รูปแบบสอนภาษาอังกฤษเพื่อผสมผสานเข้ากับอาเซียนในประเทศไทย

(VOVWORLD) - ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐบาลไทยตระหนักได้ดีถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษในการผสมผสานเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องถึงการพัฒนาโครงการเรียนภาษาอังกฤษตามแหล่งฝึกอบรมต่างๆในประเทศไทย รัฐบาลไทยยังเน้นพัฒนาทักษะการสอนและการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่ครูอาจารย์  ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านผู้ฟังร่วมกับนักข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามศึกษาเรื่องนี้ผ่านบทความเรื่อง “รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อผสมผสานเข้ากับอาเซียนในประเทศไทย”

 

รูปแบบสอนภาษาอังกฤษเพื่อผสมผสานเข้ากับอาเซียนในประเทศไทย - ảnh 1ชั้นเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงในกรุงเทพฯ

“หนูคิดว่า นี่คือสิ่งดีมาก เพราะก่อนเรียนที่นี่ หนูไม่อยากพูดภาษาอังกฤษ ถึงแม้คนอื่นใช้ภาษาอังกฤษหนูก็เข้าใจได้ โครงการนี้ช่วยให้หนูมีความคืบหน้าในหลายด้าน ทั้งการเรียนวิชาต่างๆเป็นภาษาอังกฤษไปจนถึงการเรียนกับครูชาวต่างชาติ นอกจากนั้น พี่ๆก็ช่วยเหลือหนูเป็นอย่างมาก นี่คือโอกาสที่ดีเพื่อพัฒนาตนเอง”

“ผมเลือกเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เพราะหลักสูตรการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ครูส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เพื่อนๆใจดี ผมชอบโครงการนี้มาก”

นี่คือความเห็นของคุณ ธสุพัง เรืองธนภัคดี และคุณ William Goh นักเรียนของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับโครงการสอนภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการไทย เมื่อเข้าร่วมโครงการนี้ วิชาต่างๆเช่นภาษาไทย กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยจะสอนเป็นภาษาไทย ส่วนวิชาที่เหลือจะสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีทั้งหมด 3 course สำหรับนักเรียน เช่น English Program จะสอนวิชาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ Mini English Program สอนเป็นภาษาอังกฤษใน 3 วิชาคืออังกฤษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และIntergrated English Program  จะมีครูชาวต่างชาติเป็นผู้สอน นาย สุรพงษ์ งามสม ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงได้เผยว่า “ที่โรงเรียนนี้เริ่มใช้โครงการภาคภาษาอังกฤษหรือ English program ซึ่งเป็นหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเมื่อปีพศ. 2545 เป็นไปตามข้อกำหนดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่า โครงการภาคภาษาอังกฤษ โดยครูผู้สอนต้องเป็น native speaker หรือครูต่างชาติที่มีสมรรถนะด้านภาคภาษาอังกฤษสูง และต้องมีสมรรถนะในการสอนสาขาวิชานั้นๆด้วย หรือ Intergrated English Program  ซึ่งเรียกว่า บูรณาการโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ โดยอาศัยครูไทย ที่เคยสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือวิชาอื่นๆ เป็นภาษาไทย แต่มาประยุกต์และพัฒนามาให้มาใช้เป็นภาษาอังกฤษมาสื่อการสอน เพื่อให้เด็กกลุ่มนั้นมีโอกาส สำคัญคือเพื่อให้เด็กขาดโอกาสมีโอกาส เพราะฉะนั้นตัวละขั้นอย่างนี้ เราเดินมีโอกาสพัฒนาครูคนไทยให้สอนเป็นภาษาอังกฤษเสมือนโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ เราทำ 2-3 ปีเท่านั้น ครูเหล่านี้พัฒนาได้ สามารถสอนในหลักสูตรภาคภาษาปกติให้ทัดเทียมโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษและทำให้ครูเหล่านี้กลับไปสอนในโครงการ EP (English program) ได้ด้วย ก็มีเจตนาเพื่อต้องการให้นักเรียนไทยและครูไทยได้มีโอกาสสื่อสารภาคภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับสังคมประชาคมอาเซียน ที่บอกว่า ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาการทำงานในอนาคตเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน”

รูปแบบสอนภาษาอังกฤษเพื่อผสมผสานเข้ากับอาเซียนในประเทศไทย - ảnh 2นาย สุรพงษ์ งามสม ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 

ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน สิ่งที่สำคัญไม่น้อยคือการเสริมสร้างทักษะและเพิ่มความรู้ให้แก่ครูอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นฐานของโครงการแลกเปลี่ยนครูระหว่างโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงกับมหาวิทยาลัย Jember ของอินโดนีเซียในฐานะเป็นหนึ่งในครูที่เข้าร่วมโครงการสอนภาษาอังฤษ คุณ ทิพยภาพร สะเดา ครูสอนวิชาฟิสิกส์ได้เผยว่า “จริงๆก็เหมือนกับการเปิดและหัดด้วย เพราะเราอยู่ที่ประเทศของเรา เราก็เคยเห็นการเรียนการสอนแบบนี้ พอเราลองไปเปลี่ยน บางทีเทคนิคการสอนของเขาอย่างอื่นที่น่าสนใจ และสามารถมาปรับใช้ในโรงเรียนก็จะดี อย่างฟิสิกส์ก็มีสอนเฉพาะของฟิสิกส์ ในส่วนการปรับใช้ก็คือ พูดง่ายๆให้เขาเข้าใจง่ายๆ เพราะว่า ถ้าเราใช้ศัพท์ที่ยาก ยิ่งเป็นฟิสิกส์แล้ว เขาจะเรียนรู้ได้ยากค่ะ ถ้ามันง่ายๆก็จะทำให้เด็กอยากจะเรียนรู้”

ตั้งแต่ปี 2002 รัฐบาลไทยได้เริ่มใช้โครงการสอนภาษาอังกฤษ-ไทยในบางสาขาวิชาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลบางแห่ง ตามรายงานสถิติของคณะกรรมการศึกษาภาคเอกชนของไทยเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2016 ปรากฎว่า มีโรงเรียนนานาชาติ 166  แห่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสอนและโรงเรียนภาคเอกชน 50%  มีวิชาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ

รูปแบบสอนภาษาอังกฤษเพื่อผสมผสานเข้ากับอาเซียนในประเทศไทย - ảnh 3ครูและนักเรียนของโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยในกรุงเทพฯ 

ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยในกรุงเทพฯทุกๆเช้า นักเรียนทุกคนต้องฝึกอ่านประโยคอังกฤษกับครูชาวต่างชาติ นี่คือหนึ่งในกิจกรรมของโรงเรียนเพื่อยกระดับความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน นอกจากนั้น ทางโรงเรียนยังจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนให้แก่นักเรียนในทุกสัปดาห์ โดยนักเรียนจะผลัดเปลี่ยนกันแนะนำเกี่ยวกับประเทศอาเซียนเป็นภาษาอังกฤษหลังหลักสูตรการเรียน คุณ เกศมณี ปุญพัฒนกุลได้เผยว่า “ก็มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน มันเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง 10 ประเทศอาเซียน เด็กจะได้เหมือนกับเชื่อมโยงกันได้ระหว่าง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วัฒนธรรม ความคิด หรือเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เด็กจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับพวกนี้ในแต่ละประเทศว่า เขามีอะไรที่แตกต่างกับประเทศไทยบ้าง และจะพยายามปรับตัวเองเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร เป็นการสื่อพื้นฐานให้เด็กได้เรียนรู้แต่เนิ่นๆ”

นอกจากนั้น โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยยังส่งนักเรียนเข้าร่วมโครงการ English Summer Camp ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ คุณ ช่อฟ้า สิริธาร นักเรียน MEP ม.1 ของโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยได้เผยว่า “หนูอยากจะไปลองดูว่าวัฒนธรรมสิงคโปร์ ไปลองฝึกใช้ภาษาอังกฤษก็ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ฝึกการใช้ชีวิตอยู่ด้วยตนเอง ภาษาอังกฤษสำคัญ เพระแถวนี้ก็จะมีชาวต่างชาติมาประเทศไทยเยอะ บางครั้งเขามาคุยกับเรา เราก็จะโต้ตอบได้”

การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนช่วยให้แรงงานสามารถไปทำงานอย่างเสรีในภูมิภาค ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่วได้มีโอกาสทำงานในบรรยากาศที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ดังนั้นการเพิ่มความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษคือความต้องการที่จำเป็นและไทยกำลังปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด