สัปดาห์ผู้นำเอเปกครั้งที่ 31
Quang Dung- VOV5 -  
(VOVWORLD) -สัปดาห์ผู้นำฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปกครั้งที่ 31 ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 11 -16 พฤศจิกายน ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู ได้ถูกตั้งความหวังว่า จะธำรงพลังขับเคลื่อนต่อการสนทนาที่สำคัญระหว่างเศรษฐกิจสมาชิก มีส่วนร่วมผลักดันการขยายตัวในสภาวการณ์ที่การค้าโลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ
ในกรอบสัปดาห์ผู้นำเอเปกปีนี้ภายใต้หัวข้อ “Empower. Include. Grow.” (เสริมสร้างพลัง มีส่วนร่วม และเติบโตยั่งยืน) มีการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการประชุมระดับสูงที่มีการเข้าร่วมของผู้นำเศรษฐกิจสมาชิกเอเปกในระหว่างวันที่ 14 -16 พฤศจิกายน
กำหนดบทบาทของเอเปก
สัปดาห์ผู้นำเอเปก ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู เป็นกิจกรรมสุดท้ายในปีที่สำคัญของเอเปกและตรงกับโอกาสรำลึกครบรอบ 35 ปีการก่อตั้ง ดังนั้น บรรดาประเทศสมาชิกต้องตรวจสอบ ประเมินผลงานต่างๆและกำหนดแนวทางความร่วมมือในระยะใหม่ ซึ่งภายใต้หัวข้อ “Empower. Include. Grow.” ประเทศเจ้าภาพเปรูเน้นส่งเสริม 3 ประเด็นหลักได้แก่ การค้าและการลงทุนเพื่อการขยายตัวที่ครอบคลุมและเชื่อมโยง นวัตกรรมและการพัฒนาดิจิทัลเพื่อผลักดันการดึงเศรษฐกิจนอกระบบให้มาอยู่ในระบบและการขยายตัวอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่พึ่งตนเอง
กิจกรรมหลักของสัปดาห์ผู้นำเอเปกปี 2024 คือการประชุมระดับสูงที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 14 -16 พฤศจิกายน เช่น การประชุมผู้นำเอเปกครั้งที่ 31 ที่เน้นหารือเกี่ยวกับการผลักดันระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างครอบคลุมและปฏิบัติวิสัยทัศน์และแผนการปฏิบัติงานของเอเปก การสนทนาระหว่างผู้นำเอเปกกับผู้นำประเทศที่ได้รับเชิญเกี่ยวกับการส่งเสริมประสิทธิภาพความร่วมมือในเอเปกและการส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค การสนทนาระหว่างผู้นำเอเปกกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปกหรือ ABAC และการประชุมสุดยอดสถานประกอบการเอเปก นอกจากนี้ ยังมีการประชุมหารือต่างๆที่น่าสนใจ เช่น บทบาทของสถานประกอบการขนดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมการเข้าร่วมของชุมชนในกระบวนการพัฒนา นาย Chris Penk รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูลที่ดินนิวซีแลนด์เผยว่า ในสภาวการณ์ที่ความไร้เสถียรภาพทางการค้าในโลกนับวันเพิ่มขึ้นทำให้เอเปกนับวันมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น
“เอเปกเป็นฟอรั่มชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการผลักดันความคิดริเริ่มเพื่อปรับปรุงและผลักดันการแลกเปลี่ยนทางการค้าและยังคงธำรงบทบาทของการเป็นศูนย์กลางบ่มเพาะความคิดริเริ่มต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่ภูมิภาคและโลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่ต่างๆ ซึ่งอาจคุกคามต่อบรรยากาศการค้าเสรีและคล่องตัวที่พวกเรากำลังส่งเสริม”
ท่ามกลางสถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมืองโลกที่มีความผันผวนอย่างซับซ้อนทั้งจากการปะทะในยูเครนและภูมิภาคตะวันออกกลาง สัปดาห์ผู้นำเอเปก ณ กรุงลิมา จึงถูกกตั้งความหวังว่า จะส่งเสริมการสนทนาระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ สร้างผลงานด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่สำคัญเหมือนที่เคยกิดขึ้นหลังการพบปะระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน กับประธานประเทศจีน สีจิ้นผิง ณ เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว นาย Renato Reyes เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ดูแลเอเปกของเปรูได้เผยว่า
“เอเปกได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 1989 ซึ่งตอนนั้นเป็นเพียงฟอรั่มเศรษฐกิจ ไม่มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาภูมิศาสตร์การเมือง แต่สิ่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนี่คือการที่เอเปกตอบสนองสถานการณ์ใหม่ ผมคิดว่า นี่เป็นจุดแข็งใหม่ของเอเปก”
หัวข้อต่างๆที่สำคัญนอกรอบการประชุม
อีกหนึ่งหัวข้ออื่นที่น่าสนใจที่ไม่อยู่ในระเบียบวาระการประชุมแต่อาจจะถูกหยิบยกขึ้นมาหารือคือผลพวงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐต่อการค้าโลก โดยก่อนอื่นคือการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างเศรษฐกิจสมาชิกเอเปก ซึ่งบรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า การที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะเป็นการบังคับให้หลายเศรษฐกิจสมาชิกเอเปกต้องเตรียมแผนการรับมือถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกกับนโยบายด้านการค้าของสหรัฐเพราะในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศหลายครั้งว่า จะเพิ่มภาษีต่อสินค้านำเข้าจากทุกหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ซึ่งอย่างต่ำคือร้อยละ 10 และอาจสูงถึงร้อยละ 60 หรือ100% ต่อสินค้าบางรายการจากบางประเทศ การประกาศดังกล่าวได้สร้างความวิตกังวลว่า ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน จะมีคำมั่นที่ยั่งยืนหรือไม่ต่อประเด็นที่ได้รับความสนจากเอเปก แม้นาย โจ ไบเดน จะเข้าร่วมสัปดาห์ผู้นำเอเปก ณ กรุงลิมา แต่นาย Brian Nichols ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐที่ดูแลซีกโลกตะวันตกเห็นว่า สหรัฐยืนหยัดคำมั่นกับเอเปกในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมาและมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้แม้ว่าสหรัฐจะมีรัฐบาลชุดใหม่ก็ตาม
นอกจากผลจากการเปลี่ยนแปลงทางการในสหรัฐต่อความร่วมมือเอเปก อีกหนึ่งกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจในกรอบสัปดาห์ผู้นำเอเปกคือการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานระหว่างจีนกับบรรดาประเทศลาตินอเมริกา โดยเฉพาะกับประเทศเจ้าภาพเปรู ในโอกาสเข้าร่วมสัปดาห์ผู้นำเอเปก ประธานประเทศจีน สีจิ้นผิง จะร่วมกับผู้นำเปรูเปิดท่าเรือ Chancay ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงลิมา ประมาณ 80 กิโลเมตร ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ที่เครือบริษัท Cosco ของจีนก่อสร้าง รวมยอดเงินลงทุน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่เปิดดำเนินงาน ท่าเรือแห่งนี้จะเป็นท่าเรือหลักในทวีปอเมริกาใต้ในการแลกเปลี่ยนทางการค้ากับประเทศเอเชียเนื่องจากลดเวลาการขนส่งสินค้าจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังเอเชียตะวันออกจาก 40 วันลงเหลือ 20 วันเนื่องจากไม่ต้องผ่านคลองปานามา.
Quang Dung- VOV5