รัฐบาลไทยสนับสนุนการพัฒนา การประชาสัมพันธ์และการส่งออกผลิตภัณฑ์โอทอป
Minh Lý -  
(VOVWORLD) - จากการศึกษารูปแบบ One Village, One Product ของญี่ปุ่น เมื่อ15ปีก่อน รัฐบาลไทยได้ริเริ่มโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอทอป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการประกอบธุรกิจระดับท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนการพัฒนาและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของท้องถิ่นต่างๆ จนถึงปัจจุบัน มี 2644 ตำบลจากจำนวนทั้งหมดกว่า 7 พันตำบลของ 76 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการโอทอป รวมกว่าหนึ่งแสนผลิตภัณฑ์ นอกจากการขยายขอบเขตโครงการ รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโอทอปที่มีเงื่อนไขเพียงพอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์โอทอป
บูธที่แนะนำขนมดอกลำดวนของนาง รุ่งฑิวา ระฆังทอง ณ กรุงฮานอย |
แม้ร้านบ้านขนมระฆังทองของนาง รุ่งฑิวา ระฆังทอง ที่ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จะทำขนมดอกลำดวนขายมาเป็นเวลากว่า 20ปีแล้ว แต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการโอทอปเมื่อ6ปีก่อน ขนมดอกลำดวนของร้านถึงจะกลายเป็นที่รู้จักของประชาชนไทยเป็นจำนวนมาก นาง รุ่งฑิวา ระฆังทองเผยว่า ขนมดอกลำดวนเป็นขนมประจำจังหวัดศรีสะเกษเพราะดอกลำดวนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ “ปกติ เราจะขายแค่ในเขตของจังหวัดศรีสะเกษ ให้แก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดศรีสะเกษ แต่พอเข้าร่วมโครงการโอทอป ทุกคนในประเทศไทยจะสามารถรับรู้ว่า ของโอทอปประจำจังหวัดศรีสะเกษเป็นอะไร ขนมของเราเป็นของดีประจำจังหวัด ส่วนใหญ่ถ้าจะได้จากรัฐบาลก็คือการโฆษณาว่า เป็นของประจำจังหวัด เป็นการโฆษณาของจังหวัด ส่วนในระดับประเทศ ผลิตภัณฑ์ของเราได้ลงในหนังสือนิตยสารผลิตภัณฑ์โอทอปรุ่นใหม่”
นอกเหนือจากกิจกรรมโฆษณาต่างๆ รัฐบาลไทยได้จัดงานแสดงสินค้าโอทอป ที่ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี 3 ครั้งต่อปี โดยแต่ละครั้ง มีการออกบูธหลายหมื่นบูธ นาย สมนึก เหรียญรักวงศ์ เจ้าของร้านขายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อหมูชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานีในตลอด 40ปีที่ผ่านมา เช่น หมูยอ หมูสวรรค์ หมูทุบ กุนเชียงและหมูหยอง ซึ่งจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการโอทอปตั้งแต่ช่วงแรกๆของโครงการได้ประเมินว่า “โอทอปนี้ดีมาก ทำให้เรามีที่ขายของ ช่วยให้เราไปหาตลาดใหม่ๆและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้สินค้าของเราได้มาตรฐานส่งออก เราต้องทำมาตรฐานก่อน เป็นมาตรฐานการส่งออก สินค้าเราได้มาตรฐาน 4-5ปีแล้ว โดยทำบรรจุภัณฑ์ให้สวย ถุงให้สวย packet ยิ่งสวย ตลาดตอนนี้คือ CLMV คือเวียดนาม กัมพูชา ลาว ตอนนี้ มา 3 ประเทศนี้”
บูธแนะนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อหมูชื่อดังของนายสมนึก เหรียญรักวงศ์ ณ กรุงฮานอย |
ถึงแม้ผู้ประกอบการโอทอปจะมีความต้องการส่งเสริมการส่งออกสินค้า แต่ก็ยังไม่พร้อมในด้านทักษะการผลิตและไม่มีฐานะทางนิตินัยเพื่อรองรับการทำธุรกรรมกับต่างประเทศ ดังนั้น หน่ยงานต่างๆที่ดูแลโครงการโอทอป เช่น กรมพัฒนาชุมชนสังกัดกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ ได้ส่งเสริมนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการโอทอปพัฒนาและจดทะเบียนจัดตั้งสถานประกอบ ปัจจุบัน ไทยมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการโอทอป61.000 รายรวมกว่า 126.000 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีเงื่อนไขเพียงพอถึงจะได้รับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาเป็นสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม นาง จินตานา จุลทัศน์ หุ้นส่วนของบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด ดีพีอาร์ คอสเมซูติกส์ ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงผมจากสมุนไพรที่จังหวัดอุบลราชธานีได้เผยว่า ก่อนหน้านั้น โรงงานของเธอเคยเข้าร่วมโครงการโอทอป ซึ่งเพื่อสามารถจดทะเบียนจัดตั้งสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีเงินจดทะเบียน 1 ล้านบาทหรือ คิดเป็น 3 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ มีแรงงาน4-5 คน โรงงานของเธอต้องทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในตลอด 5-6 ปี “เราต้องมีความพร้อมคือผลิตภัณฑ์ของเราต้องมีคุณภาพ คนขายเองก็ต้องมีคุณภาพ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต จริงๆเราก็มีเครื่องจักร มีเครื่องจักรที่แบบมีกำลังการผลิตเยอะๆ สามารถที่จะผลิตได้เยอะๆ ก็มีเครื่องทุนแรง อันนี้ในส่วนของการผลิต มีระบบการผลิต มีระบบเก็บสต็อก ส่วนรัฐบาลก็มีการสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือว่า พัฒนาโรงงานให้ได้มาตรฐาน GMP HACCP ก็มีการสนับสนุนอบรมตลอด หรือเรื่องการตลาด การบัญชี รัฐบาลก็จัดอบรมให้”
บูธของนายสมนึก เหรียญรักวงศ์ ได้รับความสนใจจากประชาชนกรุงฮานอย |
มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลไทยได้สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการโอทอปพัฒนาเป็นสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการติดต่อทำธุรกิจกับหุ้นส่วนต่างชาติ นอกจากนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมยังจัดโครงการเชื่อมโยงสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่เคยเป็นผู้ประกอบการโอทอปที่ทำธุรกิจกับประเทศต่างๆในภูมิภาค นาย สุชาติ โรจน์สุวรรณ ที่ปรึกษาศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ดูแล 4 จังหวัดคือ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโธรและ ศรีสะเกษได้เผยว่า “โครงการนี้ เป็นโครงการเชื่อมโยง industry 4.0 ก็จะมีการเชื่อมโยง 3 ประเทศ มีเวียดนาม ลาว กัมพูชา เริ่มโครงการมา เราก็มีที่เวียดนามเป็นประเทศแรก ก็พาผู้ประกอบการทั้งหมด 50 รายใน 4 จังหวัดประกอบด้วย อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโธรและ ศรีสะเกษ พร้อมของดีของจังหวัดมาออกบูธจำหน่าย ก็เชื่อมโยง matching กับกลุ่มนักธุรกิจของเวียดนาม”
นาย สุชาติ โรจน์สุวรรณยังเผยว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่รัฐบาลไทยปฏิบัติโครงการดังกล่าว โดยโครงการเชื่อมโยงกับเวียดนามได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา คาดว่า โครงการเชื่อมโยงกับลาวและกัมพูชาจะจัดขึ้นภายในปีนี้ การปฏิบัติโครงการในแต่ละประเทศใช้เวลา 5 วัน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์โอทอปของไทยในต่างประเทศ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะสนับสนุนตั๋วเครื่องบินไปกลับและค่าใช้จ่ายในการออกบูธให้แก่สถานประกอบการโอทอปที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว.
Minh Lý