(VOVWORLD) - การสัมมนาระหว่างประเทศครั้งที่ 13 เกี่ยวกับทะเลตะวันออกที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อเร็วๆนี้ เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งสามารถชี้ให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออก ช่วยส่งเสริมการสนทนา ควบคุมความขัดแย้งและเชิดชูการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายสร้างสรรค์ทะเลตะวันออกที่สันติภาพและเสถียรภาพ ที่น่าสนใจคือ ในการสัมมนานี้ นักวิชาการนานาชาติบางคนได้เปิดเผยข้อมูลประวัติศาสตร์ใหม่ที่ยืนยันว่า "จีนไม่มีอธิปไตยในทะเลตะวันออก"
บรรดาผู้แทนหารือนอกรอบการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออก (baoquocte.vn) |
บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศได้อภิปรายอย่างตรงไปตรงมาและจริงจังเกี่ยวกับเหตุการณ์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทในทะเลตะวันและความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ที่มีต่ออธิปไตยเหนือหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์และหว่างซาหรือพาราเซลของเวียดนาม
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยอิสระชาวจีน Carl Zha ได้เผยถึงทัศนะเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "หลักฐานทางประวัติศาสตร์" ของจีน ว่า จีนได้ปรากฏตัวและประกาศอธิปไตยเหนือหมู่เกาะต่างๆในทะเลตะวันออกตั้งแต่หลายศตวรรษก่อน แต่ทัศนะนี้ก็ถูกนักวิชาการต่างชาติปฏิเสธทันทีโดยในข้อมูลใหม่เป็นผลจากการวิจัยเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกประกาศในการสัมมนาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า จนถึงปี 1899 ราชวงศ์ศักดินาของจีนยังคงยืนยันว่า เจื่องซาหรือสเปรตลีย์และหว่างซาหรือพาราเซลไม่ได้อยู่ภายใต้เขตการบริหารของจีน ในขณะที่ตามบันทึกของอาจารย์เซนชาวจีนที่มีชื่อเสียง Xu Shillun (ชูชิลิน ) ยืนยันว่า หมู่เกาะสเปรตลีย์และพาราเซลอยู่ภายใต้การบริหารของราชวงศ์เหงียน ประเทศเวียดนาม
นาย บิล เฮย์ตัน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส โครงการเอเชีย-แปซิฟิกจากสถาบันชาแธมเฮาส์อังกฤษได้แสดงความเห็นว่า มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ 2 เหตุการณ์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า จีนไม่มีสิทธิอธิปไตยที่กว้างขวางในทะเลตะวันออกตามที่จีนประกาศ โดยเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปี 1884 เรือลำหนึ่งของญี่ปุ่นอับปางในพื้นที่แนวปะการังบอมเบย์ (Bombay) สังกัดกลุ่มเกาะอานหวิงของหมู่เกาะหว่างซาหรือสเปรตลีย์ ซึ่งทางการจีนในช่วงนั้นได้ปฏิเสธจ่ายค่าชดเชยเพราะอ้างว่านี่มิใช่เขตน่านน้ำของจีน เหตุการณ์ที่ 2 คือเรือบรรทุกทองแดงเบลโลน่าของเยอรมันอับปางในเขตทะเลหมู่เหาะหว่างซาหรือพาราเซล แต่จีนก็ออกมายืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกันเพราะเหตุเรืออับปางเกิดขึ้นในเขตทะเลลึก - ซึ่งอยู่ห่างไกลจากจีน นาย บิล เฮย์ตัน ยืนยันว่า
“เราสามารถยืนยันว่าก่อนปี 1909 ทางการจีนไม่เคยออกมายืนยันอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซล ถึงแม้ว่าได้มีการค้าขายที่นี่ แต่จีนไม่เคยยืนยันอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับการควบคุมหมู่เกาะแห่งนี้มาจนถึงช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเหตุการณ์ต่างๆดังกล่าว ทางการจีนได้ปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งหมด รวมถึงความเกี่ยวข้องกับหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซล”
บรรดาผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนา (baoquocte.vn) |
นักวิจัย บิล เฮย์ตัน ยังยืนยันอีกครั้งว่า จากข้อมูลที่เขารวบรวมได้ก็สามารถยืนยันว่า ราชวงศ์เหงยนของเวียดนามได้ปรากฎตัวในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 ต่อจากนั้นคือการปรากฎตัวของทางการอังกฤษเมื่อปี 1870 และทางการฝรั่งเศสเมื่อปี 1933 ส่วนจีนไม่เคยประกาศอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ตั้งแต่หลายศตวรรษก่อนจนถึงปี 1948 ซึ่ง ตรงกันข้ามกับคำประกาศที่ไม่มีข้อมูลอ้างอิงความถูกต้องที่ฝ่ายจีนเสนอ
ในขณะเดียวกัน ดร. หวูหายดัง นักวิจัยอาวุโสของศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ได้ยืนยันว่า ในช่วงปี 1950 ของศตวรรษก่อน ทางการฝรั่งเศสและหลังจากนั้นคือรัฐบาลของสาธารณรัฐเวียดนามคือฝ่ายควบคุมหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา โดยเวียดนามเป็นประเทศแรกที่ประกาศอธิปไตยและเป็นประเทศเดียวที่บริหารหว่างซาและเจื่องซาอย่างต่อเนื่องตามกฎหมายระหว่างประเทศ
“เวียดนามได้ยืนยันอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาและพาราเซลตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 โดยในช่วงเวลานั้น กษัตริย์ในรางวงศ์เหงียนได้สั่งให้ดำเนินกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและก่อสร้างกิจการต่างๆบนเกาะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้ตั้งกองกำลังบนเกาะเพื่อช่วยเรือที่ผ่านเขตนี้หลบพายุและ ปกป้องความปลอดภัยและยังมีการเก็บภาษีสำหรับเรือเหล่านี้ด้วย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้ถูกบันทึกในเอกสารอย่างเป็นทางการของเวียดนาม หลังจากนั้น ในช่วงที่เวียดนามกลายเป็นเมืองขึ้นของนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศส พวกเขาก็ได้ขยายการก่อสร้างกิจการต่างๆบนเกาะ หลังจากสามารถเอาชนะนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสและยึดคืนอำนาจการบริหารประเทศ เวียดนามก็ยังคงยืนยันอธิปไตยเหนือหว่างซาและเจื่องซา เมื่อจีนตั้งใจจะเข้ายึดหมู่เกาะสองแห่งนี้ เวียดนามก็ทำการต่อสู้ และเมื่อจีนยึดครองหว่างซาและเจื่องซาอย่างผิดกฎหมาย เวียดนามได้ยื่นเรื่องนี้ต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อเวียดนามได้รวมประเทศเป็นเอกภาพ รัฐบาลเวียดนามยังคงก่อสร้างกิจการต่างๆรวมทั้งโรงเรียน บ้านเรือนและวัดวาอาราม พยายามรักษาสันติภาพและยืนยันอธิปไตยเหนือเขตทะเลนี้ต่อไป และได้มีเด็กหลายคนเกิดและเติบโตในหมู่เกาะแห่งนี้”
ในการอภิปรายภายใต้หัวข้อ "ต้องยุติธรรมกับความจริง: ประวัติศาสตร์และทะเลตะวันออก" ศาสตราจารย์ Monique Chemillier-Gendreau จากมหาวิทยาลัย Diderot Paris ประเทศฝรั่งเศสได้เผยว่า สนธิสัญญาซานฟรานซิสโกปี 1951 และสนธิสัญญาสันติภาพจีน-ญี่ปุ่นปี 1952 ไม่มีการระบุการยอมรับอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะหว่างซาและหมู่เกาะเจื่องซา แต่ได้ระบุยอมรับการประกาศอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งนี้
ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ใหม่เหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างความกระจ่างแจ้งให้แก่ความจริงทางประวัติศาสตร์และเป็นพื้นฐานเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างสรรค์ทะเลตะวันออกให้กลายเป็นเขตทะเลแห่งสันติภาพและความร่วมมือเพื่อมิตรภาพระหว่างประเทศ.