มรดกวัฒนธรรม –ทรัพยากรอันล้ำค่าในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่

(VOVWORLD) -หมู่บ้านเวียดนามมีคุณค่าวัฒธรรมพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์  ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างความยั่งยืน เป็นจิตวิญญาณของหมู่บ้านเวียดนามแต่ละแห่ง ในกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทในปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมของชาวที่ได้สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนถือเป็นสิ่งล้ำค่าต่อการสร้างสรรค์หมู่บ้านชนบท พัฒนา สร้างความกลมกลืน ระหว่างสิ่งเก่าแก่ที่มีค่ากับความทันสมัย

 
 
มรดกวัฒนธรรม –ทรัพยากรอันล้ำค่าในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ - ảnh 1นาย เลมิงฮวาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท

มรดกวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม อาทิเช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม งานเทศกาล ความเชื่อ คุณค่าและศิลปะ  ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรมก็อย่างเช่น ศาลาประจำหมู่บ้าน วิหารและบ้านเรือน มรดกวัฒนธรรมมีคุณค่าเกี่ยวกับสมบัติวัฒนธรรม โดยแสดงให้เห็นผ่านเอกลักษณ์และการสืบทอดในชุมชน ดังนั้น ในตลอดช่วงเวลากว่า 10 ปีของการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นอกจากการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของชนบทและการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนแล้ว ก็ยังเน้นอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นก่อน

นาง เหงวียนถิเฟืองเจิม หัวหน้าสถาบันวิจัยวัฒนธรรมสังกัดสถาบันฑิตวิทยาศาสตร์สังคมเวียดนามเผยว่า จากการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างกว้างลึก ทำให้รู้ว่าการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็น 

“มรดกวัฒนธรรมมีความหมายเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตของเกษตรกรในเขตชนบท  จากมุมองของเกษตรกร พวกเราเห็นว่า นี่เป็นพลังเพื่อพัฒนา วัฒนธรรมพื้นเมืองไม่เคยขัดขวางการพัฒนา  แต่เรายังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังทางวัฒนธรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ ”

วัฒนธรรมชนบทถือเป็นต้นทุนสำหรับการพัฒนา ดังนั้น ในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามจึงเน้นสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยมุ่งเน้นเป้าหมายการเสริมสร้างคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมือง  นอกจากนี้  บรรยากาศในเขตชนบทต้องถือเป็นมรดก รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ บุ่ยซวนดิ๊ง จากสถาบันชาติพันธุ์เวียดนามเห็นว่า บรรยากาศในเขตชนบท  พิธีกรรมและความเลื่อมใสศรัทธาเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างคนกับเกียรติประวัติ ช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่ดี มีความสงบสุขและอารยธรรมมากขึ้น ดังนั้น การสร้างสรรค์เขตชนบทใหม่มีทั้งคุณค่าพื้นเมืองและการพัฒนาตามแนวโน้มที่ทันสมัยอย่างกลมกลืน ซึ่งเป็นความปรารถนาของประชาชน

“ผมคิดว่า ประชาชนในเขตชนบทใหม่ต้องมีคุณภาพชีวิตที่มั่นคง ชีวิตทางจิตใจที่หลากหลาย มีบรรยากาศการดำรงชีวิตที่โปร่งใสบนพื้นฐานของการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ผสานกับสิ่งใหม่ๆ”

ในเวลาที่ผ่านมา การพัฒนาการท่องเที่ยวชนบทผสานกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ใช้ความได้เปรียบจากทิวทัศน์ธรรมชาติ วัฒนธรรมพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่น ซึ่งสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน สถานที่ท่องเที่ยวในเขตชนบทได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน โฉมหน้าของหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงและท้องถิ่นมีแหล่งพลังเพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นาย เลมิงฮวาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า พลังของชุมชนควบคู่กับคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองจะสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่เขตชนทบทใหม่ 

“เราสามารถใช้ประโยชน์จากคุณค่าต่างๆของวัฒนธรรมหมู่บ้านและชีวิตของชาวบ้านเพื่อทำการท่องเที่ยว ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและเพิ่มรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น”

จากการปฏิบัติมติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 13 เกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรและชนบทจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 รัฐบาลได้ประกาศใช้และปฏิบัติโครงการปฏิบัติรูปแบบ “เขตชนบทที่คล่องตัว ชุมชนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมรดกแห่งการเชื่อมโยง” การคัดเลือกรูปแบบนี้ในการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในปัจจุบันได้ส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมในเขตชนบท  โดยประชาชนส่งเสริมการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมของชนบท นาย เจิ่นเหญิดลาม รองหัวหน้าสำนักงานการประสานงานชนบทใหม่ส่วนกลางสังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท ได้ย้ำว่า การพัฒนารูปแบบนี้ช่วยให้การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้รับการปฏิบัติอย่างยั่งยืนและเข้าสู่ส่วนลึก 

“นี่เป็นแนวโน้มเพื่อเชิดชูคุณค่าพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในท้องถิ่น ฟื้นฟูและส่งเสริมคุณค่านี้ในชุมชน ยืนยันเอกลักษณ์วัฒนธรรมในท้องถิ่น ถ้าหากพวกเราสามารถส่งเสริมคุณค่าหลักนี้ในเขตชนบท  โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่จะนับวันมีความยั่งยืนและเข้าสู่ส่วนลึก”

การอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่ามรดกผสานกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้รับการกำหนดว่า เป็นเป้าหมายและหน้าที่ที่มีความหมายเชิงยุทธศาสตร์เพราะวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจของสังคม เป็นพลังภายในเพื่อค้ำประกันการพัฒนาอย่างรอบด้าน จนถึงขณะนี้ เมื่อปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ท้องถิ่นต่างๆต้องอนุรักษ์ ส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากมรดกวัฒนธรรมนี้ ซึ่งถือเป็นทรัพยากร แหล่งพลังที่มีค่าเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาชนบทใหม่.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด