เกษตรกรและสถานประกอบการในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนร่วมมือนำสินค้าการเกษตรสู่ตลาดโลก

(VOVWORLD) -เกษตรกรและสถานประกอบการในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนกำลังเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูกผลไม้ที่มีคุณภาพสูง มีตัวบ่งชี้ โดยขั้นตอนการปลูกที่ปลอดสารพิษ ซึ่งได้สร้างกำไรให้แก่เกษตรกรและสถานประกอบการส่งออก มีส่วนร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการเกษตรให้พัฒนาตามแนวทางใหม่ที่มีมูลค่าสูงและยั่งยืนมากขึ้น
เกษตรกรและสถานประกอบการในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนร่วมมือนำสินค้าการเกษตรสู่ตลาดโลก - ảnh 1เกษตรกรและสถานประกอบการในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนร่วมมือนำสินค้าการเกษตรสู่ตลาดโลก

ที่จังหวัดเลิมด่ง มีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 10,000 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงของจังหวัด นาย หวอหิวลอง ผู้อำนวยการบริษัทผลิตการค้าลองถวี จำกัด ในตำบลหลกอาน อำเภอบ๋าวหลก จังหวัดเลิมด่ง เผยว่า การส่งออกทุเรียนดีมาก โดยนับวันมีมูลค่าและเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากมีการจดทะเบียนตัวบ่งชี้ความโปร่งใสในกระบวนการปลูก การดูแล การเก็บผลผลิต การเตรียมวัตถุดิบและการบรรจุ โดยเฉพาะการมีตัวบ่งชี้พื้นที่ปลูกได้ช่วยให้สถานประกอบการสามารถส่งออกผลไม้ได้อย่างเป็นทางการ สร้างกำไรสูงขึ้นให้แก่ทั้งผู้ปลูกและสถานประกอบการ “เมื่อมีตัวบ่งชี้พื้นที่ปลูกและใบรับรองเกี่ยวกับมาตรฐาน VietGAP เราจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นด้วยราคาสูงกว่าราคาในตลาดประมาณ 1 หมื่น 5 พัน – 2 หมื่นด่ง เมื่อเร็วๆนี้ ทางบริษัทได้ซื้อผลไม้เหล่านี้ในห่วงโซ่การผลิตของเราประมาณ 6,000 ตัน”

ในขณะเดียวกัน จังหวัดดั๊กนงก็เร่งผลักดันการสร้างพื้นที่ปลูกตามห่วงโซ่การเชื่อมโยงด้วยผลไม้ต่างๆ เช่น ทุเรียน เสาวรส มะม่วงและอะโวคาโด โดยพื้นที่ปลูกต่างๆในจังหวัดได้มีตัวบ่งชี้เพื่อการส่งออก นาย บุ่ยฟู้ตน ผู้อำนวยการบริษัทการค้านำเข้าและส่งออกเหงียบซวนจำกัด ตำบลดั๊กเนีย นครยาเหงียะ จังหวัดดั๊กนง เผยว่า จากการเข้าร่วมห่วงโซ่ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคุณภาพสูงขึ้น และได้กำไรจากการส่งออกมากขึ้น            “เมื่อส่งออกผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ เราต้องมีตัวบ่งชี้พื้นที่ปลูก สถานที่ผลิตและหีบห่อที่ได้มาตรฐาน ไม่ใช่การทำแบบง่ายๆ เหมือนในอดีต”

นาง เหงียนถิติ่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดดั๊กนงเผยว่า ถึงขณะนี้ ในจังหวัด มีพื้นที่ 38 แห่งที่มีตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการปลูกและสถานที่ผลิตแล้ว ซึ่งช่วยให้ผลไม้ของจังหวัดฯ สามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ อย่างเป็นทางการด้วยปริมาณและราคาที่สูงขึ้น ดังนั้น ทางจังหวัดฯ กำลังเน้นพัฒนาห่วงโซ่การเชื่อมโยงและพื้นที่ปลูกที่มีตัวบ่งชี้            “เพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูก เราต้องพัฒนาห่วงโซ่การเชื่อมโยงให้ได้เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ปลูกวัตถุดิบที่สามารถค้ำประกันด้านคุณภาพเพื่อสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งผู้บริโภคสามารถทราบได้ว่า ผลไม้นั้นปลูกที่ไหน ใครปลูกและปลูกตามมาตรฐานอะไร และปลอดสารพิษหรือไม่ เป็นต้น พรรคสาขาจังหวัดและคณะกรรมการประชาชนจังหวัดต่างให้ความสนใจถึงปัญหานี้ โดยระบุเนื้อหาสร้างสรรค์ห่วงโซ่การเชื่อมโยงสอดแทรกเข้าในโครงการปฏิรูปอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ปลูกวัตถุดิบที่มีเสถียรภาพและยั่งยืนสนับสนุนการแปรรูปและการส่งออก”

พื้นที่ปลูกที่มีตัวบ่งชี้ด้วยขั้นตอนการปลูกที่ค้ำประกันคุณภาพกำลังนำประสิทธิผลมาให้แก่เกษตรกรและสถานประกอบการส่งออกในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน ดังนั้น ท้องถิ่นต่างๆ ในภูมิภาคได้เน้นพัฒนาด้านนี้เพื่อสามารถนำสินค้าเกษตรหลักๆ ของท้องถิ่นไปสู่ตลาดโลกมากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด