(VOVWORLD)-วิกฤตการทูตที่รุนแรงที่สุดในอ่าวเปอร์เซียนับตั้งแต่ที่สภาความร่วมมือเขตอ่าวหรือจีซีซีได้รับการจัดตั้งเมื่อปี1981ได้ยืดเยื้อนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ นับตั้งแต่กลางปี2017มาจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีสัญญาณที่น่ายินดีเพื่อแก้ไขความชงักงันในปัจจุบัน วิกฤตดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงรอยร้าวในความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกจีซีซี ซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภูมิภาค
วันที่5มิถุนายนปี2017 ซาอุดิ อาระเบีย บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์โดยให้เหตุผลว่า กาตาร์ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย โดยประเทศเหล่านี้ได้สั่งห้ามพลเมืองของตนเดินทางไปยังกาตาร์และสั่งห้ามพลเมืองกาตาร์เดินทางเข้าประเทศ พร้อมทั้ง บังคับให้พลเมืองและนักท่องเที่ยวกาตาร์เดินทางออกจากประเทศเหล่านี้ภายใน2สัปดาห์ หลังจากนั้น ประเทศสมาชิกอื่นๆของจีซีซีก็มีปฏิบัติการในลักษณะเดียวกัน สันนิบาตอาหรับที่ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำได้ตัดสินใจระงับสมาชิกภาพของกาตาร์ พร้อมทั้ง เรียกร้องให้กาตาร์ต้องเนรเทศสมาชิกองค์กรภารดรภาพมุสลิมและขบวนการฮามาสออกจากประเทศ นอกจากนี้ ซาอุดิอาระเบียก็เรียกร้องให้กาตาร์ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน
เบื้องหลังของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
แม้เหตุผลที่ทำให้ประเทศในเขตอ่าวตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์เนื่องจากกล่าวหาว่า ทางการกาตาร์แอบให้การสนับสนุนการก่อการร้าย ลัทธิกลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่มไอเอสในภูมิภาคแต่จริงๆแล้วคือปัญหากับอิหร่าน โดยซาอุดิอาระเบียและประเทศต่างๆในเขตอ่าวไม่ยอมรับกาตาร์ที่เดินสวนกับแนวทางของภูมิภาคคือลดอิทธิพลของอิหร่าน
ในทางเป็นจริง แม้จะเป็นประเทศมุสลิมนิกายสุหนี่ที่มีความขัดแย้งด้านแนวคิดกับประเทศมุสลิมนิกายชีอะแต่ในหลายปีที่ผ่านมา กาตาร์ได้มีความสัมพันธ์ร่วมมือมิตรภาพกับอิหร่าน รวมถึงการเข้าร่วมโครงการร่วมมือในการขุดเจาะปิโตรเลี่ยมในเขตอ่าว ซึ่งแตกต่างกับซาอุดิอาระเบียที่เป็นประเทศมุสลิมนิกายสุหนี่ซึ่งถืออิหร่านเป็นศัตรู
ความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์ในปัญหาความสัมพันธ์กับอิหร่านทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังการเยือนซาอุดิอาระเบียของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์เมื่อวันที่21พฤษภาคมปี2017 โดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์และพระมหากษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบียต่างเห็นว่า อิหร่านเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายแต่กาตาร์กลับเรียกร้องให้ประเทศต่างๆลดการตำหนิและหันมาปรับปรุงความสัมพันธ์กับอิหร่าน
ทั้งนี้ วิกฤตทางการทูตในอ่าวเปอร์เซียเป็นการแข่งขันด้านอำนาจระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค ถ้าหากวิกฤตนี้ไม่ได้รับการควบคุมก็จะส่งผลกระทบไม่น้อยต่อเสถียรภาพของภูมิภาค การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีซีซี ส่งผลเสียต่อความไว้วางใจ การลงทุนในกาตาร์และในกลุ่มประเทศจีซีซี
อนาคตที่มืดมัว
ในช่วงปลายปี2017 ประเทศต่างๆได้มีความพยายามทางการทูตเพื่อแก้ไขความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซียแต่ก็ยังไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่า วิกฤตดังกล่าวได้รับการแก้ไข ในช่วงแรกของวิกฤต ทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความประสงค์ที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ แต่ในช่วงหลัง ดูเหมือนว่า ทั้งสองฝ่ายไม่ให้ความสนใจต่อเรื่องนี้อีกหากหันมาให้ความสนใจลงนามสัญญาซื้ออาวุธ มูลค่านับพันล้านดอลลาร์สหรัฐแทนความพยายามทางการทูตเพื่อแก้ไขปัญหานี้แม้แต่โอกาสสุดท้ายในปี2017คือการประชุมสุดยอดประเทศสมาชิกจีซีซีที่มีขึ้นเมื่อวันที่5ธันวาคม ฝ่ายต่างๆก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการที่พระมหากษัตริย์แห่งกาตาร์ Sheikh Tamimทรงเข้าร่วมการประชุมดังลก่าว ส่วนบาเรนห์ ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กลับส่งเพียงตัวแทนในระดับต่ำกว่าเข้าร่วมการประชุม
จากความผันผวนในปัจจุบัน สถานการณ์อาจจะเป็นไปตาม2แนวทางคือ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนยังคงปิดล้อมกาตาร์ต่อไปหรือหาทางแก้ไขวิกฤตเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นระหว่างกัน
หากวิกฤตนี้ยังคงยึดเยื้อต่อไปในปี2018 ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนได้รับการเสริมสร้างและได้มีการผลักดันการปฏิบัติข้อตกลงทั้งในระดับทวิภาคีและไตรภาคี ในขณะเดียวกัน กาตาร์จะแสวงหามาตรการค้ำประกันความมั่นคงและการพัฒนาเศรษฐกิจนอกเขตอ่าวแต่สิ่งที่น่ากังวลคือ ประเทศอาหรับจะตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพเนื่องจากแรงกดดันที่ต้องเลือกสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ในปี2017 ความพยายามเพื่อแก้ไขวิกฤตที่รุนแรงที่สุดระหว่างประเทศสมาชิกจีซีซีได้ประสบความล้มเหลวและจนถึงขณะนี้ ก็ยังมองไม่เห็นโอกาสในการแก้ไขวิกฤตดังกล่าวและมีความเป็นไปได้ที่วิกฤตนี้จะยืดเยื้อต่อไป.