เรื่องราวของหมู่บ้านเย็บปักถักร้อยก๊วดด๋ง อำเภอเถื่องติ๊น กรุงฮานอย

(VOVWorld)- “นี่น้องคาดสายแพรเขียว  มาเที่ยวก๊วดด๋งกับพี่ไหมล่ะ ก๊วดด๋งบ้านพี่มีฝีมือดี ปักลายดอกไม้และเป็ดไก่ช่างสวยกระไร”  เนื้อร้องของเพลงเหมือนคำเชิญให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวหมู่บ้านเย็บปักถักร้อยก๊วดด๋ง  ซึ่งเป็นหมู่บ้านโบราณที่อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางทิศใต้ประมาณ๒๕กิโลเมตร
(VOVWorld)- “นี่น้องคาดสายแพรเขียว  มาเที่ยวก๊วดด๋งกับพี่ไหมล่ะ ก๊วดด๋งบ้านพี่มีฝีมือดี ปักลายดอกไม้และเป็ดไก่ช่างสวยกระไร”  เนื้อร้องของเพลงเหมือนคำเชิญให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวหมู่บ้านเย็บปักถักร้อยก๊วดด๋ง  ซึ่งเป็นหมู่บ้านโบราณที่อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางทิศใต้ประมาณ๒๕กิโลเมตร
เรื่องราวของหมู่บ้านเย็บปักถักร้อยก๊วดด๋ง อำเภอเถื่องติ๊น กรุงฮานอย - ảnh 1
ช่างปักผ้าเหงวียนถิห่ง

            เมื่อเดินทางบนทางหลวงเก่าหมายเลข๑เอ นักท่องเที่ยวจะมองเห็นร้านขายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองประเภทเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า พวกเราได้มาถึงหมู่บ้านก๊วดด๋ง หมู่บ้านก๊วดด๋ง ตำบลก๊วดด๋ง  อำเภอเถื่องติ๊นเป็นถิ่นกำเนิดของอาชีพเย็บปักถักร้อยพื้นเมืองของเวียดนาม  เวลาได้ผ่านพ้นไปเป็นร้อยปีแต่หมู่บ้านก๊วดด๋งยังคงรักษาเอกลักษณ์ของหมู่บ้านชนบทในภาคเหนืออย่างสมบูรณ์   ใต้ร่มต้นไทรด้านหน้าหมู่บ้านคือวิหารบูชาเทพเจ้าแห่งหมู่บ้าน ข้างๆนั้นมีวิหารบูชาท่าน เลกงแห่ง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษอาชีพเย็บปักถักร้อยพื้นเมืองของเวียดนาม  โดยเรื่องราวที่เขียนบนศิลาในวิหารระบุว่า ท่าน เลกงแห่งเกิดในศตวรรษที่๑๔  ท่านเคยได้มีโอกาสเรียนอาชีพเย็บปักถักร้อยในต่างประเทศแล้วกลับมาสอนให้แก่ชาวบ้าน  นับตั้งแต่ศตวรรษที่๑๗  อาชีพเย็บปักถักร้อยได้รับการเผยแพร่ไปทั่วประเทศ  นาย ฝุ่งวันฮึง  ผู้สูงอายุคนหนึ่งของหมู่บ้านก๊วดด๋วงได้เผยว่า “วิหารบูชาบรรพบุรุษอาชีพของหมู่บ้านเราได้รับการก่อสร้าง เมื่อกว่า๒๐๐ปีก่อน  ในวิหาร ยังคงเก็บรักษาสิ่งของวัตถุที่มีค่าต่างๆ  ในโอกาสรำลึกการถึงแก่อสัญญกรรมของท่านเลกงแห่งคือวันที่๑๒เดือน๖ตามจันทรคติทุกๆปี ชาวบ้านและคณะผู้แทนของจังหวัดต่างๆที่มีอาชีพเย็บปักถักร้อยต่างได้มาจุดธูปรำลึกสัการะ”
ในความทรงจำของผู้สูงอายุหมู่บ้านก๊วดด๋ง  ในช่วงเวลาที่อาชีพเย็บปักถักร้อยพัฒนา  ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านก็เป็นที่รู้จักในทั่วประเทศ   ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของช่างเย็บปักถักร้อยในหมู่บ้าน  กาลเวลาได้ผ่านไปแล้วหลายชั่วคน ชาวหมู่บ้านก๊วดด๋งยังคงมีความผูกพันกับอาชีพพื้นเมืองและได้บ่มสอนให้แก่ลูกหลานเพื่ออนุรักษ์อาชีพพื้นเมืองมาตราบเท่าทุกวันนี้  นาง บุ่ยถิแฮ้ง  ช่างเย็บปักถักร้อยอาวุโสได้เผยว่า “ดิฉันเรียนวิธีเย็บปักถักร้อยเมื่ออายุ๘ขวบ  ในหมู่บ้านเรา เด็กๆที่มีอายุ๗-๘ขวบในหมู่บ้านก็เริ่มได้เรียนแล้ว  เมื่อก่อนนี้ พวกเรารู้จักเทคนิคการปักแค่สองอย่าง เดี๋ยวนี้ คนรุ่นใหม่ เขาทำได้ดีกว่าเรา”

เรื่องราวของหมู่บ้านเย็บปักถักร้อยก๊วดด๋ง อำเภอเถื่องติ๊น กรุงฮานอย - ảnh 2

            ในช่วงปี๙๐ ในหมู่บ้านก๊วดด๋ง มีโรงปักหลายแห่ง  ซึ่งโรงปักใหญ่มีช่างปักผ้า๒๐๐-๕๐๐คนแต่ตามกฎแห่งการพัฒนา เมื่อเศรษฐกิจเดินตามกลไกตลาดก็ทำให้อาชีพพื้นเมืองของหมู่บ้านมีความเสี่ยงที่จะถูกหลงลืมแต่ชาวบ้านก๊วดด๋งยังยืนหยัดอนุรักษ์อาชีพพื้นเมืองนี้มาจนปัจจุบัน  โดยแต่ละครอบครัวต่างมีผู้ที่ทำงานปัก๒-๓คน  ภายในบ้านของช่างปักผ้าเหงวียนถิห่งที่มีพื้นที่แค่๓๐ตารางเมตรแต่บนผนังได้แขวนภาพปักเต็มไปหมด  นางห่งเผยว่า  “ เมื่อก่อนนี้ ดิฉันปักผ้าคลุมเตียง หมอนอิงและจมูกรองเท้าเพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคยุโรปตะวันออก  ส่วนตอนนี้ดิฉันปักบนชุดอ๊าวหย่ายและเสื้อผ้า  ซึ่งต้องการฝีมือสูง    งานนี้ฝีมือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะมีภาพปักหลายภาพที่ใช่ว่า ช่างปักผ้าคนไหนก็ทำได้”
ผลงานต่างๆที่โดดเด่นของหมู่บ้านก๊วดด๋งคือภาพเกี่ยวกับทัศนียภาพที่สวยงาม  เช่น ต้นไทร ท่าน้ำ เรือ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น วัดเสาเดียว วิหารหงอกเซินและวิหารห่งท้าย เป็นต้น  ช่างปักผ้าต้องใช้เวลาเป็นเดือนเพื่อปักภาพเหล่านี้  ตั้งแต่การเลือกด้ายไหมที่เหมาะสมและใช้เทคนิคในการปักเพื่อทะท้อนภาพของคลื่นน้ำ  แสงแดด เงาของวัดและต้นไทรบนผิวน้ำให้ดูสมจริง หมู่บ้านก๊วดด๋งมีช่างปักหลายคนที่มีชื่อเสียงด่งดังในทั่วประเทศ  เช่น คุณบุ่ยเลกิ๊ง  ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเย็บปักถักร้อยชุดเสื้อครุยของกษัตริย์บ๋าวด๋ายและพระราชินีนามเฟือง  คุณท้ายวันบนได้รับการประกาศเกียรติคุณศิลปินประชาชนเพียงคนเดียวของหมู่บ้านและมีชื่อเสียงในการปักภาพเหมือนของผู้นำประเทศ  รวมทั้ง ภาพพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้รับการชื่นชมจากวงการทั้งภายในและต่างประเทศ
ปัจจุบันนี้ โรงปักผ้าหลายแห่งได้ลงทุนและนำเข้าเครื่องเย็บปักถักร้อยที่ทันสมัยมาช่วยงานแต่ลวดลายออกมานั้นจะสู้กับการปักไหมด้วยมือของช่างฝีมือไม่ได้ ดังนั้น อาชีพพื้นเมืองของหมู่บ้านก๊วดด๋งก็ยังคงได้รับการสานต่อและนับวันยิ่งพัฒนามากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด