(VOVWORLD) -ตามข้อมูลสถิติล่าสุดของทบวงสถิติเวียดนาม จนถึงกลางเดือนสิงหาคมนี้ ยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือเอฟดีไอที่จดทะเบียนในเวียดนามได้บรรลุกว่า 1 หมื่น 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนแรกที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนเวียดนามมากกว่า 1 ล้านคนนับตั้งแต่ที่เวียดนามเปิดประเทศในด้านการท่องเที่ยวเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วหลังวิกฤตโควิด – 19 ซึ่งสัญญาณที่น่ายินดีเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า เวียดนามยังคงเป็นจุดนัดพบของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
เวียดนาม – จุดนัดพบด้านการดึงดูดเงินทุนเอฟดีไอและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (baodautu) |
สัญญาณที่น่ายินดีเหล่านี้จะสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่ผลงานที่เวียดนามจะบรรลุและความตั้งใจของเวียดนามในการฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจ
สัญญาณที่น่ายินดีเกี่ยวกับเงินลงทุนเอฟดีไอ
อุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตยังคงเป็นด้านที่นำหน้าในรายชื่ออุตสาหกรรมที่ดึงดูดเงินลงทุนเอฟดีไอมากที่สุด รองลงมาคือการประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ การเงิน ธนาคาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่เมืองท่าไฮฟอง นักลงทุนบางคนได้เพิ่มเงินลงทุนหลังการดำเนินงานมาระยะหนึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยให้เมืองท่าไฮฟองอยู่อันที่ 2 ของท้องถิ่นที่ได้รับเงินลงทุนเอฟดีไอมากที่สุดในเวียดนาม โดยยอดเงินลงทุนจดทะเบียนอยู่ที่กว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นาย แจน ชี ลีอาง ผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท Pegatron เวียดนาม จำกัด ได้เผยว่า หลังการสำรวจสถานที่หลายแห่ง ทางบริษัทได้เลือกเมืองท่าไฮฟองเพื่อก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 14 ในโลก
“เราได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากฝ่ายบริหารของเขตเศรษฐกิจไฮฟอง โดยเราสามารถก่อสร้างโรงงานเสร็จเรียบร้อยและเริ่มการผลิตได้ภายในเวลาไม่นาน ปัจจุบันนี้ เรามีแผนการขยายการลงทุนในเมืองท่าไฮฟองต่อไป โดยลูกค้าของเราในยุโรปและทวีปอเมริกาได้มาหารือเพื่อร่วมมือกับเราเพราะให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์และอยากร่วมมือกันพัฒนา”
ในขณะเดียวกัน จังหวัดกว๋างนิงห์ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของโครงการเอฟดีไอใหม่ๆ โดยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางจังหวัดฯ ได้มอบใบอนุญาตการลงทุนให้แก่โครงการใหม่ 2 โครงการของเครือบริษัท Foxconn รวมยอดเงินลงทุนกว่า 246 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่นักลงทุนรายใหญ่กลับมาลงทุนในจังหวัดกว๋างนิงในเวลาที่ผ่านมามีการเพิ่มขึ้นทั้งด้านจำนวนและขอบเขต นาย โกโมโตะ โตโมชิ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท Castem Vietnam จำกัด ซึ่งเพิ่งก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนและเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงในจังหวัดกว๋างนิง ยืนยันว่า
“เราเลือกจังหวัดกว๋างนิงของเวียดนามก็เพราะมีความได้เปรียบต่างๆ เช่น ใกล้สนามบินและท่าเรือ ซึ่งเหมาะสำหรับทำการผลิตและส่งออก นอกจากนี้ แรงงานเวียดนามก็มีความขยันหมั่นเพียรและตั้งในทำงาน โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนที่โปร่งใสก็ถือเป็นหนึ่งในความได้เปรียบของจังหวัดกว๋างนิงที่ทางบริษัทเราตัดสินใจมาลงทุนในระยะยาว”
ปัจจุบันนี้ สาธารณรัฐเกาหลีกำลังเป็นหุ้นส่วนนำหน้าในการลงทุนในเวียดนาม รวมเงินลงทุนจดทะเบียนกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สิ่งที่น่ายินดีคือ อัตราการลงทุนของสาธารณรัฐเกาหลีในเวียดนามยังคงมีเสถียรภาพและมีการขยายตัว ถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่ยากลำบากจากวิกฤตโควิด – 19 ก็ตาม มีสถานประกอบการเอฟดีไอของสาธารณรัฐเกาหลีกว่า 9,200 แห่งกำลังประกอบธุรกิจในด้านอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเกษตร การท่องเที่ยว ให้บริการและการส่งออกที่เวียดนาม สำหรับศักยภาพของการลงทุนในเวียดนาม นาย ฮองซัน รองนายกสมาคมสถานประกอบการสาธารณรัฐเกาหลีประจำเวียดนามหรือ Kocharm ยืนยันว่า
“ในช่วงก่อนวิกฤตโควิด - 19 เวียดนามเป็นประเทศที่มีบรรยากาศการลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่สำหรับนักลงทุนสาธารณรัฐเกาหลีเท่านั้น หากยังสำหรับทุกประเทศในทั่วโลกอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนสาธารณรัฐเกาหลีให้ความสนใจเป็นอย่างมากและกำลังขยายการลงทุนและประกอบธุรกิจในเวียดนาม เราหวังว่า เวียดนามและสาธารณรัฐเกาหลีจะร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”
ไม่เพียงแต่ดึงดูดการลงทุนในด้านที่มีอยู่มานานแล้วเท่านั้น แต่เวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางที่เต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับเงินลงทุนต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพและนวัตกรรม ซึ่งปัจจุบันนี้ ยอดเงินลงทุนที่นักลงทุนให้คำมั่นลงทุนแก่สตาร์ทอัพเวียดนามในระยะ 3 ปีตั้งแต่ปี 2023-2025 อยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จุดหมายปลายทางที่ใกล้ชิดและปลอดภัย
ในด้านการท่องเที่ยว เดือนกรกฎาคมก็เป็นเดือนแรกที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเวียดนามให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่า 1 ล้านคนนับตั้งแต่ที่เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวในเวียดนามใน 7 เดือนที่ผ่านมาบรรลุเกือบ 6.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 7 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ผลสำเร็จดังกล่าวมาจากการที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญต่อภาคการท่องเที่ยวในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวพร้อมกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น คอนเสิร์ตของวง BlackPink ได้อำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พร้อมทั้งเป็นการยืนยันถึงความสามารถของเวียดนามในการจัดกิจกรรมระดับโลก หรือรายการ “Let's Feast Vietnam” ซึ่งเป็นรายการโชว์ที่เน้นเรื่อง “Made in Vietnam”ที่ฉายทางโทรทัศน์ที่ช่วยประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและอาหารเวียดนามให้เป็นที่รู้จักทั่วเอเชียผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชาวต่างชาติหลายคนที่อาศัยอยู่ในเวียดนามมาหลายปีได้ให้ข้อสังเกตว่า ถึงแม้เป็นประเทศเล็ก แต่เวียดนามก็มีหลายเรื่องที่คุณไม่สามารถพบเห็นในประเทศอื่น โดยเฉพาะความหลากหลายในด้านวัฒนธรรม จากความได้เปรียบและศักยภาพต่างๆ ที่มีอยู่บวกกับยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวถึงปี 2030 และวิสัยทัศน์ถึงปี 2050 ของรัฐบาล เวียดนามนับวันเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศมากขึ้น คุณ Saadi Salami เอกอัครราชทูตปาเลสไตน์ประจำเวียดนาม แสดงความคิดเห็นว่า
“ในอดีต ชาวต่างชาติรับรู้ว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีสงครามแต่ปัจจุบันนี้ ทุกคนอยากศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามต่างๆ ซึ่งช่วยให้เวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจ”
ในสภาวการณ์ที่โลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อนและไร้เสถียรภาพ ซึ่งส่งผลกระทบไม่น้อยต่อเวียดนาม แต่สัญญาณที่น่ายินดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจเวียดนามนับตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบันถือเป็นแรงกระตุ้นช่วยให้เวียดนามพัฒนาอย่างเข้มแข็งต่อไปในเวลาที่จะถึง.