วิหารแจงและตำนานเกี่ยวกับเทพแห่งแม่น้ำแจง
Thu Ha/VOV -  
(VOVworld)-จังหวัดหายเยืองมีเกียรติประวัติวัฒนธรรมที่ยาวนานพร้อมเอกลักษณ์วัฒนธรรมความเลื่อมใสที่โดดเด่นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ซึ่งหนึ่งในเขตโบราณสถานที่น่าสนใจในผืนแผ่นดินหายเยืองคือวิหารแจงในอ.นิงยาง ซึ่งผูกพันธ์กับตำนานของขุนนางต่วนแจงหรือก็คือเทพแห่งแม่น้ำแจง โดยวิหารแห่งนี้ไม่เพียงแต่มีทัศนียภาพที่สวยงามและมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเท่านั้นหากยังขึ้นชื่อด้วยประเพณีความเลื่อมใสในการบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำอีกด้วย
(VOVworld)-จังหวัดหายเยืองมีเกียรติประวัติวัฒนธรรมที่ยาวนานพร้อมเอกลักษณ์วัฒนธรรมความเลื่อมใสที่โดดเด่นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ซึ่งหนึ่งในเขตโบราณสถานที่น่าสนใจในผืนแผ่นดินหายเยืองคือวิหารแจงในอ.นิงยาง ซึ่งผูกพันธ์กับตำนานของขุนนางต่วนแจงหรือก็คือเทพแห่งแม่น้ำแจง โดยวิหารแห่งนี้ไม่เพียงแต่มีทัศนียภาพที่สวยงามและมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเท่านั้นหากยังขึ้นชื่อด้วยประเพณีความเลื่อมใสในการบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำอีกด้วย
วิหารต่วนแจง(photo panoramario)
|
วิหารแจงยังมีอีกชื่อว่าวิหารกวานเลิ้นต่วนแจง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านแจงเซวียน ต.ด่งเติม อ.นิงยาง ซึ่งผูกพันธ์กับตำนานของขุนนางท่านหนึ่งชื่อต่วนแจง ที่ชาวบ้านได้เล่าขานกันมาว่า ที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำแจงมีงูยักษ์สองตัวที่มาก่อกวนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่นี่ มีอยู่วันหนึ่งเจ้างูยักษ์ได้จับภรรยาของขุนนางต่วนแจงไป เขาก็เลยยื่นฟ้องกับลองเวืองเทพเจ้าแห่งสายน้ำแล้วเขาก็ชนะได้ตัวภรรยากลับคืนมาและงูยักษ์สองตัวนั้นก็ต้องย้ายไปอาศัยในที่อื่นๆ นับตั้งแต่นั้นชีวิตของชาวบ้านแถวนี้ก็ได้อยู่ในความสงบสุข ชาวบ้านรู้สึกสำนึกในบุญคุณของขุนนางต่วนแจงและทำการตั้งวิหารบูชาริมฝั่งแม่น้ำแล้วยกย่องให้เป็นเทพแห่งแม่น้ำแจงที่คอยปกป้องคุ้มรองให้ชาวบ้านและเรือที่แล่นผ่านเส้นทางนี้ปลอดภัย
ในศตวรรษที่19วิหารแจงได้รับการก่อสร้างอย่างยิ่งใหญ่พร้อมสถาปัตยกรรมการแกะสลักลวดลายอย่างปราณีตสวยงามพร้อมรูปปั้นจำลองขุนนางต่วนแจงที่ใหญ่โต แต่เนื่องจากปัญหาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำทรุดตัวลง ถึงปี1935 ชาวบ้านจึงตั้งวิหารแห่งใหม่ที่หมู่บ้านแจงเซวียนในปัจจุบันและได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ในช่วงกลางศตวรรษที่20โดยมีการขยายพื้นที่ของวิหารให้เหมือนสถาปัตยกรรมดั้งเดิมคือมีประตูทางเข้าสามช่อง ที่ตั้งหลักศิลาจารึกพร้อมอาคารไม้สองแถวซึ่งทำให้วิหารแห่งนี้มีความโอ่โถงสวยงามยิ่งขึ้น
อาคารใหญ่ของวิหาร(Photo internet)
|
ทุกปีที่วิหารแจงจะมีการจัดเทศกาลใหญ่สองครั้ง โดยครั้งแรกมีขึ้นระหว่างวันที่10-20เดือนยี่จันทรคติ ส่วนครั้งที่สองจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่20-25เดือน8 ซึ่งชาวบ้านได้เล่าขานกันมาว่าวิหารแจงนี้ศักดิ์สิทธิ์มากอยากขอพรอะไรก็ได้สมหวัง ดังนั้นเมื่อถึงวันเทศกาลนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้หลั่งไหลมาร่วมงานจำนวนมาก นายเหงวียนเติ๊ดจ๋อง รองหัวหน้าคณะบริหารวิหารต่วนแจงเผยว่า“นอกจากช่วงเทศกาลหลักสองรอบแล้ว ในเดือน5จันทรคติทุกปีก็มีวันงานแห่งเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเป็นวันที่ขุนนางเปิดงานเลี้ยงรับแขก ดังนั้นจึงมีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมจำนวนมาก ซึ่งนอกจากพิธีกรรมด้านความเลื่อมใสแล้ว ในงานจะมีการจัดพิธีทรงเจ้าตามประเพณีพื้นบ้านโดยมีทั้งหมด36ชุด”
สิ่งที่พิเศษและน่าสนใจในงานเทศกาลต่างๆของวิหารต่วนแจงคือการแลกเปลี่ยนและผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกับความเลื่อมใสจากวิหารกี่กู่ง เมืองหลางเซิน จ.หลางเซินซึ่งเป็นสถานที่ที่ขุนนางต่วนแจงเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงวันจัดงานสำคัญจะมีการส่งคณะศิลปะมาร่วมแสดงการเข้าทรงในวิหารทั้งสองแห่ง นายเหงวียนแถ่งหวาน หัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมและการสื่อสารอ.นิงยาง จ.หายเยืองเผยว่า“ท้องถิ่นทั้งสองแห่งมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งได้ช่วยให้บรรยากาศแห่งวัฒนธรรมได้รับการเปิดกว้างและผสมผสานผ่านการจัดงานเทศกาลต่างๆ ประชาชนในพื้นที่ก็จะมีโอกาสได้สัมผัสและมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของจังหวัดหลางเซิน ส่วนชาวหลางเซินเมื่อมาร่วมงานที่จังหวัดหายเยืองก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวท้องถิ่นและได้ร่วมสังสรรค์กันผ่านการละเล่นพื้นบ้านต่างๆที่สร้างบรรยากาศสนุกสนานเพลิดเพลิน”
วิหารแจงได้รับการรับรองเป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อปี2009 ซึ่งในเวลาที่ผ่านมาทางการท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญต่องานด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมที่ดีเลิศจากการจัดงานเทศกาลต่างๆอันเป็นการมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ความงามแห่งวัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดหายเยืองกับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ.
Thu Ha/VOV