การประชุมสุดยอดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์สหรัฐ-รัสเซียและความเป็นไปได้ที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทวิภาคี

(VOVWORLD) -นอกจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์โอไมครอนแล้ว การประชุมสุดยอดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐโจ ไบเดน กับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินในวันที่ 7 ธันวาคมก็เป็นหนึ่งในปัญหาระหว่างประเทศที่ได้กำลังได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากประชาคมโลก ซึ่งความคิดเห็นส่วนใหญ่ต่างให้ข้อสังเกตว่า การประชุมนี้ยากที่จะสร้างก้าวกระโดดใหญ่ในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังคงมีความซับซ้อน แต่นี่ถือเป็นก้าวเดินที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไม่เลวร้ายไปมากกว่านี้

การประชุมสุดยอดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์สหรัฐ-รัสเซียและความเป็นไปได้ที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทวิภาคี - ảnh 1ประธานาธิบดีสหรัฐ โจไบเดนพบปะกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Photo: Reuters)

เมื่อต้นเดือนธันวาคม ทั้งสหรัฐและรัสเซียได้ยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการประชุมสุดยอดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์นี้ในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ทวิภาคีกำลังมีความตึงเครียดเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การเนรเทศนักการทูต ปัญหาซีเรียและยูเครนและปัญหาการขยายตัวของนาโต้ เป็นต้น

สภาวการณ์ที่เต็มไปด้วยความท้าทาย     

การประชุมสุดยอดครั้งนี้ถูกจัดขึ้นหลังการพบปะโดยตรงระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดนกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ถึงครึ่งปี แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจนี้ไม่สามารถบรรลุความคืบหน้าใดๆหลังการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน แถมในช่วงก่อนการประชุม สหรัฐและยูเครนได้กล่าวหารัสเซียว่า ได้ทำการเสริมทหารประมาณ 1 แสนนายและอาวุธยุทโธปกรณ์ในเขตชายแดนทิศตะวันตกและมีแผนการที่จะทำการโจมตียูเครน โดยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐได้เตือนว่า สหรัฐและพันธมิตรยุโรปกำลังเตรียมปฏิบัติมาตรการตอบโต้ด้านเศรษฐกิจในขอบเขตใหญ่ที่อาจสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อรัสเซียถ้าหากรัสเซียทำการโจมตียูเครน

ซึ่งแน่นอนว่าทางฝ่ายรัฐบาลรัสเซียได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐ พร้อมทั้งกล่าวหาฝ่ายตะวันตกว่ามีการกระทำที่ยั่วยุ โดยเฉพาะการซ้อมรบในทะเลดำ รัสเซียยังเรียกร้องให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ที่สหรัฐเป็นผู้นำยุติการขยายขอบเขตไปยังทิศตะวันออกหลังจากที่ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ ในการกล่าวปราศรัยต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม นาย Dmitry Peskov  โฆษกวังเครมลินได้ยืนยันว่า ระเบียบวาระการประชุมจะเน้นถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีที่กำลังอยู่ใน”ภาวะที่น่าเสียดาย”  หลังจากนั้นคือคำถามเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องถึงปัญหายูเครน การที่นาโต้ส่งทหารไปประจำการใกล้เขตชายแดนของรัสเซียและความคิดริเริ่มของประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูตินเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง”

ในสภาวการณ์นี้ ประชามติให้ข้อสังเกตว่า ยากที่จะแก้ไขความชะงักงันของความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐผ่านการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพราะก่อนหน้านี้ในการประชุมสุดยอดโดยตรงเมื่อเดือนมิถุนายนก็ไม่บรรลุก้าวกระโดดใด ๆ แต่อย่างไรก็ดี การจัดการประชุมสุดยอดนี้ยังคงเป็นก้าวเดินที่จำเป็นเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายและความมีเสถียรภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ก้าวเดินที่สำคัญเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง

แม้จะมีข้อกล่าวหาและการประกาศที่แข็งกร้าวต่อกันแต่ทั้งรัสเซียและสหรัฐยังคงแสดงความปรารถนาดี ตัวอย่างเช่นเมื่อเร็วๆนี้ สหรัฐได้ลบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการคว่ำบาตรโครงการท่อส่งก๊าซนอร์ด สตรีม 2 (Nord Stream 2) ที่เชื่อมระหว่างรัสเซียกับเยอรมนีออกจากร่างงบประมาณด้านกลาโหมในปีงบประมาณ 2022  ส่วนโฆษกวังเครมลิน   Dmitry Peskov  ได้ยืนยันถึงความจำเป็นที่ต้องทำการสนทนาระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง

บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า ทั้งสหรัฐและรัสเซียต่างมีความต้องการสนทนากัน การที่ผู้นำทั้งสองประเทศอาจเข้าร่วมการประชุมสุดยอด 2 นัดในรอบครึ่งปีเป็นการแสดงให้เห็นถึงสิ่งนี้ โดยเฉพาะสภาวการณ์ปัจจุบันทำให้ความต้องการสนทนาของทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งสำหรับประธานาธิบดี โจ ไบเดนกำลังต้องเผชิญกับแรงกดดันครั้งใหญ่นั้นคือความท้าทายจากจีนเพื่อค้ำประกันความได้เปรียบของพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งรัฐสภาสหรัฐกึ่งวาระปี 2022  ซึ่งการเผชิญหน้ากับรัสเซียอาจทำให้รัสเซียใกล้ชิดจีนมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐในการรับมือจีน

ส่วนสำหรับรัสเซีย การปรับปรุงความสัมพันธ์กับฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐยังคงเป็นเป้าหมายของประธานาธิบดี ปูตินเพื่อเสริมสร้างสถานะและค้ำประกันผลประโยชน์ของรัสเซียในภูมิภาคและโลก ซึ่งจุดยืนนี้ได้รับการแสดงอย่างชัดเจนผ่านความคิดริเริ่มของประธานาธิบดี ปูตินเกี่ยวกับการค้ำประกันความมั่นคง ซึ่งจะได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมครั้งนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด