(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือเอเอ็มเอ็มครั้งที่ 49 และการประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆจะมีขึ้นเป็นเวลา 4 วันในระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม โดยเอเอ็มเอ็ม 49 จะเน้นหารือเกี่ยวกับความร่วมมือภายในกลุ่ม การสร้างสรรค์ประชาคม ความสัมพันธ์การต่างประเทศและการเพิ่มบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยเฉพาะผลักดันการปฏิบัติวิสัยทัศน์ 2025 ของประชาคมฯในสภาวการณ์ที่โลกและภูมิภาคกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและซับซ้อน เป็นอย่างมากจนยากที่จะคาดการณ์ได้
(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือเอเอ็มเอ็มครั้งที่ 49 และการประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆจะมีขึ้นเป็นเวลา 4 วันในระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม โดยเอเอ็มเอ็ม 49 จะเน้นหารือเกี่ยวกับความร่วมมือภายในกลุ่ม การสร้างสรรค์ประชาคม ความสัมพันธ์การต่างประเทศและการเพิ่มบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยเฉพาะผลักดันการปฏิบัติวิสัยทัศน์ 2025 ของประชาคมฯในสภาวการณ์ที่โลกและภูมิภาคกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและซับซ้อนเป็นอย่างมากจนยากที่จะคาดการณ์ได้
เอเอ็มเอ็ม 49 ผลักดันการปฏิบัติวิสัยทัศน์ปี 2025 ของประชาคมอาเซียน
|
เอเอ็มเอ็ม 49 และการประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของอาเซียนในปีอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนแกนหลัก โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศ 27 ท่านจาก 10 ประเทศสมาชิกและ 17 ประเทศหุ้นส่วนของอาเซียนเข้าร่วมในสภาวการณ์ที่โลกและภูมิภาคกำลังเกิดความซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันด้านยุทธศาสตร์ระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจนับวันรุนแรงมากขึ้น ความท้าทายใหม่และเก่าที่เกิดขึ้นโดยตรงและรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์ในทะเลตะวันออกและการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้าย ในขณะที่ประชาคมอาเซียนยังอยู่ในกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคม ขยายความสัมพันธ์การต่างประเทศและพัฒนาบทบาทเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค สำหรับปัญหาทะเลตะวันออก อาเซียนธำรงจุดยืนและเสียงพูดเดียวกันตามหลักการเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
ดังนั้นในการประชุมต่างๆนี้จะมีระเบียบวาระการประชุมที่ครอบคลุมความร่วมมือในทุกด้าน เช่น ความร่วมมือภายในกลุ่ม การสรุปความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆในเวลาที่ผ่านมา แนวทางผลักดันความสัมพันธ์ในอนาคต ขยายมาตรการสร้างสรรค์ความไว้วางใจและการทูตเชิงป้องกัน อาเซียนเน้นผลักดันการปฏิบัติวิสัยทัศน์ปี 2025เพื่อเตรียมพร้อมการพัฒนาในระยะต่อไป
วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนเป็นผลงานแห่งความเป็นเอกฉันท์
ประชาคมอาเซียนได้ประกาศ “ปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยอาเซียนค.ศ. 2025 มุ่งหน้าไปด้วยกัน” เมื่อปลายปี 2015 โดยยืนยันอีกครั้งถึงการสร้างสรรค์อนาคตของอาเซียนใน 10 ปีข้างหน้าตามขั้นตอนใหม่ ซึ่งรวมทั้งวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 และแผนปฏิบัติวิสัยทัศน์ฯบนสามเสาหลักคือ การเมืองกับความมั่นคง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมกับสังคม
การเปิดตัวประชาคมอาเซียนเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 ได้แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตและความเข้มแข็งของอาเซียน แต่อาเซียนต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะพัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสภาวการณ์ที่โลกและภูมิภาคกำลังมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ซึ่งสร้างทั้งโอกาสและความท้าทายต่างๆ ประชาคมอาเซียนได้ร่วมประกาศวิสัยทัศน์ 2025 เพื่อสะท้อนความต้องการ ความปรารถนาและความสนใจของทุกประเทศสมาชิกและอำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาคมฯ
ในปฏิญญาดังกล่าว อาเซียนได้ให้คำมั่นว่า จะร่วมกันสร้างสรรค์ให้เป็นประชาคมที่ “สันติภาพ เสถียรภาพ พึ่งพาตนเองโดยมีทักษะความสามารถมากขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ” เป็น“ภูมิภาคที่เปิดกว้างในประชาคมระหว่างประเทศ แต่ยังคงธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลาง” “เศรษฐกิจต่างๆมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด ยั่งยืนและคล่องตัว” และเป็น “อาเซียนที่มีทักษะความสามารถเพื่อใช้โอกาสได้ดีและแก้ไขความท้าทายต่างๆในทศวรรษที่จะถึง”
ตัวแทนของเวียดนามที่เข้าร่วมการประชุม
|
มุ่งสู่อาเซียน 2025: การให้ความสำคัญถึงหลักการสามัคคีภายในกลุ่ม
ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 ได้กำหนดแนวทางตามลักษณะของแต่ละเสาหลัก โดยในช่วงแรกจะเน้นปฏิบัติเป้าหมายการสร้างสรรค์ประชาคมการเมืองกับความมั่นคง ซึ่งในปี 2025 จะเป็นประชาคมฯที่สามัคคีกัน พึ่งพาตนเองและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สันติสุข
ส่วนเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเป้าหมายการสร้างสรรค์ประชาคมการเมืองกับความมั่นคงอาเซียนคือ อาเซียนปฏิบัติตามกฎระเบียบบนพื้นฐานการปฏิบัติหลักการและมาตรฐานการปฏิบัติต่อกันของอาเซียนและกฎหมายสากลว่าด้วยการปฏิบัติต่อกันอย่างสันติ การผลักดันคุณค่าต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย การบริหารด้วยอำนาจกฎหมายและความเป็นเอกฉันท์ในความหลากหลาย เป็นต้น ดังนั้น การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่ดำเนินงานตามกฎระเบียบจะเป็นแนวทางของอาเซียนในอีก 10 ปีข้างหน้าและในปีต่อๆไป
ในสภาวการณ์ที่ภูมิภาคและโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน โดยเฉพาะความท้าทายด้านความมั่นคงในทะเลตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้ ยิ่งกว่าเวลาใด อาเซียนตระหนักถึงความสามัคคี ความเป็นเอกฉันท์และการเพิ่มความรับผิดชอบและมีเสียงพูดเดียวกันอย่างเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหายุทธศาสตร์ เพราะความสำเร็จของอาเซียนและผลสำเร็จของการธำรงสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคต้องขึ้นอยู่กับความสามัคคีของประชาคม ในการเข้าสู่ระยะพัฒนาใหม่ อาเซียนต้องยกระดับปัจจัย กฎระเบียบและระดับความผูกมัดด้านกฎหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของประชาคมฯเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงให้ใกล้ชิดมากขึ้น แม้มีหลายด้านที่คล้ายคลึงกันแต่อาเซียนยังคงมีความแตกต่างกันในระบอบการเมืองและระดับการพัฒนา ดังนั้น เพื่อปฏิบัติภารกิจอันสูงส่งคือ ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความร่วมมือและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค อาเซียนต้องสามัคคีกันมากขึ้น ส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคและขยายความสัมพันธ์การต่างประเทศ ซึ่งบรรดาผู้นำอาเซียนได้ยืนยันว่า การประชุมเอเอ็มเอ็ม 49 และการประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆจะมุ่งเน้นเป้าหมายดังกล่าวต่อไป.