(VOVWORLD) - การประชุมทั่วประเทศสรุป 20 ปีการปฏิบัติตามมติที่ 13 ของส่วนกลางเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมและ 10 ปีการบังคับใช้กฎหมายสหกรณ์ปี 2012 ผ่านทางออนไลน์ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ปี 2022 ณ กรุงฮานอย นี่เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมและสหกรณ์ของเวียดนามในระยะใหม่
ภาพการประชุม (VNA) |
ตามรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เหงียนชี้หยุง รองหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำ ภายหลัง 20 ปีของการดำเนินการตามมติที่ 13 ของส่วนกลาง พร้อมกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงใหม่เศรษฐกิจและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมได้ผ่านระยะพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งความสะดวก อุปสรรคและความท้าทาย
บทบาทที่สำคัญของเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวม
เศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมมีรูปแบบองค์กรเศรษฐกิจร่วมมือที่หลากหลาย โดยสหกรณ์เป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งได้แก้ไขจุดอ่อนและเปลี่ยนแปลงใหม่จนมีความผูกพันกับกลไกตลาด ซึ่งในเบื้องต้นได้ยืนยันว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ค้ำประกันการรักษาสวัสดิการสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมปี 2021 ทั้งประเทศมีสหกรณ์กว่า 27,000 แห่ง เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2001 และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับปี 2013 ภาคสหกรณ์ดึงดูดสมาชิกได้เกือบ 6 ล้านคนและสร้างงานทำให้แก่คนงานประมาณ 1 ล้านคน รายได้และกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ตามข้อมูลล่าสุด เมื่อปี 2020 รายได้เฉลี่ยของสหกรณ์แต่ละแห่งบรรลุ 4.3 พันล้านด่ง กำไรเฉลี่ยอยู่ที่ 314 ล้านด่งต่อสหกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 และ 88 ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 2013 ในหลายปีมานี้ รายได้เฉลี่ยของผู้ที่ทำงานในสหกรณ์เพิ่มขึ้นและช่องว่างรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการอื่นๆ คือจาก 44.6 ล้านด่งต่อคนในปี 2017 เป็น 52.8 ล้านด่งต่อคนในปี 2019
ในสภาวการณ์ที่การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 กำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็ง บวกกับการมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งต่อกระบวนการโลกาภิวัตน์และการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกด้วยคำมั่นในการเปิดตลาดการค้า บริการและการลงทุนตามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคีได้สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายต่อเศรษฐกิจแบบหมู่คณะและสหกรณ์ ดังนั้นการเสนอนโยบาย 5 กลุ่มเพื่อมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจแบบหมู่คณะที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและยั่งยืนเป็นปัจจัยที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนามอย่างแท้จริง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เหงียนชี้หยุง (VNA) |
นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวม5 กลุ่ม
สำหรับ5กลุ่มนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมนั้น กลุ่มนโยบายแรกคือการปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะของสหกรณ์ให้มีความสมบูรณ์ โดยขยายสมาชิกที่เข้าร่วมสหกรณ์ เช่นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คนพิการ คนที่ไม่ได้พำนักในเวียดนาม สถานประกอบการ กลุ่มสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ข้าราชการ มีการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส รวมไปถึงเนื้อหา วิธีการและระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่สมาชิกและสำนักงานที่เกี่ยวข้อง นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรายงาน การให้ข้อมูลอย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพิ่มความโปร่งใสและปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก
กลุ่มนโยบายที่ 2 คือการปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับรูปแบบองค์กรเศรษฐกิจสหกรณ์และผู้แทนให้มีความสมบูรณ์ โดยรัฐบาลจะศึกษา วิจัยและเพิ่มเป้าหมายของกลุ่มสหกรณ์ระยะยาวที่ต้องจดทะเบียนจัดตั้ง สหภาพสหกรณ์ต้องถูกระบุในกฎหมายสหกรณ์ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม จัดทำกฎระเบียบเพื่อชี้แจงตำแหน่งและบทบาทของสหภาพสหกรณ์เวียดนามให้สอดคล้องกับลักษณะ ข้อกำหนดในปัจจุบันและการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก
กลุ่มนโยบายที่ 3 คือการขยายตลาด ปรับปรุงความสามารถในการระดมทุนและสร้างแรงผลักดันให้ภาคสหกรณ์พัฒนา โดยรัฐบาลจะปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของสหกรณ์และสหภาพสหกรณ์กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่สมาชิกตามแนวทางของสหกรณ์และสหภาพสหกรณ์ นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มเติมข้อกำหนดให้กำไรที่ได้จากการทำธุรกรรมนอกสหกรณ์จะถูกนำไปเป็นทุนสำรองและต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเหมือนสถานประกอบการอื่นๆ ส่วนกำไรที่ได้จากธุรกรรมภายในสหกรณ์และสหภาพสหกรณ์ได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยส่งเสริมให้กิจกรรมของสหกรณ์ดำเนินการภายใต้แนวทางช่วยเหลือสมาชิก พัฒนาตลาด และสามารถเข้าร่วมตลาดได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายเหมือนกับสถานประกอบการและรูปแบบเศรษฐกิจอื่นๆ
กลุ่มนโยบายกลุ่มที่ 4 คือการปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพของงานด้านการบริหารสหกรณ์และสหภาพสหกรณ์ให้มีความสมบูรณ์ โดยรัฐบาลจะศึกษาเพื่อเพิ่มบรรพเกี่ยวกับการตรวจสอบ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน และการตรวจสอบอิสระที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบของสหกรณ์และสหภาพสหกรณ์โลก ตลอดจนกฎหมายการตรวจสอบบัญชีของเวียดนาม
สุดท้ายคือกลุ่มนโยบายเกี่ยวกับการยกระดับประสิทธิภาพในการบริหารภาครัฐในด้านเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมโดยรัฐบาลปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับกลไกบริหารภาครัฐให้มีความสมบูรณ์ตามแนวทางเปลี่ยนแปลงใหม่องค์กรบริหารภาครัฐให้มีความกระทัดรัดและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมและสหกรณ์ตามแนวทางที่อำนวยความสะดวกให้องค์กรทางเศรษฐกิจเข้าร่วมหรือถอนตัวออกจากตลาด ผลักดันการตรวจสอบและสร้างเวทีแข่งขันที่เท่าเทียมกันกับสถานประกอบการ ผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การจัดทำและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลระดับชาติเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน องค์กร และการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมซึ่งจะดำเนินควบคู่ไปกับการสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับจุดศูนย์รวมในการสนับสนุนเศรษฐกิจแบบกรรมสิทธิ์รวมทั่วประเทศ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาของนโยบายการสนับสนุนต่างๆ เช่นภาษีและค่าธรรมเนียม การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การส่งเสริมการค้า การขยายตลาดและสินเชื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้สมกับบทบาทในเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม.