ผู้ประกอบการไทยสนใจภาคอุตสาหกรรมประกอบของเวียดนาม

(VOVworld) - งานแสดงสินค้า Vietnam Manufacturing Expo 2016 ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นงาน แสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์หล่อและแม่พิมพ์ฉีดเพื่อการผลิต พลาสติกที่จัดโดยบริษัทรี้ดเทรดเด็กซ์ของไทย ซึ่งเป็นบริษัทจัดงานแสดงสินค้าชั้นนำในอาเซียนเพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ กรุงฮานอย สำหรับผู้ประกอบการไทย นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีเพื่อแสวงหาหุ้นส่วนและขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม

(VOVworld) - งานแสดงสินค้า
Vietnam Manufacturing Expo 2016 ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์หล่อและแม่พิมพ์ฉีดเพื่อการผลิตพลาสติกที่จัดโดยบริษัทรี้ดเทรดเด็กซ์ของไทย ซึ่งเป็นบริษัทจัดงานแสดงสินค้าชั้นนำในอาเซียนเพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ กรุงฮานอย โดยได้มีการจัดแสดงเครื่องจักรด้านอุตสาหกรรมประกอบ200 ยี่ห้อของบริษัทต่างๆจาก 20 ประเทศและดินแดน นี่เป็นโอกาสเพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในเวียดนามได้พบปะกับหุ้นส่วนต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมประกอบ ส่วนสำหรับผู้ประกอบการไทย นี่ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีเพื่อแสวงหาหุ้นส่วนและขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม

ผู้ประกอบการไทยสนใจภาคอุตสาหกรรมประกอบของเวียดนาม - ảnh 1
นาย มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนามถ่ายภาพเป็นที่ระลึกด้านหน้าบูธของผู้ประกอบไทย

บริษัท เอส พี วิชั่น เทคโนโลยี จำกัดที่ทำธุรกิจด้านการจำหน่าย ออกแบบ ติดตั้งระบบแมชชีนวิชั่นและบริษัทโปรลอกไททาเนียมที่ให้บริการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไททาเนียมอย่างครบวงจรเป็น 2 จากทั้งหมด 28 บริษัทของไทยที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Vietnam Manufacturing Expo 2016  บริษัท เอส พี วิชั่น เทคโนโลยี จำกัดและบริษัทโปรลอกไททาเนียมเป็นบริษัทของคนไทย โดยนอกเหนือจากศักยภาพในการให้บริหารภายในประเทศแล้ว บริษัท 2 แห่งดังกล่าวกำลังแสวงหาโอกาสการลงทุนประกอบธุรกิจในเวียดนาม  นาย อภิชาติ กองศิริเรือง ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของบริษัทโปรลอกไททาเนียมและนาย สมพงศ์ เลิศผลไพโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทเอส พี วิชั่น เทคโนโลยี จำกัดได้เผยว่า
“ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เข้าร่วมงานในกรุงฮานอยนะครับ วัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมงานเพื่อขยายตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทเดียวกับที่ประเทศไทยทำ โดยประเทศเวียดนามมีมอเตอร์ไซค์ค่อนข้างเยอะ ประเทศไทยก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นรูปแบบการผลิตชิ้นส่วนหรือการผลิตอุปกรณ์ก็คล้ายกัน เราคิดว่า ประเทศเวียดนามก็น่าจะเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ เรากำลังหาตัวแทนจำหน่าย หรือ เป็นสาขาบริษัทในประเทศเพื่อเอื้อให้แก่การจำหน่ายมากขึ้น”
“ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 – 3แล้วครับ ตอนแรกคือมาดูตลาดที่นี่ว่าเป็นยังไง ตอนนี้ เรามองเห็นแล้วว่า มีศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนของเวียดนามนั้น ผมคิดว่า มีการเติบโตได้เยอะ ตอนนี้ จริงๆก็อยากหา Partner หรือ คนที่จะสามารถช่วยเราดูตลาดเวียดนามได้”
เพื่อตอบสนองความต้องการในการเชื่อมโยงของผู้ประกอบการและความต้องการด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมประกอบในเวียดนาม บริษัทรี้ดเทรดเด็กซ์ได้จัดงานแสดงสินค้า Vietnam Manufacturing Expo ณ กรุงฮานอยตั้งแต่ปี 2008 หลังจากที่เวียดนามมีแนวทางเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลหะและการทำแม่พิมพ์  นาย ดวงเด็ด ย้วยความดี รองกรรมการผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศเวียดนามของบริษัทริ้ดเทรดเด็กซ์จำกัดได้เผยว่า“งานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตอนนั้นที่ประเทศไทยมีการผลิตรถยนต์ก่อนประเทศอื่นๆในภูมิภาคเป็นเวลาค่อนข้างนาน หลังจากนั้น เมื่อเวียดนามมีการเปิดในการร่วมลงทุนทั้งด้านการผลิตรถยนต์ รัฐบาลวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรมรถยนต์แล้ว จึงมีความต้องการด้านเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้น เราก็นำงานนี้เข้ามาเผยแพร่ เวียดนามถือเป็นประเทศที่ 2 ในกลุ่มอาเซียน ด้วยศักยภาพ ด้วยประเทศเพื่อนบ้านที่เราเห็นอยู่ อย่างพม่า กัมพูชาและลาว เขายังไม่เน้นการเติบโตภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เขาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างอื่น เช่น อาหาร การแปรรูปวัตถุดิบเกษตรกรรม ซึ่งตรงนี้ ทางรี้ดเทรดเด็กซ์เองไม่ได้เน้นเทคโนโลยีในด้านนี้”

ผู้ประกอบการไทยสนใจภาคอุตสาหกรรมประกอบของเวียดนาม - ảnh 2
ภาพในงาน

ตามข้อมูลสถิติของสถานทูตไทยประจำกรุงฮานอย จนถึงขณะนี้ มีสถานประกอบการไทย 2000 แห่งที่มีแผนการลงทุนและได้จดทะเบียนกับทางสถานทูตไทยประจำเวียดนาม  ในรอบ 2 เดือนแรกของปีนี้ บรรดานักลงทุนจากประเทศไทยได้ลงทุนเงิน 7.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 428 โครงการในเวียดนาม ซึ่งในนั้น มีโครงการผลิตภาคอุตสาหกรรม 220 โครงการ รวมมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่น่าสนใจคือโครงการลงทุนของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของประเทศไทย  นาย ดวงเด็ด ย้วยความดีเผยต่อไปว่า“มีการลงทุนขนาดใหญ่คือกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทก็จะมาลงทุนในประเทศเวียดนามเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความใหญ่และทันสมัยมาก ส่วนหนึ่งอยู่ที่ภาคเหนือเพราะจริงๆแล้ว รัฐบาลวางกลยุทธ์การประกอบรถยนต์ทั้งหมดเลยอยู่ที่ภาคเหนือ อยู่เหนือกรุงฮานอยขึ้นไป ตรงนี้เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ในกรุงฮานอย”
นอกเหนือจากกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทแล้ว บริษัทที่มีเงินลงทุนจากต่างประเทศในไทยก็ให้ความสนใจตลาดเวียดนาม เช่น บริษัทอินเตอร์โรลประเทศไทยที่มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่นำเสนอโมดูลสำหรับระบบลำเลียงและซอร์ทเตอร์ ได้เริ่มขยายตลาดในเวียดนามเมื่อ 5 ปีก่อน นาย อำนาจ ประกอบสุข ผู้จัดการดูแลการพัฒนาธุรกิจของบริษัทอินเตอร์โรลประเทศไทยได้เผยว่า เพื่อสามารถพัฒนาธุรกิจในตลาดเวียดนาม อินเตอร์โรลได้ร่วมมือกับบริษัทตัวแทนจำหน่ายของเวียดนามและเผยว่า“4ปีก่อน ไม่ค่อยสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากว่า เราได้ partner ที่มีหลาย product ที่ทำตลาด เริ่มต้นมาจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามาออกงานแสดงสินค้าที่นครโฮจิมินห์และเราได้รู้จักกับ partner ที่เป็นคนไทย เขาได้ร่วมทุนกับบริษัทนี้มาก่อน แต่ว่า product ไม่เหมือนกัน เขาได้แนะนำบริษัทนี้ให้เรารู้จัก ธุรกิจของบริษัทนี้ที่เขามีอยู่ มันเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ Power พลังงาน ไฟฟ้า แล้วเขาได้เห็นโอกาสในธุรกิจนี้ เขาก็ได้เปิดอีกบริษัท ซึ่งเป็นบริษัท Hoàng Trang Industrial Equipment Co. มาทำธุรกิจเรื่องโลจิสติก ความร่วมมือเป็นไปได้ดี โดยเฉพาะปีนี้ หลังจากที่เราได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเมื่อต้นปีที่ผ่านมา การตอบรับจากลูกค้าค่อนข้างมาก”
นาย วิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยได้ให้ข้อสังเกตว่า เวียดนามมีจุดแข็งต่างๆที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทยและเผยว่า“ในขณะนี้ เวียดนามกำลังเติบโตในเรื่องของอุตสาหกรรม เท่าที่ผมทราบมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเลือกประเทศเวียดนามเป็นหลัก เวียดนามมีแรงงานเยอะ ตอนนี้ แรงงานของเวียดนามก็เป็นแรงงานที่ตั้งใจจะเรียนรู้ ส่วนการลงทุนในประเทศเวียดนามจะเป็นการลงทุนที่ตํ่ากว่าที่ลงทุนในประเทศไทย อีกอย่างหนึ่งก็คือมีตลาดของบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนาม”
นาย วิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ ยังได้เผยว่า งานแสดงสินค้า Vietnam Manufacturing Expo 2016 เป็นโอกาสที่ดีเพื่อให้ผู้ประกอบการเวียดนามเรียนรู้ประสบการณ์ของไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมประกอบ ดังนั้น ในกรอบของงาน จึงได้มีการจัดฟอรั่มในหัวข้อ “พัฒนาเวียดนามให้เป็นศูนย์การผลิตของอาเซียนบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ร่วมมือและการผสมผสาน” ซึ่งสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ประเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแสวงหาโอกาสความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมประกอบมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด