“ประธานโฮจิมินห์-ผู้วางรากฐานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศไทยปัจจุบัน”
Nguyen Yen/VOV5 -  
(VOVWORLD) - หนังสือที่ล้ำค่าที่มีชื่อว่า "ประธานโฮจิมินห์ผู้วางรากฐานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศไทยปัจจุบัน” ได้รับการแปลเป็น 3ภาษาคือภาษาเวียดนาม ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1928-1929 ได้รับการเรียบเรียงและตีพิมพ์เมื่อปี 2018 ผลงานนี้เป็นความพยายามและความทุ่มเทของรองศาสตราจารย์ ดร. เจืองถิหั่ง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางและศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว จากสถาบันบัณฑิตไทย ในรายการชายคาอาเซียนของเราวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอเชิญท่านผู้ฟังพบปะกับดร. เจืองถิหั่งเพื่อศึกษาเกี่ยวกับหนังสือที่มีความหมายเล่มนี้นะคะ!
“หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญคือเราตระหนักถึงบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของประธานโฮจิมินห์ในชมรมชาวเวียดนามโพ้นทะเลในประเทศไทย โดยท่านไม่เพียงแต่เป็นผู้สร้างความเชื่อมโยงชมรมชาวเวียดนามโพ้นทะเลในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยเท่านั้น หากยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชมรมชาวเวียดนามในประเทศไทยกับประชาชนภายในประเทศ เป็นแหล่งกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ในการช่วยให้ชาวเวียดนามโพ้นทะเลในประเทศไทยสร้างความไว้วางใจกับรัฐบาลและประชาชนไทยอีกด้วย อีกทั้งมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อความสำเร็จของการปฏิวัติของประชาชนเวียดนาม”
รองศาสตราจารย์ ดร. เจืองถิหั่ง เผยว่า หนังสือเล่มนี้ได้คัดเลือกใช้ข้อมูลจากเอกสารภาษาไทยของผู้เขียนชาวไทยหลายคน และแน่นอนว่าเอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารใหม่สำหรับผู้อ่านเวียดนาม |
ดร.เจือง ถิ หั่ง เผยว่า แรงบันดาลใจที่สำคัญที่สุดเพื่อให้เธอและศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว เขียนหนังสือเล่มนี้คือต้องการช่วยให้ผู้อ่านชาวเวียดนามได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่วงเวลาเกือบ2 ปีที่ประธานโฮจิมินห์เผยแพร่ลัทธิรักชาติให้แก่ชมรมชาวเวียดนามในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน ด้วย 387 หน้าสำหรับฉบับภาษาเวียดนามและ 507 หน้าสำหรับฉบับภาษาไทย หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น5ตอนโดยตอนที่ 1: ประธานโฮจิมินห์ –กุลบุตรที่โดดเด่นของประชาชาติเวียดนาม ตอนที่ 2: แนวคิดโฮจิมินห์เกี่ยวกับความสามัคคีระหว่างประเทศ ตอนที่ 3: ประธานโฮจิมินห์และการเดินทางเพื่อเผยแพร่ลัทธิรักชาติในประเทศไทย ตอนที่ 4: ประธานโฮจิมินห์ – ผู้วางรากฐานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศไทยปัจจุบัน และตอนที่ 5: ประธานโฮจิมินห์มีชีวิตอยู่ตลอดกาลในหัวใจของชาวเวียดนาม ประชาชนไทยและประชาชนหัวก้าวหน้า ดร. เจืองถิหั่ง เผยว่า “เนื้อหาที่ดิฉันชอบมากที่สุดคือบทที่ 3 “ประธานโฮจิมินห์กับการเดินทางเพื่อเผยแพร่ลัทธิความรักชาติในประเทศไทย” เนื่องจากได้ช่วยให้เราทราบเกี่ยวกับภาพรวมของกระบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์ในประเทศไทยโดยมีเนื้อหาใหม่มากมายที่ผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านั้นยังไม่ได้กล่าวถึงซึ่งเหตุผลอาจเนื่องมาจากอุปสรรคทางภาษาและการขาดข้อมูล เนื้อหาของบทนี้ช่วยให้ผู้อ่านชาวไทยและชาวเวียดนามมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับความรู้สึกที่ชาวเวียดนามโพ้นทะเลในประเทศไทย รวมทั้งชาวไทยในพื้นที่ที่ประธานโฮจิมินห์เคยเคลื่อนไหวมีต่อท่าน ความประทับใจและน้ำใจของประธานโฮจิมินห์ต่อประเทศและประชาชนชาวไทย นี่เป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่มีส่วนร่วมต่อการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีงามเวียดนาม ไทยปัจจุบัน”
|
ตามความเห็นของดร.เจือง ถิ หั่ง หนังสือเล่มนี้ได้คัดเลือกใช้ข้อมูลจากเอกสารภาษาไทยของผู้เขียนชาวไทยหลายคน และแน่นอนว่าเอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารใหม่สำหรับผู้อ่านเวียดนามเนื่องจากมีเอกสารภาษาเวียดนาม ไทย และอังกฤษน้อยมากที่เขียนเกี่ยวกับกระบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์ในประเทศไทย ดังนั้น นอกจากจะพยายามรวบรวม คัดเลือกและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วนแล้ว กลุ่มนักวิจัยยังขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยของไทยอีกด้วย
อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย เหงียนหายบั่ง มอบดอกไม้อวยพรรองศาสตราจารย์ ดร. เจืองถิหั่ง และศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว (https://nhandan.vn/) |
ในการประเมินเกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย เหงียนหายบั่งได้แสดงความเห็นว่า นี่เป็นหนึ่งในผลงานที่มีค่าและเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับช่วงตลอด 18 เดือนที่ประธานโฮจิมินห์เคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศไทยและยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเมื่อตีพิมพ์เป็นภาษาเวียดนามและไทย
พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ในจังหวัดพิจิตรเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับมอบหนังสือเล่มนี้เพื่อช่วยให้ชาวไทยและชาวเวียดนามโพ้นทะเลมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวปฏิวัติของประธานโฮจิมินห์ในประเทศไทย |
ปัจจุบันหนังสือ“ประธานโฮจิมินห์-ผู้วางรากฐานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศไทยปัจจุบัน”ได้ถูกมอบให้แก่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและสถาบันบัณฑิตไทย100 แห่ง และกลายเป็นเอกสารเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ ช่วยให้นักวิจัยและผู้อ่านชาวไทยมีความเข้าใจอย่างชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพของประธานโฮจิมินห์ บทบาทของประธานโฮจิมินห์ในการสร้างมิตรภาพที่ดีระหว่างสองประเทศในปัจจุบัน นายสมพร เล็กอุทัยพานิช ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์และนายภูรินท์ ศรีอุดมพงษ์ วิทยากรในพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับหนังสือเล่มนี้เพื่อใช้ในการทำงานแสดงความซาบซึ้งใจที่ได้รับจากหนังสือเล่มนี้
นายสมพร เล็กอุทัยพานิช ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์และดร. เจืองถิหั่งในพิธีเปิดตัวหนังสือเล่มนี้
|
“หนังสือที่อาจารย์ประพันธ์เล่มนี้มาแล้วคือได้รวบรวมเอาหนังสือที่เป็นภาษาเวียดนาม แล้วก็เชื่อมโยง ทำให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ได้รับความรู้จากหนังสือเล่มนี้เอามาใช้ในการปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์เราได้พยายามที่จะสร้างขึ้นมาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการทำให้ไม่ว่าจะเป็นชาวไทย ชาวพิจิตรได้รู้จักว่า สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ไทยเวียดนาม หนังสือเล่มนี้ก็ได้มาเต็มความสมบูรณ์ในอีกระดับหนึ่งในการมาทำงาน ทำให้วิทยากรและตัวผมเอง รวมทั้งวิทยากรที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้สอดแทรกให้ผู้ชมเข้าใจมากขึ้น”
“สวัสดีครับ ผมชื่อนายภูรินท์ ศรีอุดมพงษ์ วิทยากรในพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ หนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงข้อมูล การใช้ภาษา อ่านง่ายมาก เติมเต็มในด้านความรู้ ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมได้เปิดโลกกว้างเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญก็คือประธานโฮจิมินห์ อีกทั้งข้อมูลที่เราไม่ได้รู้เราสามารถที่จะหาศึกษาอ่านได้จากหนังสือเล่มนี้ ถ้านักท่องเที่ยวไหนที่สนใจ ที่อยากจะอ่านหนังสือเล่มนี้สามารถเดินทางเข้ามาพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ได้เลย เรามีโซนอ่านหนังสือชื่อโซนแบ่งปันปัญญาหรือสามารถจะ Scan ได้ที่บริเวณ Counter เลย”
นายภูรินท์ ศรีอุดมพงษ์ วิทยากรในพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์เผยว่า "ถ้านักท่องเที่ยวสนใจอยากจะอ่านหนังสือเล่มนี้สามารถเดินทางเข้ามาพิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์ได้เลย เรามีโซนอ่านหนังสือชื่อโซนแบ่งปันปัญญาหรือสามารถจะ Scan ได้ที่บริเวณ Counter เลย" |
ในการกล่าวถึงแผนการในเวลาที่จะถึง ดร. เจืองถิหั่ง เผยว่าจะทำการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติ รวมถึงอิทธิพลของประธานโฮจิมินห์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น ประเทศเมียนมาร์เพราะในช่วงหลังจากเวียดนามได้รับเอกราชเมื่อปี 1946นอกจากประเทศไทยแล้ว เมียนมาร์ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนับสนุนการต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสของชาวเวียดนามอย่างเต็มใจ.
Nguyen Yen/VOV5