ครู เล ฮิว ฟอง ผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่า บานา

( VOVworld )-ทุกครั้งเมื่อฤดูใบไม้ผลิเวียนมาก็เป็นสัญญาณบอกให้เรารู้ว่าเทศกาลตีฆ้องได้เวียนมาในพื้นดินเตยเงวียนอีกแล้วเพื่อต้อนรับปีใหม่  แต่กว่าจะได้ทีมเล่นฆ้องที่ดีเยี่ยมก็ต้องใช้คนที่มีใจรัก เห็นคุณค่าของศิลปะฆ้องพื้นเมืองและทุ่มเทชีวิตเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมฆ้องของชนเผ่นต่างๆในเตยเงวียนเขตที่ราบสูงภาคกลางตอนใต้ของประเทศ ในบรรดาผู้ที่อนุรักษ์และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชาวบ้านหลงไหลในศิลปะการตีฆ้องพื้นเมืองของชนเผ่า บานานั้นมีครู เล ฮิว ฟอง ที่ได้ทุ่มเทกับการอนุรักษ์และนำการสอนตีฆ้อบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนของนักเรียน อำเภอ มางยาง จังหวัด ยาลาย


( VOVworld )-ทุกครั้งเมื่อฤดูใบไม้ผลิเวียนมาก็เป็นสัญญาณบอกให้เรารู้ว่าเทศกาลตีฆ้องได้เวียนมาในพื้นดินเตยเงวียนอีกแล้วเพื่อต้อนรับปีใหม่  แต่กว่าจะได้ทีมเล่นฆ้องที่ดีเยี่ยมก็ต้องใช้คนที่มีใจรัก เห็นคุณค่าของศิลปะฆ้องพื้นเมืองและทุ่มเทชีวิตเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมฆ้องของชนเผ่นต่างๆในเตยเงวียนเขตที่ราบสูงภาคกลางตอนใต้ของประเทศ ในบรรดาผู้ที่อนุรักษ์และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชาวบ้านหลงไหลในศิลปะการตีฆ้องพื้นเมืองของชนเผ่า บานานั้นมีครู เล ฮิว ฟอง ที่ได้ทุ่มเทกับการอนุรักษ์และนำการสอนตีฆ้อบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนของนักเรียน อำเภอ มางยาง จังหวัด ยาลาย
ครู เล ฮิว ฟอง ผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่า บานา  - ảnh 1
ครูฟอง( ตรงกลางเสื้อสีขาว)สอนเด็กตีฆ้อง 

อาจารย์ใหญ่ เล ฮิว ฟอง ที่โรงเรียนประจำ อำเภอ มาง ยาง จังหวัด ยาลาย เป็นคนแรกของจังหวัดที่ได้ประสบความสำเร็จในการบรรจุการเล่นฆ้อง ระบำซวางซึ่งเป็นระบำพื้นเมืองของชนเผ่าบานาเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน  ภายใต้การสอนของครูฟองกับศิลปินอาวุโสในหมู่บ้าน นักเรียนของโรงเรียนสามารถเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าได้ โรงเรียนมีชั้นเรียน ๕ ห้อง แต่และชั้นเรียนมีคณะฆ้อง ๑ คณะและคณะร้องเพลงพื้นเมือง ๑ คณะ ซึ่งพวกเขามักจะเข้าร่วมการแสดงและการแข่งขันต่างๆในระดับอำเภอและจังหวัด เด็กบางคนได้เป็นสมาชิกคณะฆ้องของหมู่บ้าน  และสิ่งที่ถือเป็นความสำเร็จพิเศษของครู ฟองคือ การรำวัฒนธรรมพื้นเมืองซึมซับเข้าไปในจิตใจของเด็กซึ่งส่งผลดีในการเรียนหนังสือ เด็กชาย ชนเผ่า บานา หมู่บ้าน โบง บิม ตำบล เจอ ตา นักเรียน ม. ๓ โรงเรียนประจำ อำเภอ มาง ยาง  คุยกับพวกเราว่า    “ หนูได้เรียนการตีฆ้องและเรียนหนังสือ หนูรู้สึกมีความสุขมากเพราะการเรียนตีฆ้องนั้นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมือง ทั้งนี้ทำให้หนูชอบเรียนหนังสือและมีผลการเรียนดีขึ้น
ครู เล ฮิว ฟอง ผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่า บานา  - ảnh 2
นักท่องเที่ยวลองทอผ้าลวดลายต่างๆของชนเผ่า บานา
 นักเรียนยังได้เรียนระบำซวางและวัฒนธรรมอื่นๆของชนเผ่าบานาเช่น  การทอผ้าพื้นเมืองลวดลายต่างๆ การร้องเพลงพื้นเมืองและร้องเพลง ด่ง ยาว หรือเพลงคำพังเพยที่เด็กทั้งร้องทั้งรำพร้อมๆกัน ที่บรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนของเด็กด้วย  ซึ่งผลงานที่โดดเด่นคือ  รายการร้องเพลง ด่ง ยาว กับการระบำซวาง และรายการแสดงฆ้องของนักเรียนโรงเรียนมัธยมต้น เลอ บาง อำเภอ มาง ยาง ที่เข้าร่วมงานมหกรรมร้องและรำของเด็กชนกลุ่มน้อยทั่วประเทศปี ๑๙๙๔ ต่างได้รับรางวัลเหรียญทอง

  ที่ท่านกำลังรับฟังอยู่ขณะนี้คือ เพลง นาข้าวเหลืองอร่าม จากการแสดงของนักเรียนชนเผ่า บานา โรงเรียนประจำมาง ยาง ซึ่งในปัจจุบัน มีนักเรียนชนเผ่า บานา ที่สามารถร้องเพลง ด่ง ยาว ซึ่งเป็นเพลงประจำชนเผ่าได้ไม่กี่คนและส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในโรงเรียนที่ครูฟองเคยสอน

ครู ฟอง เกิดที่จังหวัด ฮึง เอียน เขตที่ราบภาคเหนือประเทศ ปี ๑๙๘๔ ท่านได้ย้ายมาทำในงานหน่วยงานวัฒนธรรมและการศึกษาอำเภอมาง ยาง จังหวัด ยาลาย  ปี ๒๐๐๗ ครูฟองได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนประจำของอำเภอ มาง ยาง ตั้งแต่นั้นมา ครูฟองได้บรรจุเนื้อหาการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน  ตลอดเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา ครูฟองได้ใช้เวลาว่างโดยการไปตามหมู่บ้านของชนเผ่าเพื่อศึกษาวัฒนธรรมพื้นเมือง  ครูฟองเล่าว่า  “ ผมได้เข้าร่วมงานเทศกาลพื้นเมืองต่างๆของหมู่บ้านเพื่อศึกษาวัฒนธรรมพื้นเมือง ได้ดื่มด่ำและเข้าใจวัฒนธรรมฆ้องที่โดดเด่น ตั้งแต่นั้นมา ผมเริ่มชอบและหลงไหล  แต่ วัฒนธรรมพื้นบ้านดังกล่าวถูกหลงลืมตามกาลเวลาจนทำให้เรารู้สึกว่าต้องอนุรักษ์ และผมได้สะสมเพลงและการเล่นฆ้องโบราณ  เมื่อมาทำงานที่โรงเรียนประจำผมได้นำมาเรียบเรียงใหม่และสะสมต่อเพื่อสอนให้กับนักเรียน

ครู เล ฮิว ฟอง ผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่า บานา  - ảnh 3
รำซวาง

นอกจากผลงานที่กล่าวมาข้างต้น ครูฟองยังเป็นที่รู้จักในฐานะนักศึกษาอักษรศาสตร์ชนเผ่าบานา โดยได้เรียบเรียงและเขียนพจนานุกรมเวียด-บานา และบานา-เวียด รวมศัพท์ ๑๒,๐๐๐ คำ พิมพ์จำหน่ายเมื่อปี ๒๐๐๘ และเขียนหนังสือคู่มือการสอนภาษา บานา และเรียนภาษา บานา สำหรับเจ้าหน้าที่ ข้าราชการและกองกำลังติดอาวุธ พิมพ์จำหน่ายปี ๒๐๑๐     ใจรักและความหลงไหลของครูชนชาติกิง เล ฮิว ฟอง ได้เป็นแรงบันดาลให้แก่การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่า บานา โดยเฉพาะวัฒนธรรมฆ้องบานา ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด