การเลือกตั้งในอังกฤษ: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอังกฤษในรอบ 14 ปี

(VOVWORLD) - ด้วยการได้รับเสียงสนับสนุนประมาณร้อยละ 40  พรรคแรงงานอังกฤษได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม และจะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ อันเป็นการยุติการครองอำนาจของพรรคอนุรักษ์นิยมที่ยาวนานมาเป็นเวลา 14 ปี เหตุการณ์นี้อาจบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศของอังกฤษ
การเลือกตั้งในอังกฤษ: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอังกฤษในรอบ 14 ปี - ảnh 1นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ริชิ ซูนัค และภริยา หลังลงคะแนน ณ จุดเลือกตั้งในสภาล่างในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม (Reuters)

ตามผลการนับคะแนนเบื้องต้นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติอังกฤษประกาศเมื่อเช้าวันที่ 5 กรกฎาคมปรากฎว่า พรรคแรงงานได้รับเสียงสนับสนุนประมาณร้อยละ 40 คิดเป็นประมาณ 410 ที่นั่งในสภาล่างอังกฤษอยู่อันดับ 1 ในการเลือกตั้งทั่วไป และสูงกว่าจำนวนที่นั่งที่จำเป็น 326 ที่นั่งเพื่อสามารถจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี ริชิ ซูนัค อยู่อันดับที่ 2 โดยได้รับที่นั่งประมาณ 140 ที่นั่ง ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของพรรคนี้

ผลงานที่ได้รับการคาดการณ์ล่วงหน้า

ผลการเลือกตั้งทั่วไปของอังกฤษไม่สร้างความแปลกใจ เพราะในตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอังกฤษทุกรอบได้ปรากฎว่า พรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านจะได้รับชัยชนะเหนือพรรคอนุรักษ์นิยมในการเลือกตั้งทั่วไป โดยผู้สังเกตการณ์ระบุว่า สาเหตุของเรื่องนี้คือความอ่อนแอของพรรคอนุรักษ์นิยมในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา โดยเริ่มจากสมัยนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน ที่จัดการลงประชามติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือ ซึ่งเรียกว่าBrexit เมื่อปี 2016 ซึ่งทำให้อังกฤษตกเข้าสู่ผลกระทบอย่างต่อเนื่อง นั่นคือปัญหาความสัมพันธ์ที่แตกสลายกับสหภาพยุโรป ความเสียหายครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจ และการแย่งชิงอำนาจเพื่อเป็นผู้นำพรรคจนทำให้อังกฤษต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 4 คนภายใน 3 ปี

การที่ต้องทุ่มเทพลังรวมทั้งชื่อเสียงทางการเมืองมากเกินไป ต่อปัญหา Brexit และการเจรจาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 3 ปีกับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับข้อตกลงหลัง Brexit ได้ทำให้ความสามารถในการดำเนินงานของรัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยมอ่อนแอลง นอกจากนี้ การรับมือโรคระบาดที่ไม่มีประสิทธิภาพและเรื่องอื้อฉาวส่วนตัวในช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 ในสมัยนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน และยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้องในสมัยของนายกรัฐมนตรี ลิซ ทรัส ก็ทำให้ชื่อเสียงของพรรคอนุรักษ์นิยมลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษจนทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอังกฤษหันมาสนับสนุนพรรคแรงงานฝ่ายค้าน ถึงแม้ว่าพรรคแรงงานเองก็ประสบปัญหาภายในและนโยบายการบริหารที่ประสบภาวะชะงักงันภายใต้การนำของนาย เจเรมี คอร์บิน ในช่วงปี 2015-2020  ซึ่งศาสตราจารย์ Mark Shanahan จากมหาวิทยาลัย Surrey ประเทศอังกฤษแสดงความเห็นว่า

“ผมไม่คิดว่า พรรคแรงงานได้มีความคืบหน้าอย่างน่าทึ่ง แต่คิดว่า พรรคอนุรักษ์นิยมอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัดและสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือเราได้เดินมาถึงจุดสิ้นสุดของการบริหารประเทศของพรรคอนุรักษ์นิยมในตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยนาย เดวิด คาเมรอน นาง เทเรซา เมย์ นาย บอริส จอห์นสัน นาง ลิซ ทรัส และนาย ซูนัค แต่สิ่งต่างๆ ก็ไม่ดีขึ้น ดังนั้น ชาวอังกฤษจึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง”

เช่นเดียวกับความเห็นนี้ นาย Tim Bale ศาสตราจารย์ด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัย Queen Mary ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษได้แสดงความเห็นว่า นาย ริชี ซูนัค ได้สืบทอดผลงานเชิงลบจากผู้นำรุ่นก่อนของพรรคอนุรักษ์นิยมเมื่อนาย บอริส จอห์นสัน ได้ทำลายชื่อเสียงของพรรคอนุรักษ์นิยมในเรื่องความสามัคคีและความซื่อสัตย์สุจริตเพราะเรื่องอื้อฉาวของรัฐบาลในการจัดงานปาร์ตี้ที่ถนนดาวน์นิงในช่วงทั่วโลกต้องป้องกันโควิด-19อย่างเข้มงวด ในขณะที่นาง ลิซ ทรัส ทำลายชื่อเสียงด้านความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของพรรคฯด้วยนโยบายการเงินที่ต้องตกใจและถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งเพียง 50 วัน ตามความเห็นของนาย Tim Bale นอกจากการได้รับประโยชน์จากจุดอ่อนของพรรคอนุรักษ์นิยมแล้ว พรรคแรงงานยังได้รับการสนับสนุนแบบไม่คาดคิดจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของพรรคแห่งชาติสกอตแลนด์หรือ SNP เมื่อพรรคการเมืองนี้เผชิญวิกฤตภายในในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา

การเลือกตั้งในอังกฤษ: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอังกฤษในรอบ 14 ปี - ảnh 2นาย Keir Starmer ผู้นำพรรคแรงงานอังกฤษในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ณ  Clay Cross เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม (Reuters)

อังกฤษจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สำหรับพรรคแรงงาน ชัยชนะในการเลือกตั้งปีนี้ถือเป็นหนึ่งในชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของพรรค ช่วยให้พรรคแรงงานกลับมาครองอำนาจอีกครั้ง ด้วยการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่เน้นถึงสโลแกนเดียวคือ “การเปลี่ยนแปลง” ที่พรรคแรงงานได้ให้คำมั่นว่า จะปฏิบัตินโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงอังกฤษอย่างรอบด้าน นาย เคียร์ สตาร์เมอร์ ผู้นำพรรคแรงงานซึ่งจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยต่อไปได้ประกาศว่า

“ประชาชนทั่วประเทศอังกฤษได้แสดงความเห็น และพวกเขาพร้อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อยุติแนวทางการบริหารการเมืองเชิงผลงานและการกลับไปสู่แนวทางการเมืองเพื่อรับใช้ประชาชน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ลงคะแนนเลือกแล้ว และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องดำเนินการ”

ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ ภารกิจของรัฐบาลชุดใหม่ของพรรคแรงงานในเวลาที่จะถึงไม่ใช่เรื่องง่ายในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาต้องเผชิญกับภาวะถดถอย ค่าครองชีพที่ทำให้หลายครอบครัวประสบความยากลำบากและบริการสาธารณะตกเข้าสู่ภาวะวิกฤติ นาย แมทธิว จอห์นสัน ศาสตราจารย์ด้านนโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัยนอร์ธัมเบรียในเมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษเผยว่า การวิจัยที่ดำเนินการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศอังกฤษได้แสดงให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอังกฤษร้อยละ 65-75 ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายในปัญหาต่างๆ เช่น การปฏิรูประบบสาธารณสุข สวัสดิการสังคม ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านพลังงาน การปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเป็นศูนย์ แต่ยังคงปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของแรงงานและรายได้ขั้นพื้นฐาน ดังนั้น แรงกดดันต่อพรรคแรงงานในเวลาที่จะถึงก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

“สิ่งที่เราน่าจะเห็นในปีหน้าคือ รัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีปฏิบัติการที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบายดังกล่าวเพื่อได้รับการสนับสนุนจากประชาชนต่อไป การไม่ทำอะไรเป็นไปไม่ได้ในสมัยต่อไปของสภาล่าง ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่จะต้องมีปฏิบัติการ”

ในด้านนโยบายต่างประเทศ รัฐบาลชุดใหม่ของพรรคแรงงานอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในการพบปะกับสื่อมวลชนต่างประเทศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นาย David Lammy ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษในอนาคตอันใกล้นี้ได้เผยว่า รัฐบาลของพรรคแรงงานจะปฏิบัติ “การเปลี่ยนแปลงใหม่ใน 3 ด้าน” ในนโยบายต่างประเทศของอังกฤษ ได้แก่ การปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปโดยมีพื้นฐานคือสนธิสัญญาความมั่นคงฉบับใหม่ระหว่างอังกฤษกับสหภาพยุโรป การปฏิรูปนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อให้อังกฤษเป็นผู้เดินหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสภาพภูมิอากาศ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับประเทศซีกโลกใต้และประเทศมหาอำนาจระดับกลางของโลกอีกครั้งในสภาวการณ์ที่โลกนับวันแบ่งออกเป็นหลายขั้วมากขึ้น และบทบาทของอังกฤษในโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด