ลุงแถก กา รี นอ-ผู้อุทิศตลอดชีวิตให้แก่การอนุรักษ์ศิลปะของชนเผ่าเขมร

( VOVworld )-คุณลุงแถก กา รี นอไม่ใช่ศิลปินอาชีพและก็ไม่เข้าร่วมคณะศิลปะแต่ท่านได้อุทิศชีวิตในกว่า ๕๐ ปีเพื่อค้นหาและอนุรักษ์ศิลปะของชนเผ่าเขมร  โดยท่านไม่เพียงแต่ฟื้นฟูเครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายและหัวโขนที่ใช้ในงานเทศกาลและประเพณีความเลื่อมใสศรัทธาของชนเผ่าเขมรเท่านั้น หากยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่รักและหวงแหนศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของตน อันเป็นการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมแขนงนี้ให้พัฒนาต่อไป


( VOVworld )-คุณลุงแถก กา รี นอไม่ใช่ศิลปินอาชีพและก็ไม่เข้าร่วมคณะศิลปะแต่ท่านได้อุทิศชีวิตในกว่า ๕๐ ปีเพื่อค้นหาและอนุรักษ์ศิลปะของชนเผ่าเขมร  โดยท่านไม่เพียงแต่ฟื้นฟูเครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายและหัวโขนที่ใช้ในงานเทศกาลและประเพณีความเลื่อมใสศรัทธาของชนเผ่าเขมรเท่านั้น หากยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่รักและหวงแหนศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของตน อันเป็นการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมแขนงนี้ให้พัฒนาต่อไป
ลุงแถก กา รี นอ-ผู้อุทิศตลอดชีวิตให้แก่การอนุรักษ์ศิลปะของชนเผ่าเขมร - ảnh 1
คุณลุงแถก กา รี นอแนะนำให้ลูกชาย
ทาสีรูปปั้นนกวิเศษ
คุณลุงแถก กา รี นอ อยู่ที่หมู่บ้านจ่าซือ   ตำบลเลือง หว่า อา   อำเภอโจว์แถ่ง จังหวัดจ่าวินห์ภาคใต้ประเทศเวียดนาม  ท่านรักและหลงไหลการร้องรำทำเพลงและการแสดงอุปรากรเรื่องราวโบราณของชนเผ่าเขมรมาตั้งแต่เด็ก  โดยเมื่อมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านตามวัดวาอารามในละแวกที่ตนอาศัยอยู่ เด็กชายแถก กา รี นอ ต้องไปดูให้ได้  ตอนมีอายุ ๑๔ ขวบ โดยได้รับความช่วยเหลือของพ่อ นายแถก กา รี นอ สามารถผลิตเครื่องดนตรีและหัวโขนที่ง่ายๆ  ต่อมาไม่กี่ปีก็สามารถผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรทุกชนิดเช่น ตะเข้ ซอด้วง ซออู้ กลองเจิ่ว กลองชัยยำหรือกลองแขก หัวโขนตัวละครในวรรณคดีมหากาพย์รามายณะ ประติมากรรมนูนต่ำและลวดลายต่างๆในสถาปัตยกรรมวัดวาอารามและพระปรางค์ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีเพนทาโทนิกที่ใช้ในงานประเพณีของชนเผ่าเขมร  ผลิตภัณฑ์ต่างๆจากฝีมือของคุณลุงแถก กา รี นอได้รับการสั่งซื้อไม่เพียงแต่จากคณะศิลปะและวัดเขมรภายในจังหวัดเท่านั้น หากยังขายตามจังหวัดต่างๆในภาคใต้ประเทศอีกด้วย   คุณลุงแถก กา รี นอเล่าว่า สิ่งที่ถือว่ายากที่สุดในการผลิตเครื่องดนตรีคือวัตถุดิบเพราะนับวันขาดแคลนมากขึ้น แม้กระทั่งวัตถุดิบเพื่อทำเครื่องดนตรีบางชนิดที่มีอยู่ภายในประเทศแต่ก็ไม่สามารถนำมาผลิตได้เพราะไม่ได้มาตรฐานด้านความทนทานและเสียง ดังนั้นต้องนำเข้า  นายแถก กา รี นอเปิดเผยว่า  “ ฆ้องชุดต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพราะกรรมวิธีการผลิตของเรายังไม่ได้มาตรฐาน  มันต้องทำจากไม้ที่มีอายุหลายๆปีและเป็นไม้เฉพาะ แต่ไม้ชนิดนี้หายากและต้องหาซื้อในต่างจังหวัด

จากใจรักและอยากอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าเขมร  ในหลายปีที่ผ่านมาคุณลุงแถก กา รี นอได้ส่งเสริมให้ลูกๆสืบสานอาชีพของตนเอง โดยลูกชายทั้ง ๔ คนมี ๒ คนสืบสานอาชีพของคุณลุงแถกคือ ผลิตเครื่องดนตรี หัวโขนและหุ่นคน  ส่วนอีกสองคนประกอบอาชีพผลิตลวดลาย ประติมากรรมนูนต่ำและพระพุทธรูปให้แก่วัดเขมร  นายแถก อาค กา รา บุตรชายคนที่ ๓ ของคุณลุง แถก กา รี นอเล่าว่า “ ผมสืบทอดอาชีพของพ่อ ปัจจุบันวัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างทางวัฒนธรรมมีความต้องการ สินค้าที่ผมผลิตแม้รายได้พอใช้จ่ายเท่านั้น แต่ผมชอบและหลงไหลอาชีพนี้จึงตั้งใจทำเต็มที่  ผมจะสอนอาชีพนี้ให้แก่ลูกและหลานต่อไป ”

ลุงแถก กา รี นอ-ผู้อุทิศตลอดชีวิตให้แก่การอนุรักษ์ศิลปะของชนเผ่าเขมร - ảnh 2
หัวโขนที่คุณลุงแถก กา รี นอผลิต

ครอบครัวของคุณลุงแถก กา รี นอได้เปิดสอนอาชีพนี้ให้แก่วัยรุ่นชนเผ่าเขมรในพื้นที่เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าตน  คุณลุงแถก กา รี นอเล่าว่า ปัจจุบันมีศิลปะพื้นบ้านบางแขนงถูกหลงลืมเช่น ละครรำแยะรอม( Yeak Rom ) ที่ตัวละครหลายตัวไม่มีโอกาสปรากฎบนเวที แต่ตัวละคนหนุมานและทศกัณฐ์ที่เป็นตัวแทนของฝ่ายดีและฝ่ายชั่วยังมีโอกาสแสดงบนเวทีตามหมู่บ้านที่มีชนเผ่าเขมรอาศัยอยู่  ตามหมู่บ้านตำบลของชนเผ่าเขมรต่างมีคณะระบำทศกัณฐ์และแนะต่า ส่วนตามวัดต่างๆจะมีวงดนตรีเพนทาโทนิกและทีมกลองแขกยกตัวอย่างเช่น ในจังหวัดจ่าวินห์มีวัดเขมร ๑๔๒ แห่งโดยมีวัดถึง ๑๒๕ แห่งมีวงดนตรีเพนทาโทนิกและทีมกลองแขก โดยไม่รวมถึงคณะที่จัดตั้งเอง คุณลุงแถก กา รี นอ เปิดเผยว่า  “ ประมาณ ๑๐ ปีที่ผ่านมาหมวก หัวโขนและเครื่องดนตรีได้รับความนิยมไม่เพียงแต่ในจังหวัดจ่าวินห์เท่านั้น หากยังในจังหวัดอื่นๆที่มีชนเผ่าเขมรอาศัยอยู่ด้วย โดยพวกเขามาหาซื้อ  พวกเขามาสั่งซื้อเพราะรักและอยากอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน  ส่วนรัฐบาลนั้นได้มีนโยบายสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ชนเผ่าอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เช่น วงเงินซื้อเครื่องดนตรี กลองแขกและเชิญอาจารย์มาสอน ”

สำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดจ่าวินห์ได้เปิดการสอนอาชีพโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนให้แก่หนุ่มสาวชนเผ่าเขมรโดยคุณลุงแถก กา รี นอเป็นอาจารย์เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาอาชีพพื้นบ้าน  อาจารย์แถก กา รี นอได้สอนศิลปะพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ให้แก่คนรุ่นใหม่ อันเป็นการอนุรักษ์คุณค่าและพัฒนาวัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนามให้อยู่นานเท่านาน .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด