(VOVWORLD) - แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออกที่ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศสหรัฐ หรือ CSIS ประกาศเมื่อปลายปี 2017 คือกลไกส่งเสริมการบริหารร่วมและการรักษาเสถียรภาพในทะเลตะวันออกและเป็นโครงการวิจัยแรกของบรรดาผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเพื่อจัดทำรูปแบบความร่วมมือในการควบคุมปัญหาการพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกร้องอธิปไตยในทะเลตะวันออก ในรายการวิเคราะห์สถานการณ์วันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำโครงการวิจัยดังกล่าวผ่านบทความเรื่อง “ความร่วมมือในการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก”
(Photo: vietnamnet) |
แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออกที่จัดทำโดยองค์การข้อคิดริเริ่มโปร่งใสในการเดินเรือเอเชียระบุถึงการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยชาญจากประเทศต่างๆในภูมิภาคที่มีองค์ความรู้ด้านกฎหมาย นโยบายและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบ หลักปฏิบัติต่อกันในการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก
ทุกประเทศต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล
รายงานจากสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ทะเลตะวันออกระบุว่า ทะเลตะวันออกคือ 1 ในเขตจับสัตว์น้ำ 5 แห่งที่มีปริมาณการจับสัตว์น้ำสูงที่สุดคือ คิดเป็นร้อยละ12 ของยอดปริมาณการจับสัตว์น้ำในโลกในปี 2015 และมีเรือประมงครึ่งหนึ่งของโลก จับปลาในเขตทะเลนี้ ดังนั้น ทุกประเทศในภูมิภาค แม้จะมีหรือไม่มีการเรียกร้องอธิปไตยในทะเลตะวันออก ต่างต้องมีความรับผิดชอบในการร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำตามที่ได้ระบุในแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก
นาย Gregory Poling ผู้อำนวยการองค์การข้อคิดริเริ่มโปร่งใสในการเดินเรือเอเชียสังกัดศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศสหรัฐ หรือ CSIS ได้เผยว่า การกำหนดความรับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือในการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก ซึ่งแตกต่างกับการขุดเจาะน้ำมันและปิโตรเลี่ยมที่ต้องมีสิทธิในอธิปไตยของประเทศริมฝั่งทะเล โดยประเทศต่างๆในทะเลตะวันออกสามารถร่วมมือปกป้องทรัพยากรทางทะเลและบริหารแหล่งปลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการประกาศอธิปไตยเหนือเขตทะเลที่ทับซ้อนกัน
“ในด้านการเมือง นี่คือแผนการที่สามารถปฏิบัติได้เพราะไม่ได้ระบุถึงปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตย การที่ฝ่ายต่างๆที่ประกาศอธิปไตยในทะเลตะวันออกเข้าร่วมแผนการดังกล่าวไม่ได้หมายถึงการยอมประนีประนอมกัน การยุติการประกาศอธิปไตยและการรับรองอธิปไตย หรือ คำประกาศอธิปไตยของประเทศอื่นๆเพราะแผนการดังกล่าวเน้นถึงความร่วมมือในการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก”
มาตราที่ 123 ของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล หรือ UNCLOS ระบุว่า ประเทศต่างๆในทะเลตะวันออกมีความรับผิดชอบร่วมกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำเพราะทรัพยากรทางทะเลสามารถเคลื่อนย้ายไปยังเขตทะเลต่างๆได้อย่างเสรี ส่วนมาตราที่ 192 ของ UNCLOS ก็ระบุถึงความรับผิดชอบของประเทศต่างๆในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลเช่นกัน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลผ่านความร่วมมือพหุภาคี
ทั้งนี้ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับความร่วมมือบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจนในเอกสารทางกฎหมายสอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์ที่เป็นจริงเพราะชาวประมงของประเทศต่างๆในทะเลตะวันออกพึ่งพาทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นหลักเนื่องจากเกี่ยวข้องถึงปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและการทำมาหากินของประชาชน
แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจับสัตว์น้ำที่ลดลงในภูมิภาคในหลายปีมานี้เนื่องมาจากการจับสัตว์น้ำที่มากเกินไปและการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อเป้าหมายต่างๆ ซึ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลผ่านความร่วมมือพหุภาคีในเขตทะเลที่มีการพิพาทคือแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตามที่ได้ระบุในแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออกของ CSIS นาย Poling ผู้อำนวยการองค์การข้อคิดริเริ่มโปร่งใสในการเดินเรือเอเชียสังกัดศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศสหรัฐ หรือ CSIS เผยต่อไปว่า
“ถ้าหากเราเพียงแค่สนใจการแก้ไขปัญหาการพิพาท ก็มีสองทางเลือกคือหนึ่งต้องรอการแก้ไขปัญหานี้ให้แล้วเสร็จถึงจะหารือเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก และสองคือ ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตย ต้องมีปฏิบัติการต่างๆทันทีเพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำและปัญหาสิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออก”
ความคิดริเริ่มแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทะเลตะวันออกของ CSIS ระบุว่า ประเทศต่างๆในภูมิภาคต้องเร่งจัดตั้งเขตบริหารสิ่งแวดล้อมและอาชีพประมงในทะเลตะวันออก กำหนดความรับผิดชอบของฝ่ายต่างๆ เช่น ประเทศที่เรียกร้องอธิปไตยในทะเลตะวันออกต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและป้องปรามเรือประมงที่ละเมิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการจำกัดการจับสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ทุกประเทศต้องหลีกเลี่ยงปฏิบัติการที่อาจทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การซ่อมแซม หรือ ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนเกาะและแนวปะการังที่ไม่มีประเทศใดบริหาร และต้องมีแผนความร่วมมือวิจัยทางทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ.