำหมู่บ้าน-สิ่งปลูกสร้างที่ผูกพันกับแหล่งกำเนิดของหมู่บ้าน
To Tuan- VOV5 -  
(VOVWorld)-ศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนามไม่เพียงแต่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมของหมู่บ้านเท่านั้นหากยังเป็นสักขีพยานที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของประชาชนผ่านสถาปัตยกรรมและการแกะสลักลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย
(VOVWorld)-ศาลาประจำหมู่บ้านเวียดนามไม่เพียงแต่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมของหมู่บ้านเท่านั้นหากยังเป็นสักขีพยานที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของประชาชนผ่านสถาปัตยกรรมและการแกะสลักลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย
ศาลาประจำหมู่บ้านซอ อำเภอก๊วกอาย กรุงฮานอย
|
ศาลาประจำหมู่บ้านเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สะท้อนให้เห็นภาพรวมของสถาปัตยกรรมในหมู่บ้านเวียดนาม ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง บุคคลในหมู่บ้านที่มีส่วนอุทิศในการสร้างชาติและปกป้องประเทศ ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มภาคเหนือมีศาลาประจำหมู่บ้านโบราณหลายแห่ง เช่น ศาลาประจำหมู่บ้านถวี่เฟียวในอำเภอบาหวี่ กรุงฮานอยที่ได้รับการก่อสร้างเมื่อปี๑๕๓๑ ศาลาประจำหมู่บ้านโหลแห่งในอำเภอเหียบหว่า จังหวัดบั๊กยางที่ได้รับการก่อสร้างในช่วงปี๑๕๖๖-๑๕๗๗ ศาลาประจำหมู่บ้านหล่า อำเภอเถื่องติ๊น กรุงฮานอยที่ได้รับการก่อสร้างปี๑๕๘๑ ศาลาประจำหมู่บ้านเตยดั่งในอำเภอบาหวี่ กรุงฮานอย ได้รับการก่อสร้างเมื่อศตวรรษที่๑๖ บรรดานักวิจัยเผยว่า ศาลาประจำหมู่บ้านที่สวยและมีขนาดใหญ่ได้รับการก่อสร้างในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสังคมพัฒนาและศาลาประจำหมู่บ้านก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะของหมู่บ้าน นาย เลกวางหงอก นักวิจัยด้านวัฒนธรรมพื้นเมืองได้เผยว่า “ผมได้เดินทางไปเยือนสถานที่หลายแห่ง ซึ่งศาลาประจำหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงมักจะตั้งอยู่ใจกลางของหมู่บ้านและมีพื้นที่กว้างขวาง ในศาลาประจำหมู่บ้านที่ใหญ่โต จะมีเสาค้ำอาคารต้นใหญ่และห้องในศาลาประจำหมู่บ้านก็กว้างใหญ่”
สถาปัตยกรรมของศาลาประจำหมู่บ้านด่งกี๋ถือเป็นหนึ่งในศาลาประจำหมู่บ้านที่โดดเด่นของสถาปัตยกรรมศาลาประจำหมู่บ้านในภาคเหนือ ซึ่งศาลาประจำหมู่บ้านแห่งนี้สร้างตามแบบบ้านเรือนไม้ยกพื้นของชาวเวียด โดยมีพื้นที่กว้างและหลังคามุงกระเบื้องที่เชิดงอนสี่มุมอันเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านเวียดนาม
|
นอกจากสถาปัตยกรรมของศาลาประจำหมู่บ้านแล้ว ป้ายคำกลอนคู่หรือรูปปั้นที่ใช้ในการบูชา สิ่งก่อสร้างที่มีลวดลายการแกะสลักหรือศิลาจารึกในศาลาประจำหมู่บ้านล้วนเป็นสิ่งบอกเล่าเรื่องราวของหมู่บ้าน อาทิเช่น ศาลาประจำหมู่บ้านเหยี่ยมในจังหวัดบั๊กนิงได้รับการก่อสร้างในปลายศตวรรษที่๑๗ ซึ่งสิ่งที่โดดเด่นในการประดับประดาในห้องโถงของศาลาประจำหมู่บ้านก็คือประตูแกะสลักที่เป็นภาพมังกร เมฆและดอกไม้ เป็นต้น ในพื้นที่รอบๆศาลาประจำหมู่บ้าน ยังมีภาพแกะสลักเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของประชาชนในชีวิตที่สงบสุขและก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงจิตใจและฝีมืออันงดงามของบรรดาช่างศิลในหมู่บ้าน จิตรกรดิงเตี๊ยนหาย นักวิจัยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของหมู่บ้านได้เผยว่า “เจ้าของภาพแกะสลักดังกล่าวเป็นเกษตรกรและมีชีวิตที่ผูกพันกับชนบท ดังนั้น ภาพดังกล่าวจึงดูมีชีวิตชีวาและเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับการเกษตร ที่ช่างฝีมือในสมัยก่อนได้นำวิถีชีวิตประจำวันมาแสดงในภาพแกะสลักของศาลาประจำหมู่บ้าน”
อาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่ก่อสร้างศาลาประจำหมู่บ้านได้ฝากความคิดไว้ในผลงานแกะสลักของตน ศาลาประจำหมู่บ้านไม่เพียงแต่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่โดดเด่นของหมู่บ้านเท่านั้น หากยังเป็นสถานที่ที่สะท้อนให้เห็นศิลปะพื้นเมืองที่พัฒนาจากภาพแกะสลักที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และทักษะฝีมือของบรรดาช่างศิลป์เวียดนาม.
To Tuan- VOV5