โอกาสผลักดันความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซีย
(VOVworld) – นี่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งคือความรู้สึกของผู้ที่มาร่วมงานราตรีแสดงศิลปะอินโดนีเซีย–เวียดนาม ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่๒ธันวาคมนี้ นี่เป็นกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนชาติต่างๆของทั้งสองประเทศ อีกทั้งผลักดันการพบปะเพื่อสร้างความเข้าใจกันระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
(VOVworld) – นี่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งคือความรู้สึกของผู้ที่มาร่วมงานราตรีแสดงศิลปะอินโดนีเซีย–เวียดนาม ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่๒ธันวาคมนี้ นี่เป็นกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนชาติต่างๆของทั้งสองประเทศ อีกทั้งผลักดันการพบปะเพื่อสร้างความเข้าใจกันระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
|
นักเต้นรำฮาร์ดีอานตี ปราตีวีและอากุส บาแดงของอินโดนีเซียแสดงท่ารำมาอูง ลูไกที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าซุนดาในบันดุง(Photo: VOV) |
ภายในห้องโถงกว้างประมาณ๒๕๐ตารางเมตรของวิทยาลัยนาฏศิลป์ฮานอยได้มีการจัดงานราตรีแสดงศิลปะอินโดนีเซีย–เวียดนามซึ่งโหมโรงด้วยการแสดงของนักร้อง ตรีแอ อัปรีนา ซาฟีตรีพร้อมวงดนตรีพื้นเมืองจากประเทศอินโดนีเซียท่ามกลางเสียงปรบมือตอบรับของผู้ชมโดยเพลงที่เริ่มต้นรายการคือเพลง“กาลางกาง”และ“ตีเบลาด”ที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรักครั้งแรกที่แสนโรแมนติกของหญิงสาว
ต่อจากนั้นคือการแสดงเต้นรำที่คึกคักของนักเต้นรำฮาร์ดีอานตี ปราตีวีและอากุส บาแดงที่แสดงท่ารำมาอูง ลูไกที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าซุนดาในบันดุงโดยนักเต้นรำทั้งสองคนในชุดพื้นเมืองของชนเผ่าซุนดาโบราณที่มีชายกระโปรงยาวถึงส้นเท้า เสื้อระย้าหลากหลายสีสัน ผ้าโพกหัว และไม่ใส่รองเท้า ได้แสดงท่ารำอย่างอ่อนช้อยสวยงาม นายโยยอน ดาร์โซโนผู้เล่นดนตรีของคณะศิลปินอินโดนีเซียกล่าวว่า “มาอุง ลูไกสะท้อนให้เห็นพลังที่แข็งแกร่งของเสือป่าที่เปี่ยมด้วยพลังชีวิต แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและความกล้าหาญเพื่อปกป้องความยุติธรรมอีกทั้งก็แสดงให้เห็นความปลื้มปิติเพราะนี่คือการต่อสู้เพื่อปกป้องคุณค่าชีวิตของมนุษย์”
|
นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์เวียดนามสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชม
ด้วยการระบำรำฟ้อนของชนเผ่าเกอตู(Photo:VOV ) |
จากวัตถุประสงค์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม นักศึกษาปีสุดท้ายของวิทยาลัยนาฏศิลป์เวียดนามก็ได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมด้วยการระบำรำฟ้อนของชนเผ่าเกอตูโดยในชุดกระโปรงกว้าง ยาวถึงส้นเท้า ชายกระโปรงและส่วนหน้าอกปักลวดลายผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม ท่ารำของบรรดาสาวชนเผ่าเกอตูเวียดนามที่มีควาอ่อนช้อยงดงามได้บ่งบอกถึงเสน่ห์ของผู้หญิงและอัธยาศัยที่ดีของชาวเวียดนามโดยเฉพาะชนเผ่าเกอตู ส่วนสำหรับการแสดงท่ารำไท บรรดานักศึกษาใส่กระโปรงสีเหลืองฉูดฉาด ผมประดับดอกกาหลงสีขาว มือถืองอบเต้นรำอย่างสวยงามซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง
การแสดงศิลปะฟ้อนรำได้กลายเป็นงานเลี้ยงแห่งศิลปะ โดยมีท่ารำโมจาง ปรีอานการของบรรดานักศึกษาของวิทยาลัยฟ้อนรำเวียดนามภายใต้การช่วยเหลือของบรรดาศิลปินฟ้อนรำอินโดนีเซีย คุณโด๋ถิจางเฮวี่ยนนักศึกษาฟ้อนรำคนหนึ่งกล่าวว่า การเรียนท่ารำนี้ไม่ยากแต่การแสดงให้เห็นถึงจิตใจของท่ารำนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย “ดิฉันเข้าร่วมการแสดงกับบรรดาศิลปินอินโดนีเซีย และเห็นว่า เนื้อเพลงรำของเวียดนามมีความอ่อนหวานและโรแมนติก ส่วนเนื้อเพลงรำของอินโดนีเซียมีความสนุกสนานและสบายๆ บรรดาศิลปินอินโดนีเซียแสดงมืออาชีพมาก”
การแสดงศิลปอินโดนีเซีย– เวียดนามได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชม นี่ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงศิลปะเท่านั้นหากยังเป็นโอกาสเพื่อเข้าถึงวัฒนธรรมและศิลปะของอินโดนีเซีย นี่คือความรู้สึกนึกคิดของคุณด่าวถิเอียนนักศึกษาวิทยาลัยท่องเที่ยวฮานอย เธอกล่าวว่า“ การแสดงศิลปะนี้ช่วยให้ดิฉันเข้าใจวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย ท่ารำกลอง และแคนของอินโดนีเซียสนุกมากๆ บรรดาศิลปินอินโดนีเซียรำอย่างอ่อนช้อยสวยงาม หวังว่า กิจกรรมนี้จะได้รับการจัดมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาเวียดนามมีโอกาสเข้าใจวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งเพิ่มความรู้ให้แก่ตนเอง”
นายซาดีกิน ทูตวัฒนธรรมและสื่อสารสถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงฮานอยกล่าวว่า รายการแสดงศิลปะอินโดนีเซีย–เวียดนามครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษเพื่อมุ่งสู่พิธีฉลองครบรอบ๖๐ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศซึ่งตรงกับวันที่๓๐ธันวาคมที่จะจัดขึ้นในปีหน้า รายการแสดงศิลปะที่คล้ายกัน ก็จะได้รับการจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียในปลายเดือนธันวาคมนี้ซึ่งเป็นโอกาสเพื่อให้ผู้ชมเวียดนามได้เข้าถึงและศึกษาประเทศอินโดนีเซียที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ./.
Trung Cường