(VOVWORLD) - ปัญหาผู้อพยพจะเป็นหัวข้อหลักในการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปหรืออียูที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม แต่ก่อนการประชุมได้มีสัญญาณที่บ่งบอกว่า ประเทศสมาชิกยากที่จะบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับปัญหานี้ และดูเหมือนว่า อียูต้องการเวลาเพิ่มอีกเพื่อทำการเจรจา
(Photo: AP) |
ดูเหมือนว่า ปัญหาผู้อพยพเริ่มคลี่คลายลงหลังจากเกิดวิกฤตอย่างรุนแรงในช่วงปี 2015-2016 เมื่อข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับตุรกีและรั้วเลียบตามชายแดนประเทศบอลข่าน ตลอดจนสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างอิตาลีกับลิเบียได้รับการสถาปนา ในทางเป็นจริง ขณะนี้ ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปไม่ได้เกิดวิกฤตเกี่ยวกับจำนวนผู้อพยพ แต่กำลังเกิดวิกฤตเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมือง ปัญหาหลักในปัจจุบันคือความขัดแย้งอย่างหนักกว่าประเทศใดต้องรับผิดชอบต่อเรือขนส่งผุ้อพยพที่เข้าเทียบท่าเรือ ซึ่งมักจะเป็นประเทศในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่นอิตาลี กรีซและสเปน
ขาดความสามัคคีในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพ
ในความพยายามเพื่อลดความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ ผู้นำของ 16 ประเทศจากจำนวนทั้งหมด 28 ประเทศอียูได้จัดการประชุมฉุกเฉินหรือการประชุมสุดยอดจำกัดวง ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน โดยคณะกรรมการยุโรปเป็นผู้เสนอ ซึ่งในตอนแรกมีเพียง 8 ประเทศ ประกอบด้วยฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน ออสเตรีย บัลแกเรีย กรีซและมอลตาเข้าร่วม แต่หลังจากนั้น มีเพิ่มอีก 8 ประเทศเข้าร่วม เช่น เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และสวีเดน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม 4 ประเทศสังกัดกลุ่ม Visegrad ซึ่งอยู่ในยุโรปกลาง ประกอบไปด้วย โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกียได้ปฏิเสธไม่เข้าร่วม เนื่องจากหัวข้อที่ถูกนำมาหารือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้
นอกจากขาดการเข้าร่วมของทุกประเทศสมาชิก ที่น่าเสียดายกว่าก็คือ โอกาสที่หายากเพื่อให้ทุกฝ่ายแสวงหาเสียงพูดเดียวกันในการประชุมสุดยอดจำกัดวงนั้นก็พลาดไปเมื่อที่ประชุมไม่สามารถอนุมัติแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ ถึงแม้ผู้นำของ 16 ประเทศสมาชิกอียูได้แสดงความพอใจกับการหารือระหว่างทุกฝ่าย แต่การประชุมสุดยอดจำกัดวงเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่เนื้อหาของการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปหรืออียูซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายนก็ประสบความล้มเหลว
นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ตำหนิฝ่ายต่างๆที่กำลังฉกฉวยวิกฤตผู้อพยพในยุโรปเพื่อสร้างความตึงเครียดทางการเมือง ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเยอรมนี แองเกลา แมร์เคิล ได้แสดงความประสงค์ที่จะลงนามข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศภูมิลำเนาของผู้อพยพมากขึ้น
จากการที่การประชุมสุดยอดจำกัดวงไม่สามารถลดช่องว่างความขัดแย้งได้ ทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอียูยังเกิดขึ้นต่อไป โดยอิตาลีและมอลตายังคงไม่สามารถบรรลุเสียงพูดเดียวกันหลังจากมอลตาปฏิเสธรับเรือกู้ภัย MV Lifeline ที่มีธงชาติเนเธอร์แลนด์ที่ขนส่งผู้อพยพ โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน รัฐมนตรีคมนาคมอิตาลี Danilo Toninelli ได้เผยว่า มอลตามีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการรับเรือดังกล่าว เพราะไม่มีประเทศใดร่วมประสานงานในการปฏิบัติยุทธศาสตร์กู้ภัยนี้ ในขณะเดียวกัน ทางการมอลตาได้ยืนยันว่า มอลตาคือประเทศที่มีอธิปไตยและไม่มีใครสามารถบังคับให้มอลตาทำในสิ่งที่ไม่เต็มใจ
ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน คำประกาศสนับสนุนการคว่ำบาตรด้านการเงินต่อประเทศสมาชิกอียูที่ปฏิเสธการรับผู้อพยพของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมูนูเอล มาครง ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับอิตาลี โดยรองนายกรัฐมนตรีอิตาลี Luigi Di Maio ได้ออกมาตอบโต้ โดยแสดงความเห็นว่า “อิตาลีกำลังต้องเผชิญกับภารวะเตือนภัยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งคือฝรั่งเศสขับไล่กระแสผู้อพยพในเขตชายแดน ประธานาธิบดี มาครง สามารถทำให้ประเทศฝรั่งเศสกลายเป็นศัตรูอันดับ 1 ของอิตาลีในปัญหานี้”
ผู้อพยพกำลังแสวงหาทางไปยังยุโรป (IHRC) |
ผลงานจากการประชุมสุดยอดอียู
การประชุมสุดยอดอียูที่จะมีขึ้นในปลายสัปดาห์นี้จะเน้นหารือถึงมาตรการผลักดันกระบวนการส่งผู้อพยพที่ต้องแก้ไขเอกสารขอลี้ภัยกลับประเทศ แหล่งข่าวต่างๆระบุว่า ในร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม มีบางเนื้อหาที่บรรดาผู้นำอียูสนับสนุน เช่นการเพิ่มความสามารถให้แก่ศูนย์รับและปกป้องผู้อพยพนอกยุโรป การใช้ระเบียบการเงินและการค้าเพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อประเทศ ต้นทางหรือประเทศที่ผู้อพยพเดินทางผ่านต้องมีมาตรการที่จำเป็นเพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพ ผลักดันความร่วมมือกับกองกำลังตำรวจในเขตชายฝั่งทะเลของลิเบียเพื่อยุติการค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
แต่อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นก่อนการประชุมสำคัญนี้ได้ส่งสัญญาณที่ไร้ความหวังว่า ที่ประชุมจะเสนอมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประเทศต่างๆอนุมัติและปฏิบัติตาม.