เวียดนามจะประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021

(VOVWORLD) - ปี 2020 เป็นปีที่มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเวียดนาม เพราะเวียดนามดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021 โอกาสนี้ สถานีวิทยุเวียดนามได้สัมภาษณ์ท่าน ธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย เพื่อหวนมอง ทบทวนส่วนร่วมที่โดดเด่นของเวียดนาม ตลอดจนโอกาสและความท้าทายเมื่อเวียดนามดำรง 2 ตำแหน่งสำคัญนี้

เวียดนามจะประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021 - ảnh 1

ท่าน ธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของวีโอวี5

เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนเมื่อปี 1995 25 ปีได้ผ่านพ้นไป ท่านเอกอัครราชทูตประเมินอย่างไรเกี่ยวกับส่วนร่วมของเวียดนามต่อการพัฒนาของประชาคมอาเซียน?

ผมจำได้ว่า ตอนที่เวียดนามเข้าร่วมประชาคมอาเซียน เวียดนามมีการหารือกันเยอะในหมู่ประเทศอาเซียน ในที่สุด เราก็ต้อนรับเวียดนามเข้าสู่เป็นสมาชิกของอาเซียนเมื่อปี 1995 เพียง 3 ปีหลังจากนั้น เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 6 และในครั้งนั้น ได้มีการประชุมและมีการรับรองทำด้านแผนปฏิบัติการฮานอยเพื่อจะรองรับดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของผู้นำอาเซียนหรือวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 แผนปฏิบัติการฮานอยเน้นอยู่ 5 เรื่อง ซึ่งตอนนั้น ผมจำได้ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศไทยก็มีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1997 ตอนนั้น วิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการฮานอยก็เน้นไปเรื่องปูพื้นฐาน การรวมตัวของอาเซียน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่ประชาคมอาเซียน

ในปี 2020 เวียดนามจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน เวียดนามจะเผชิญกับโอกาสและความท้าทายอะไรบ้างในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน?

ผมคิดว่า เวียดนามรับหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในการเป็นประธานอาเซียนและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 2 เดือนนับเป็นสมาชิก 2 ปีจากนี้ ผมคิดว่า เวียดนามสามารถมีบทบาทที่จะเป็นประเทศที่มีบทบาทเชื่อมโยงสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะระหว่างภูมิภาคเรากับเวทีระดับโลก อย่างคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเท่านั้น เวียดนามยังสามารถเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน ชุมชนประชาคมอาเซียนของเรากับเวทีระดับโลกได้ ในเวทีความมั่นคงของสหประชาชาติ มีการพูดถึงให้ความสำคัญกับปัญหาเสถียรภาพ ความมั่นคงในหลายๆภูมิภาคในทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาในตะวันอออกกลาง แต่ว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผมคิดว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถให้ความสำคัญมากขึ้นโดยเวียดนามสามารถมีบทบาทนี้ได้ นอกจากนั้น เรื่องของความร่วมมือ ความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงระหว่างคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกับอาเซียน ผมคิดว่า ประเทศเวียดนามน่าจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างตรงนี้ด้วย

เวียดนามจะประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021 - ảnh 2ท่าน ธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย  

ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2019 ประเทศไทยสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์อะไรเพื่อช่วยให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2020?

ผมคิดว่า สิ่งที่ประเทศไทยแล้วก็ประเทศเพื่อนสมาชิกอาเซียนและเวียดนามร่วมกันผลักดันในช่วงที่ไทยเป็นประธานก็ต้องขอขอบคุณประเทศเวียดนาม แล้วก็เพื่อนสมาชิกของเรา ประเด็นที่เราสนับสนุนคือเรื่องของการร่วมแรงร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน เราไม่ได้คุยกันหลายเรื่อง เรื่องของความยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ความยั่งยืนในสิ่งที่เราข้อคิดริเริ่มต่างๆที่อาเซียนพยายามทำ ผมคิดว่า ประเด็นความเชื่อมโยงนี้สามารถส่งผ่านต่อไปสู่ประธานคนปัจจุบันคือเวียดนามได้ ผลสำเร็จประการหนึ่งสำคัญนอกเหนือจากศูนย์อาเซียนหลายศูนย์ที่ได้รับการจัดตั้งหรือเสริมขยายต่อในช่วงที่ไทยเป็นประธาน อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องของการสรุปการเจรจาหารือ Rcep เพราะ Rcep มีผลสำคัญ ช่วยเรียกความมั่นใจให้กลับมาต่อเวทีการค้าพหุภาคี เพราะว่า ผมคิดว่า ประเทศภูมิภาคได้รับผลกระทบพอสมควรจากสงครามการค้า ตอนนี้ก็ฝากความหวังไว้กับมวลหมู่สมาชิกอาเซียนนำโดยประเทศเวียดนามที่จะช่วยกันหารือกับอินเดีย ให้อินเดียสามารถเข้าร่วม Rcep ได้

เวียดนามและไทยมีส่วนร่วมที่สำคัญและเป็นรูปธรรมต่อการพัฒนาของประชาคมอาเซียน ทั้งสองประเทศจะร่วมมือแก้ไขอุปสรรคและความท้าทายของอาเซียนอย่างไร เช่นปัญหาทะเลตะวันออก?

ผมคิดว่า ยังมีสิ่งท้าทายอยู่เบื้องหน้าเราร่วมกัน เช่นเรื่องของความผันผวนสถานการณ์ในภูมิภาค สงครามการค้า ปัจจุบันนี้ เราคุยกันเรื่องของปัญหาความมั่นคงในตะวันออกกลาง ในอ่าเปอร์เซีย ก็หวังว่า เราประเทศอาเซียน นำโดยเวียดนามสามารถบริหารจัดการประเด็นความผันผวนความมั่นคงเหล่านี้ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ขยายความร่วมมือนอกจากทางด้านเศรษฐกิจแล้ว สิ่งที่ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญ เรื่องการเสริมสร้างบริหารจัดการของอาเซียน สำนักเลขาธิการอาเซียน การเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน กระบวนการตัดสินใจของอาเซียน รวมไปถึงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนในมวลหมู่ประชาชนของอาเซียน ในเรื่องด้านความมั่นคง ปัญหาทะเลตะวันออกเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ประเทศไทยในช่วงที่เป็นประธานอาเซียนก็สามารถรวบรวมทำ first reading ของ COC ออกมาได้ แต่ผมคิดว่า การสานต่อนั้น อาจจะท้าทายยิ่งกว่า เรื่องของการทำ second reading การเจรจาเพื่อบรรลุไปสู่ second reading ผมคิดว่า เป้าหมายก็อยากเห็นความคืบหน้าในการจัดทำ second reading ให้ได้ในช่วงที่ประเทศเวียดนามเป็นประธาน ประเทศสมาชิกอาเซียนน่าจะสนับสนุนเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นประเทศฟิลิปปิน บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา ไทย ก็จะสนับสนุนมีความคืบหน้าในเรื่องนี้./.

ขอบคุณท่านทูตที่กรุณาสละเวลาตอบสัมภาษณ์นักข่าวสถานีวิทยุเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

พิเชษฐ์ ทองพุ่ม

ขอเอาใจช่วยประเทศเวียดนามอย่างเต็มที่ เพราะ ปี 2020 เป็นปีที่มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2020 และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2020-2021 นับเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายเมื่อเวียดนามดำรง 2 ตำแหน่งสำคัญนี้

ข่าวอื่นในหมวด