ดอกเตอร์ เลวันจี-นักวิทยาศาสตร์ของเกษตรกร

(VOVWORLD)-ผลงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานการเกษตรของดอกเตอร์ เลวันจี ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทหุ้นส่วนเทคโนโลยีชีวภาพและปุ๋ย Fitohoocmon- Bifiที่ได้รับรางวัล WIPOขององค์การลิขสิทธิ์ทางปัญญาโลกเมื่อปี2016  ซึ่งผลงานดังกล่าวมีส่วนช่วยเกษตรกรในการยกระดับประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในกระบวนการผลิตน้ำมันตะไคร้บ้าน
ดอกเตอร์ เลวันจี-นักวิทยาศาสตร์ของเกษตรกร - ảnh 1 ดอกเตอร์ เลวันจี

โครงการ “ปลูกตะไคร้ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อผลิตน้ำมันหอมระเหยสำหรับใช้เองและเพื่อการบริโภค การส่งออกและผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษตะไคร้”ของดอกเตอร์เลวันจีได้รับรางวัลWIPOและได้รับรางวัลที่1ในการประกวดความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนามปี 2016 ซึ่งเป็นรางวัลของกองทุนVIFOTECในด้านเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม  นี่เป็นครั้งที่2ที่ดอกเตอร์เลวันจีได้รับรางวัลWIPO  ก่อนหน้านั้น เมื่อปี2012  ดอกเตอร์ เลวันจีได้ประสบความสำเร็จในการผลิตโพรไบโอติคส์ Fito- Biomix RRที่ใช้ฟางข้าวเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์สำหรับต้นไม้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  นาย เลดังเถาะ  ผู้อำนวยการกองทุน VIFOTECได้เผยว่า “กองทุนVIFOTECได้มอบรางวัลความคิดสร้างสรรค์การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนามมา23ครั้งแล้ว นี่เป็นรางวัลอันสูงส่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนาม ซึ่งผลงานต่างๆที่ได้รับรางวัลนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เป็นจริงซึ่งช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ”

  ซึ่งผลงานของดอกเตอร์ เลวันจีที่ได้รับรางวัล WIPO  2016ได้สร้างก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีและมีประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจ ดอกเตอร์ เลวันจี ได้เผยว่า“ชาวบ้านมักจะใช้ต้นตะไคร้เพื่อการบริโภคหรือใช้เพื่อขจัดกลิ่นคาวอาหารทะเลแต่ไม่ใช้ใบตะไคร้เนื่องจากเห็นว่า ให้น้ำมันหอมระเหยในระดับต่ำคือร้อยละ0.4เท่านั้น  ซึ่งการสกัดน้ำมันหอมระเหยตามรูปแบบเก่ายังไม่ตอบโจทย์ในทางเศรษฐกิจ  พวกเราได้ประดิษฐ์อุปกรณ์สกัดน้ำมันหอมระเหยแบบใหม่ โดยสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่าย  ส่วนกากก็นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์  ซึ่งช่วยสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง”

ดอกเตอร์ เลวันจี-นักวิทยาศาสตร์ของเกษตรกร - ảnh 2 ดอกเตอร์ เลวันจี เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรในด้านเทคโนโลยีชีวภาพมากที่สุด

  ตะไคร้ปลูกง่ายและสามารถปรับตัวกับพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งและน้ำทะเลซึมได้ดี  ซึ่งมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงกว่าการปลูกข้าว 7-8เท่า  ตามการคาดการณ์ของดอกเตอร์ เลวันจี รูปแบบการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่ “การปลูกตะไคร้-การเก็บน้ำมันตะไคร้-การผลิตปุ๋ย”สามารถสร้างรายได้  140ล้านด่งต่อปี ต่อจากโครงการผลิตที่ใช้ตะไคร้  นายเลวันจีมีแผนการประยุต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตน้ำมันหอมระเหยจากพืชต่างๆ เช่น อบเชยและโป๊ยกั๊ก  เป็นต้น   ซึ่งจะเปิดแนวทางใหม่ในการพัฒนาการผลิตน้ำมันหอมระเหยของเวียดนาม  ดอกเตอร์ เลวันจี ได้เผยว่า “ จนถึงปี2025 พวกเราจะพยายามสร้างเป็นอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันตะไคร้   ซึ่งเวียดนามอาจกลายเป็นประเทศเดินหน้าในการผลิตน้ำมันตะไคร้แบบพื้นบ้าน  พวกเราจะร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานจัดทำโครงการวิจัยการผลิตและประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันหอมระเหย”

ดอกเตอร์ เลวันจี เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของหน่วยงานการเกษตรเวียดนาม  โดยมีผลงานทางวิทยาศาสตร์กว่า80ผลงานและบทความที่ลงในสื่อทั้งภายในและต่างประเทศ  และได้รับสิทธิบัตร19ฉบับ เขาเคยได้รับการรับรองเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย   ดอกเตอร์ เลวันจีกำลังพยายามมีส่วนร่วมคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและทำการวิจัยเทคโนโลยีใหม่เพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกรและหน่วยงานการเกษตรของเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด