อีเอเอสมีบทบาทผลักดันสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคต่อไป
Ánh Huyền-VOV5 -  
(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในกรอบความร่วมมืออาเซียนได้เสร็จสิ้นลง ณ ประเทศลาวโดยมีการเข้าร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศและ 8 ประเทศหุ้นส่วน โดยได้เตรียมเนื้อหาสำคัญให้แก่การจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอส
(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในกรอบความร่วมมืออาเซียนได้เสร็จสิ้นลง ณ ประเทศลาวโดยมีการเข้าร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศและ 8 ประเทศหุ้นส่วน โดยได้เตรียมเนื้อหาสำคัญให้แก่การจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอส
บรรดารัฐมนตรีในการประชุมอีเอเอสครั้งที่ 6
|
จากสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ เอเชีย-แปซิฟิกนับวันกลายเป็นเขตยุทธศาสตร์ที่ประเทศมหาอำนาจพยายามขยายอิทธิพล ด้วยบทบาทเป็นฟอรั่มที่เปิดกว้าง โปร่งใสและรอบด้าน การจัดตั้งอีเอเอสมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองและยุทธศาสตร์ใหญ่ๆเพื่อผลักดันสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชียตะวันออก ถึงแม้ประเทศสมาชิกจะมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ แต่อีเอเอสไม่สามารถมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับเป้าหมายสำคัญๆที่วางไว้
ผลสำเร็จในการดึงดูดการเข้าร่วมของประเทศมหาอำนาจ
การประชุมอีเอเอสถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมปี 2005 ณ มาเลเซีย โดยมี 16 ประเทศ ประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เข้าร่วม ซึ่งถือเป็นเวทีให้บรรดาผู้นำสนทนาเกี่ยวกับปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ การเมืองและเศรษฐกิจที่ต่างให้ความสนใจเพื่อผลักดันสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชียตะวันออก การประชุมอีเอเอสถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและดำเนินงานบนพื้นฐาน หลักการและวิธีการปฏิบัติของอาเซียน ปี 2010 เป็นปีที่สร้างนิมิตหมายในการเปลี่ยนแปลงใหม่หลังจากที่ประชุมอีเอเอสครั้งที่ 5 ณ กรุงฮานอยได้ตัดสินใจรับสหรัฐและรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ ซึ่งทำให้จำนวนสมาชิกของอีเอเอสอยู่ที่ 18 ประเทศ ด้วยการตัดสินใจขยายสมาชิก อีเอเอสได้กลายเป็นฟอรั่มแห่งร่วมมือในระดับที่สูงกว่าและมีขอบเขตที่กว้างมากขึ้นในภูมิภาค
อีเอเอสได้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศเข้าร่วมการผลักดันการสนทนา ร่วมมือและสร้างสรรค์ความไว้วางใจบนพื้นฐานการปฏิบัติและแลกเปลี่ยนระเบียบการ ตลอดจนหลักปฏิบัติต่อกัน อีเอเอสยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างกรอบทางการเมืองที่สะดวกให้แก่การผลักดันความร่วมมือในด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆ เป็นฟอรั่มสนทนาเชิงยุทธศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นซึ่งมีการระบุหัวข้อ เนื้อหาและด้านความร่วมมือสำคัญๆในระเบียบวาระการประชุม นอกจากการสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติต่อกันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆและรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคง อีเอเอสยังผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้าน สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สาธารณสุข พลังงาน การศึกษา การเงิน การบริหารจัดการภัยธรรมชาติ การเชื่อมโยงอาเซียน ความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงทางทะเลและความร่วมมือพัฒนา
นาย ฝ่ามบิ่งมิงห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามและนาย เลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนในการประชุมอีเอเอส
|
บรรลุความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม
นับตั้งแต่จัดการประชุมอีเอเอสครั้งแรกเมื่อปี 2005 อีเอเอสได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติเป้าหมายที่ได้วางไว้ นั่นคือสามารถเข้าถึงการแก้ไขความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค ช่วยผลักดันความร่วมมือและการสนทนาเพื่อผลประโยชน์ร่วม ผลักดันความไว้วางใจ รักษาความโปร่งใสและพยากรณ์การเคลื่อนไหวในภูมิภาค ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อีเอเอสได้บรรลุความคืบหน้าใน 6 ด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เช่น พลังงาน การศึกษา การเงิน สาธารณสุขโลก การบริหารจัดการภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม ให้การช่วยเหลือความเชื่อมโยงอาเซียน โดยเฉพาะการผลักดันความร่วมมือด้านการค้าในภูมิภาค ผู้นำของ 16 ประเทศในภูมิภาคได้เห็นพ้องที่จะรื้อฟื้นการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรืออาร์ซีอีพีตั้งแต่ปี 2012 มุ่งสู่เป้าหมายบรรลุข้อตกลงเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจที่ทันสมัย รอบด้านและมีคุณภาพสูง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น มีส่วนร่วมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในโลก จนถึงขณะนี้ ได้ทำการเจรจาข้อตกลงอาร์ซีอีพี 10 รอบและกำลังพยายามมำกสนเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ถ้าได้รับการลงนาม ข้อตกลงการค้าเสรีภูมิภาคนี้จะสร้างกลุ่มเศรษฐกิจ รวมประชากรอยู่ที่ประมาณ 3.4 พันล้านคน และมีมูลค่าการค้าอยู่ที่10,6 พันล้านดอลลารห์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการค้าโลก
ส่งเสริมบทบาทและส่วนร่วมของอีเอเอสต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อีเอเอสไม่เพียงแต่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลืออาเซียนแก้ไขปัญหาในภูมิภาคเท่านั้น หากยังช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแก้ไขปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องถึงประเทศของตนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย บทบาทสำคัญที่สุดของอีเอเอสต่อประเทศสมาชิกคือขัดขวางการปะทะและรักษาความมั่นคง อีเอเอสได้สร้างกลไกการสนทนาพหุภาคีเพื่อให้ประเทศสมาชิกแสวงหาเสียงพูดเดียวกันต่อปัญหาที่มีความขัดแย้ง และแก้ไขการพิพาทอย่างสันติ เช่นอีเอเอสได้หารือปัญหาของเมียนมาร์ การปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา ความมั่นคงและความปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลตะวันออก
ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคยังคงมีการผันผวนอย่างซับซ้อนและเข้าสู่ระยะใหม่ อีเอเอสได้ยกระดับบทบาทและมีส่วนร่วมต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น ผลักดันความไว้วางใจและความโปร่งใสบนพื้นฐานการปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักปฏิบัติต่อกัน โดยเฉพาะจิตใจแห่งการให้ความเคารพกฎหมายสากล ตลอดจนรับมือกับความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ.
Ánh Huyền-VOV5