ข้อตกลงการค้าเสรีสร้างพลังขับเคลื่อนการพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจสมาชิกเอเปก
Hong Van- Anh Huyen - Hanh -  
(VOVWORLD) - การสนทนาของเอเปกเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ณ นครโฮจิมินห์ ในการประชุม เศรษฐกิจสมาชิกได้กำหนดว่า การผลักดันการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคที่กว้างลึกคือเนื้อหาหลักของความร่วมมือของเอเปก รวมทั้งการผลักดันข้อตกลงการค้าภูมิภาค ข้อตกลงการค้าเสรีและมุ่งสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอเอพี
นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกล่าวปราศรัยในการประชุม (vietnamplus) |
ในตลอดเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ข้อตกลงการค้าเสรีภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีในภูมิภาคเอเปก ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของข้อตกลงการค้าเสรีในทั่วโลกได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งทั้งด้านปริมาณและขอบเขต ปัจจุบัน สมาชิกของเอเปกได้เข้าร่วมข้อตกลงการค้าภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีหรือ RTA/FTA 165 ฉบับ รวมทั้งข้อตกลงระหว่างสมาชิกเอเปก 62 ฉบับและนับวันยิ่งมีข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ที่ได้รับการเจรจาและลงนามในภูมิภาค โดยเน้นถึงปัญหาการค้าและการลงทุน ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังข้ามแดนและกำแพงกีดกันด้านภาษี
ผลกระทบในเชิงบวกของข้อตกลงการค้าเสรีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจและการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและโลกมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าในภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีอย่างเต็มที่มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆได้นำผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงตลาด การดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลต่อการปฏิรูประเบียบการและธรรมเนียบปฏิบัติภายในประเทศ จากผลในเชิงบวกของข้อตกลงการค้าเสรี การทำธุรกรรมภายในกลุ่มเอเปกได้มีการขยายตัว 274% จาก 2 ล้าน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2000 ขึ้นเป็น 6 ล้าน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2016 ศาสตราจารย์ Jeff Schott จากสถาบันเศรษฐกิจระหว่างประเทศ Peterson ของสหรัฐได้ประเมินว่า “ผมคิดว่า ข้อตกลงการค้าในภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีที่เศรษฐกิจสมาชิกเอเปกเข้าร่วมมีความรอบด้านและสมบูรณ์ นโยบายด้านเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับการหารือ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะนี่คือพื้นฐานให้แก่การพัฒนาของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจสมาชิกเอเปกหารือกันจะสามารถเสนอนโยบายและการปฏิรูปที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนา”
นาง Marie Sherylyn Aquia ประธานคณะกรรมการการค้าและการลงทุนเอเปกได้แสดงความเห็นว่า “เศรษฐกิจสมาชิกเอเปกกำลังเป็นส่วนสำคัญของข้อตกลงการค้าภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรี ประเทศเหล่านี้ประยุกต์ใช้และเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอหลายฉบับ โดยเฉพาะการสนทนาเกี่ยวกับนโยบาย ดิฉันเห็นว่า เวียดนามมีแผนการในระยะยาวและพยายามเป็นอย่างมากในการผสมผสานและร่วมมือกับเศรษฐกิจอื่นๆ”
เวียดนามเดินหน้าผลักดันการเจรจา ลงนามและปฏิบัติข้อตกลง FTA/RTA
ข้อตกลงการค้าเสรีนำผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ให้แก่การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงตลาด การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศหรือเอฟดีไอและการปฏิรูปกลไกภายในประเทศ แต่ในสถานการณ์ของเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลกในปัจจุบัน บวกกับผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป้าหมายของเอเปกคือต้องทำเช่นไรเพื่อใช้ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคมจากข้อตกลงเอฟทีเออย่างเต็มที่ ลดผลกระทบในทางลบจากค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและปัญหาความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มสูงขึ้น นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงความเห็นว่า เวียดนามได้เจรจากับประเทศต่างๆเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าฉบับต่างๆ ซึ่งอุปสรรคของเวียดนามคือกำลังอยู่ในระดับการพัฒนาของประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยปานกลาง ดังนั้นในการเจรจา เวียดนามได้เสนอหลักการต่างๆเช่นการปฏิบัติพิเศษและความแตกต่างพิเศษต่อเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในระยะเปิดประเทศ การเปลี่ยนผ่านและการเข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ “หลักการนี้ของเวียดนามเมื่อเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีได้รับความเห็นพ้องจากเศรษฐกิจที่พัฒนากว่า ดังนั้น ในข้อตกลงการค้าของเวียดนามมีกระบวนการและกรอบเวลาเพื่อให้สถานประกอบการและท้องถิ่นต่างๆมีเวลาปรับปรุงและเข้าร่วมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”
นาย Robert Holleyman สมาชิกของคณะผู้แทนสหรัฐได้แสดงความเห็นว่า สำหรับเวียดนาม ข้อตกลงที่ได้ลงนามและมีผลบังคับใช้ในเวลาที่ผ่านมาได้ช่วยให้สถานประกอบการนำเข้าและส่งออกของเวียดนามแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศที่สะดวกมากขึ้น สร้างงานทำให้แก่แรงงานและดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามมากขึ้น “โอกาสและความท้าทายของเวียดนามในการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าคือเวียดนามมีเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง ซึ่งสามารถเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้ มีโอกาสมากมายให้แก่งานทำ ดึงดูดการลงทุน พัฒนาเศรษฐกิจและสามารถกลายเป็นเศรษฐกิจพัฒนาชั้นนำ”
การผลักดันการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจภูมิภาคที่กว้างลึกคือเนื้อหาหลักในความร่วมมือของเอเปก ซึ่งในนั้นที่ขาดไม่ได้คือบทบาทของข้อตกลงการค้าภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรี การปฏิบัติรูปแบบการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจนี้อย่างมีประสิทธิภาพได้ค่อยๆแปรเป้าหมายโบกอร์ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับการอนุมัติในการประชุมสุดยอดเอเปกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1994 เกี่ยวกับการค้าเสรีและการลงทุนภายในปี 2020 ตลอดจนการกำหนดอนาคตของเอเปกเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอทีเอเอพี.
Hong Van- Anh Huyen - Hanh