ความลับเบื้องหลังการเยือนวอชิงตันของนายกฯอิสราเอล

(VOVworld)-วันที่3มีนาคมนายกฯอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมของสภาคองเกรสโดยแสดงความวิตกกังวลของ อิสราเอลต่อข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ สหรัฐและพันธมิตรกำลังพยายามผลักดันการเจรจา ซึ่งแม้การเยือนสหรัฐจะไม่ได้รับการต้อนรับจากทำเนียบขาวแต่นายกฯอิสราเอลก็ มุ่งมั่นปฏิบัติเพื่อวางพื้นฐานให้แก่ก้าวเดินต่อไปก่อนการเลือกตั้ง อิสราเอลในวันที่17มีนาคมนี้

(VOVworld)-วันที่3มีนาคมนายกฯอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมของสภาคองเกรสโดยแสดงความวิตกกังวลของอิสราเอลต่อข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่สหรัฐและพันธมิตรกำลังพยายามผลักดันการเจรจา ซึ่งแม้การเยือนสหรัฐจะไม่ได้รับการต้อนรับจากทำเนียบขาวแต่นายกฯอิสราเอลก็มุ่งมั่นปฏิบัติเพื่อวางพื้นฐานให้แก่ก้าวเดินต่อไปก่อนการเลือกตั้งอิสราเอลในวันที่17มีนาคมนี้

ความลับเบื้องหลังการเยือนวอชิงตันของนายกฯอิสราเอล - ảnh 1
นายกฯเบนจามิน เนทันยาฮู-ประธานาธิบดีบารักโอบามา(pnn.ps)

นายกฯอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ได้เดินทางถึงสหรัฐเมื่อวันที่1มีนาคมตามคำเชิญของประธานสภาผู้แทนราษฎร จอห์นโบห์เนอร์ จากพรรครีพับลิกัน มิใช่ตามคำเชิญอย่างเป็นทางการของทำเนียบขาว โดยก่อนเดินทาง นายเนทันยาฮูได้กล่าวยืนยันว่าเขาเดินทางไปเยือนวอชิงตันพร้อมหน้าที่ทางประวัติศาสตร์คือเร่งรัดให้รัฐสภาสหรัฐอนุมัติมาตรการคว่ำบาตรใหม่ต่ออิหร่าน การเยือนนี้มีขึ้นก่อนถึงกำหนดการวางข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านเพียง4สัปดาห์ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุความตกลงทางเทคนิคอย่างช้าที่สุดคือวันที่30มิถุนายนนี้

ทำเนียบขาวไม่เปิดไฟเขียว

แต่ทั้งนี้ สิ่งที่แน่นอนก็คือทั้งประธานาธิบดีบารักโอบามาและรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจอห์นแคร์รีต่างไม่มีแผนที่จะพบปะกับนายกฯอิสราเอลโดยเหตุผลที่ทางทำเนียบขาวได้อ้างคือตามระเบียบการ ผู้นำสหรัฐจะไม่มีการพบปะกับผู้นำต่างชาติก่อนการเลือกตั้งของประเทศนั้น ซึ่งนายโอบามายังได้กล่าวตำหนิการเยือนสหรัฐอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้ของนายเนทันยาฮูว่าเป็นการละเมิดหลักการณ์พื้นฐานในความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ในขณะเดียวกัน รองประธานาธิบดีโจ ไบเดนก็จะไม่ปรากฎตัวในการอภิปรายต่อที่ประชุมสภาคองเกรสเหมือนที่ต้องปฏิบัติตามทำเนียมเมื่อมีผู้นำต่างชาติขึ้นกล่าวปราศรัยในสภา  ซึ่งที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ ซูซานไรซ์ก็ได้ตำหนินาย จอห์น โบห์เนอร์ที่เชิญนายกฯเนทันยาฮูขึ้นกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาสหรัฐในขณะที่เหลือเวลาเพียงสองสัปดาห์จะถึงการเลือกตั้งทั่วไปของอิสราเอลว่าเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์พันธมิตรที่แน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ ส่วนโฆษกทำเนียบขาวได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและสหรัฐไม่อาจลดระดับมาอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคลิคุดของอิสราเอลและพรรครีพับลิกันของสหรัฐ

ก้าวเดินเพื่อเป้าหมายทางการเมือง

ทางฝ่ายนายกฯอิสราเอลนั้นดูเหมือนได้เตรียมตัวรับท่าทีของทางทำเนียบขาวไว้ก่อนแล้วและสำหรับเขาเองสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คือการโน้มน้าวประชามติก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่17มีนาคมนี้เพราะสถานการณ์ที่เป็นจริงได้ปรากฎให้เห็นว่าในช่วงใกล้การเลือกตั้ง วิธีการที่นายเนทันยาฮูใช้รับมือกับคู่แข่งคือนาย ไอแซก เฮอร์ซอค จากพรรคแรงงานคือการรณรงค์ที่มุ่งหันเหความสนใจของประชามติไปยังปัญหาระหว่างประเทศแทนที่จะสนใจในปัญหาทางเศรษฐกิจและนโยบายภายในประเทศที่ถือเป็นอุปสรรคของตน ดังนั้นการใช้ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านคือแนวทางที่ดีเพราะอิหร่านถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามโดยตรงทั้งเฉพาะหน้าและในระยะยาวต่อความมั่นคงของอิสราเอลมานานแล้ว โดยนายเนทันยาฮูคือผู้ที่ตำหนิการเจรจากับอิหร่านอย่างต่อเนื่องเพราะเห็นว่าในการเจรจาเมื่อเร็วๆนี้สหรัฐได้มีความโอนอ่อนผ่อนตามมากเกินไปในขณะที่เตหะรานยังแสดงความทะเยอทะยานในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์และสิ่งนี้ไม่เพียงแต่คุกคามความมั่นคงของอิสราเอลเท่านั้นหากยังสร้างความไร้เสถียรภาพให้แก่สถานการณ์ในตะวันออกกลางและโลกอีกด้วย ซึ่งก่อนการขึ้นกล่าวปราศรัย ณ สภาคองเกรส นายเนทันยาฮูได้กล่าวปราศรัยต่อคณะกรรมการปัญหาร่วมระหว่างสหรัฐ-อิสราเอลซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์ที่นิยมอิสราเอลในวอชิงตันโดยได้แสดงความกังวลว่าความพยายามแสวงหาข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านของประธานาธิบดีโอบามาเป็นการคุกคามต่อการคงอยู่ของประเทศอิสราเอล

เหตุผลประการที่สองที่นายเนทันยาฮูได้ตัดสินใจขึ้นกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาสหรัฐคือเพราะประชาชนอิสราเอลอยากเห็นนายกฯของตนแสดงจุดยืนที่เข้มแข็งของอิสราเอลต่อสส.สหรัฐดังนั้นความสำเร็จในการกล่าวปราศรัยต่อสภาคองเกรสสหรัฐก็มีความหมายเท่ากับการสร้างความสำเร็จร้อยละ50ให้แก่การหาเสียงของเขาในบ้านเกิด

ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและอิสราเอลได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญในเวทีการเมืองของทั้งสองประเทศเพราะอิสราเอลคือพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐในตะวันออกกลาง ซึ่งถึงแม้นายเนทันยาฮูได้กล่าวในการประชุมของคณะกรรมการปัญหาร่วมระหว่างสหรัฐ-อิสราเอลว่า พันธมิตรสหรัฐ-อิสราเอลกำลังมีความแน่นแฟ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนและจะพัฒนาต่อไป ส่วนทางทำเนียบขาวได้ปฏิเสธข่าวที่ว่าจะตัดการอุปถัมภ์ให้แก่อิสราเอล แต่ความจริงที่ปรากฎให้เห็นได้แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายกำลังมีความขัดแย้งและการเยือนที่แฝงเป้าหมายทางการเมืองต่างๆของนายกฯเนทันยาฮูในครั้งนี้มีแต่จะทำให้ความขัดแย้งนั้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด