หมู่บ้านแห่งแรกของชนเผ่าบานาในจังหวัดยาลายทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
Tô Tuấn -  
(VOVWORLD) - การผลิตที่ล้าสมัยคือสาเหตุที่สร้างอุปสรรคให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจในหมู่บ้านชนเผ่าหลายแห่งในเขตเตยเงวียน แก้ไขปัญหานี้ มีสาวชนเผ่าบานาคนหนึ่งจากหมู่บ้านในเขตทุรกันดานของจังหวัดยาลายได้เดินหน้าปฏิบัติโครงการปลูกสมุนไพรโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง จากการใช้แหล่งทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ทำให้โครงการมีศักยภาพสูงเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ชาวบ้าน
โครงการปลูกมะแว้งต้นมีศักยภาพสูงเพื่อพัฒนา |
คุณ ดิงถิเวียน ชนเผ่าบานา ในหมู่บ้านเปอนางในเขตทุรกันดานของตำบล อานเคน จังหวัดยาลายกำลังยืนกลางสวนเพาะพันธุ์มะแว้งต้นนับหมื่นต้นที่กำลังเจริญอย่างงอกงามและกำลังใช้ smartphoneหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในโครงการชาสมุนไพรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังทำให้หลายคนรู้สึกตื่นเต้นและสนใจ คุณ เวียน เผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ การผลิตพืชดั้งเดิม เช่นอ้อยและมันสำปะหลังประสบอุปสรรคมากมายและให้ผลผลิตต่ำ ดังนั้นชาวบ้านต้องหาทางใหม่ ซึ่งจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสังคมออนไลน์ เธอก็พบว่า ต้นมะแว้งที่ชาวบ้านมักจะใช้มีความคุ้นเคยและใช้เป็นประโยชน์กันมานานกำลังได้รับความนิยมจากตลาดและมีศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งวัตถุดิบ หลังจากทำการติดต่อกับสถานประกอบการหลายแห่ง เธอได้พบสถานประกอบการที่มีชื่อเสียงเพื่อร่วมมือ หลังจากนั้น เธอได้หารือกับชาวบ้านและแลกเปลี่ยนความเห็นกับทางการปกครอง แล้วก็ได้รับความเห็นพ้องและการสนับสนุนปฏิบัติโครงการด้วยความหวังผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของหมู่บ้าน “ในฐานะชาวเผ่าบานา ดิฉันอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านตั้งแต่การปลูกพืชไปจนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเก็บสมุนไพรและพืชในท้องถิ่น ดังนั้นต้องทราบวิธีการเก็บและหาช่องทางผลิตแปรรูปจำหน่ายและเราก็เป็นผู้บริโภค นั่นคือความปรารถนาของดิฉัน เพื่อสร้างงานทำให้แก่ชาวบ้านที่นี่ โดยเฉพาะสตรีและเยาวชน”
จากการมีแนวคิดตั้งแต่ปลายปี 2017 จนถึงปลายปี 2018 โครงการชาสมุนไพรของหมู่บ้านเปอนางได้รับการปฏิบัติ จนถึงปัจจุบัน มี 10 ครอบครัวในหมู่บ้านเข้าร่วมและปลูกเป็นการนำร่องถึง 2 ฤดูเก็บเกี่ยวแล้วในพื้นที่เกือบ 2 เฮกตาร์ ที่น่าสนใจคือพันธุ์มะแว้งต้นนี้ได้ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อประหยัดน้ำ ควบคุมต้นทุนและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งชาวบ้านก็ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสหกรณ์ในท้องถิ่น นาย เลวันโบะ ผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตร ตู้อาน ตัวเมือง อานเค จังหวัดยาลาย เผยว่า โครงการชาสมุนไพรของชาวบ้านในหมู่บ้านเปอนางมีศักยภาพสูง ดังนั้น ทางสหกรณ์จึงพยายามผลักดันการผลิตและจำหน่ายอย่างเต็มที่ “เมื่อพวกเราติดต่อกับคุณ เวียน ชนกลุ่มน้อยในตำบล ตู้อาน ซึ่งมีแนวคิดปลูกมะแว้งต้น จากแนวคิดและความมุ่งมั่นปฏิบัติเรื่องนี้ พวกเราได้พิจารณาและประสานงานเพื่อการพัฒนาของท้องถิ่น พวกเราจะเดินพร้อมกับพวกเขา และในอนาคต เรามีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาถุงสำเร็จรูป เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ”
จากแนวคิดที่สร้างสรรค์ของสาวชนเผ่าบานา ทางการตำบลตู้อานและตัวเมืองอานเคได้ร่วมมือและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่เพื่อให้โครงการพัฒนา จากการช่วยเหลือที่ล้ำค่านี้ โครงการได้ติดกลุ่ม 20 โครงการจากจำนวนทั้งหมด 128 โครงการการเกษตรของประเทศเพื่อให้คณะกรรมการชาติพันธุ์ของรัฐบาลเสนอให้ธนาคารโลกให้การช่วยเหลือปฏิบัติในกรอบแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืนในเขตเขา เขตทุรกันดารและเขตที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัย นาย เหงียนแทงแก๋ง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบล ตู๊อาน ตัวเมืองอานเค จังหวัดยาลาย เผยว่า ปัจจุบัน ธนาคารโลกกำลังพิจารณา คัดเลือก และเมื่อติดในกลุ่ม 5 โครงการก็จะได้รับการช่วยเหลือ แต่ถึงแม้จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุนหรือไม่ โครงการก็ยังคงได้รับความสนใจปฏิบัติเนื่องจากมีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจ นี่จะเป็นรูปแบบดีเด่นเพื่อขยายผลไปยังหมู่บ้านชนเผ่าอื่นๆ “บนพื้นฐานโครงการปลูกมะแว้งต้นเป็นการนำร่อง หลังจากเกิดประสิทธิผล ทางการท้องถิ่นจะขยายผลไปยังหมู่บ้านชนเผ่า 3 แห่ง ขณะนี้ กำลังปลูกเป็นการนำร่องในหมู่บ้านเปอนาง ต่อจากนั้น จะขยายผลไปยังหมู่บ้าน ญอยและหมู่บ้าน หว่าบิ่งห์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตพืชสมุนไพรชนิดนี้”
โครงการปลูกชาสมุนไพรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่สาวชนเผ่าบานา และชาวบ้านในหมู่บ้านเขตเขาเปอนาง กำลังปฏิบัติได้รับการคาดหวังว่า จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ สิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ความมุ่งมั่นโดยอาศัยแหล่งพลังที่กำลังมีอยู่ หมู่บ้านต่างๆในเขตเขาจะสามารถแสวงหาทางออกและมีพลังขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาได้.
Tô Tuấn