(VOVWORLD) - ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีประชากรคิดเป็น 2 ใน 3 ของประชากรโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ในขณะที่แหล่งทรัพยากรสำหรับกิจกรรมบรรเทาทุกข์และสนับสนุนด้านมนุษยธรรมยังมีจำกัด สภากาชาดสากล รวมถึงสภากาชาดของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พร้อมส่งเสริมความร่วมมือปฏิบัติการ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกิจกรรมด้านมนุษยธรรมต่างๆ อีกทั้งยังคงสามารถป้องกันและรับมือภัยพิบัติต่างๆ
ปฏิญญามะนิลา |
เมื่อปี 2018 การประชุมสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 10 หรือ AP-10 ได้ออกปฏิญญามะนิลาภายใต้หัวข้อ "ระดมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นต่อกิจกรรมด้านมนุษยธรรมเพื่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว" จากรายงานสรุปผลปฏิญญามะนิลาระยะปี 2018-2023 ในกรอบการประชุม AP ครั้งที่ 11 ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นาง Gwen Pang เลขาธิการสภากาชาดฟิลิปปินส์ได้แสดงความเห็นว่า ปฏิญญามะนิลาที่กำหนดเป้าหมาย 13 รายการนั้น ถือเป็นความมุ่งมั่นที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตจำนงร่วมกันของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากภัยพิบัติและความขัดแย้ง อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวยังคงระบุว่า ถึงแม้บรรดาประเทศต่างๆ สามารถบรรลุคำมั่นบางส่วนภายหลังการดำเนินงานมาเป็นเวลา 5 ปี แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีคำมั่นอีกหลายข้อที่ยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งการประชุม AP ครั้งที่ 11 นี้ถือเป็นโอกาสสำหรับการถอดบทเรียนในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อวางรากฐานสำหรับเป้าหมายใหม่ต่างๆ ต่อไป
“ตั้งแต่การประชุมครั้งที่แล้ว ณ กรุงมะนิลา ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ประกอบด้วยภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติร้ายแรง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด รวมถึงความขัดแย้งต่างๆ ที่ซับซ้อนและยืดเยื้อ และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่สภากาชาดทุกกลุ่มยังคงยืนหยัดหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานต่างๆ เพื่อก้าวสู่เป้าหมายสุดท้ายท่ามกลางความท้าทายมากมายระหว่างการดำเนินงาน ฉันมีความเชื่อมั่นว่า การประชุมระดับภูมิภาค ณ กรุงฮานอย ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกันของพวกเรา รวมถึงความร่วมมือบนพื้นฐานทางจิตใจอันสูงส่งที่พวกเราได้สร้างไว้ที่กรุงมะนิลา”
คณะผู้แทนอินโดนีเซีย |
ในฐานะเป็นเจ้าภาพการประชุม AP ครั้งนี้ ทางเวียดนามได้เลือกหัวข้อ “เอเชีย-แปซิฟิก: เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ” โดยนาง บุ่ยถิหว่า ประธานสภากาชาดเวียดนาม เผยว่า เวียดนามอยู่ในพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและติดรายชื่อ 10 ประเทศที่ได้รับความเสียหายรุนแรงที่สุดจากภัยธรรมชาติ ดังนั้น การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
“ด้วยวิกฤตการณ์ต่างๆ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และความขัดแย้งที่มีความซับซ้อนและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ความต้องการในความร่วมมือ แบ่งปัน และร่วมประสานงาน จะสร้างพลังอันแข็งแกร่งของขบวนการบูรณาการระดับโลกที่นับวันมีความจำเป็นและมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าเดิม การประชุมครั้งนี้จะสร้างนิมิตหมายอันสำคัญด้วยความพยายามขององค์กรสภากาชาดประเทศต่างๆ ในการรับมือความท้าทายด้านมนุษยธรรมในภูมิภาค”
มีกว่า 50 ประเทศและดินแดนเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วยจิตใจแห่งการเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกัน จากนั้น จะเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในกิจกรรมและความร่วมมือด้านมนุษยธรรม พร้อมทั้งป้องกันและรับมือภัยพิบัติต่างๆ นาย Yusuf Kalla ประธานสภากาชาดอินโดนีเซีย ได้เผยว่า เวียดนามได้มีการปฏิบัติงานแบ่งปันและเชื่อมโยงระหว่างองค์กรสภากาชาดต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือและเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติต่างๆ ในอนาคต
“สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการประสานงานและความร่วมมือระหว่างสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดี ขอบคุณเวียดนามในการจัดการประชุมครั้งนี้ด้วยการเข้าร่วมของทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ที่มีค่ามากมายในที่ประชุม เพื่อให้พวกเราร่วมกันเตรียมพร้อมในการรับมือและฝ่าฟันภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ”
คณะผู้แทนกัมพูชา |
นี่ก็คือแรงจูงใจที่คณะผู้แทนกาชาดจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมงานอยากส่งถึงที่ประชุม นาย Apichart Chinwanno ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทยและนาย You Lana รองเลขาธิการสภากาชาดกัมพูชา ได้แบ่งปันความรู้สึกของตนว่า
“พวกเราอยากแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทยในการช่วยเหลือประชาชนและเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน พวกเราก็อยากรับฟังประสบการณ์จากประเทศต่างๆ และกลุ่มสภากาชาดสาขาในประเด็นนี้ด้วย”
“ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทั้งหมด 11 ประเทศและทุกประเทศล้วนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เมื่อเร็วๆ นี้ มีความขัดแย้งทางทหารเกิดขึ้นในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกเราต้องทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรมเหล่านี้"
ทั้งนี้ คณะผู้แทนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมฟอรั่มสภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระดับภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก ครั้งที่ 4 ได้ย้ำถึง 7 หลักการของขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศในการประชุม AP ครั้งที่ 11 ประกอบด้วย มนุษยธรรม ความเปิดกว้าง ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ การสมัครใจ ความเป็นเอกภาพ และทั่วทุกมุมโลก ซึ่งกลายเป็นแสงนำทางให้แก่ทุกกิจกรรมกาชาดในตลอด 58 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประชุมขบวนการสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 เมื่อปี 1965 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย./.