ประเพณีฉลองตรุษเต็ตของชาวไทดำ
Lan Anh – VOV5 -  
( VOVworld )-ภายหลังทำงานอย่างเหน็จเหนื่อยมา ๑ ปี เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ตามประเพณีของชาติหรือเทศกาลตรุษเต็ต ชาวไทดำในจังหวัดเดี่ยนเบียนต้องทำความสะอาดและจัดบ้านให้เรียบร้อย พร้อมซื้อกิ่งดอกท้อ เตรียมเสาตุง ถาดผลไม้ ๕ อย่าง อาหารและข้าวของต่างๆเพื่อทำอาหารสำหรับตรุษเต็ต ปัจจุบัน แม้วิถีชีวิตสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ แต่ชาวไทดำยังคงอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
( VOVworld )-ภายหลังทำงานอย่างเหน็จเหนื่อยมา ๑ ปี เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ตามประเพณีของชาติหรือเทศกาลตรุษเต็ต ชาวไทดำในจังหวัดเดี่ยนเบียนต้องทำความสะอาดและจัดบ้านให้เรียบร้อย พร้อมซื้อกิ่งดอกท้อ เตรียมเสาตุง ถาดผลไม้ ๕ อย่าง อาหารและข้าวของต่างๆเพื่อทำอาหารสำหรับตรุษเต็ต ปัจจุบัน แม้วิถีชีวิตสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ แต่ชาวไทดำยังคงอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
|
ทุกคนมาพร้อมหน้าร่วมรับประทานอาหาร |
คุณลุงยิ้งยืนหน้าหิ้งบูชาบรรพบุรุษไหว้และอธิษฐานขอให้ครอบครัวได้รับการปกป้องคลาดแคล้วจากภัยพิบัติต่างๆ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ลูกหลานเป็นคนดีและเรียนดีตลอดจนเป็นเจ้าคนนายคน วันนี้เป็นวันที่ ๔ เดือนอ้าย ครอบครัวของคุณลุงยิ้งทำอาหารไหว้บรรพบุรุษและเผากระเงินกระดาษทองเพื่อส่งวิญญาณของพวกท่านกลับสู่สวรรค์ อันเป็นการเสร็จสิ้นเทศกาลตรุษเต็ต
ตามประเพณีของคนเวียดนาม วันขึ้นปีใหม่ลูกหลานจะไปอวยพรพ่อผู้ให้กำเนิด วันที่ ๒ จะอวยพรแด่แม่ผู้บังเกิดเกล้าและวันที่ ๓ ไปอวยพรแด่ครูบาอาจารย์ ส่วนตั้งแต่วันที่ ๔ ขึ้นไป แต่ละบ้านจะเลือกเอาวันมงคลสำหรับตนเองเพื่อจัดทำพิธีส่งวิญญาณสู่สวรรค์หรือพิธีเผากระดาษเงินกระดาษทอง
|
ต้มขนมข้าวต้มมัดญวน |
เสร็จสิ้นพิธีจุดธูป ทุกคนในครอบครัวของคุณลุงยิ้งนั่งล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน คุณลุงยิ้งได้เล่าเรื่องประเพณีของชาวไทดำให้ลูกหลานเข้าใจและสืบสานต่อไปเมื่อท่านแก่เฒ่าสังขารไม่อำนวย คุณลุงยิ้งเล่าว่า “ รายงานต่อบรรพบุรุษว่าปีนี้ถาดผลไม้และอาหารมีอะไรบ้าง สำหรับถาดผลไม้นั้นขาดมิได้คือ มะละกอ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กล้วยและกิ่งดอกท้อ ซึ่งเราซื้อเองหรือลูกปลูกในป่าเอามาให้ ส่วนอาหารนั้นมีหลายอย่างและต้องเตรียมก่อน แต่หลักๆคือ เนื้อหมูรมควัน ปลาและไก่ ”
คุณลุงยิ้งเล่าต่อไปว่า ช่วงเทศกาลตรุษเต็ต ทุกคนในครอบครัวจะมาพร้อมหน้าเพื่อร่วมรับประทานอาหาร นอกจากนี้จะมีการจัดเลี้ยงกันกับเพื่อนบ้านเพื่อแสดงว่า บ้านนั้นมีมนุษสัมพันธ์ดีและได้รับความเคารพจากชาวบ้าน ส่วนลูกหลานมาพร้อมหน้าแสดงถึงความสุขของบ้านนั้น เมื้ออาหารเลี้ยงเพื่อนบ้านและญาติมิตรนั้นก็ต้องเลือกวันมงคลและมักจะเริ่มขึ้นประมาณ ๑๐ โมงเช้า ส่วนบ้านหรือตระกูลใดเป็นครอบครัวขยายจะจัดงานเลี้ยงแขกก่อน คุณลุงยิ้งเผยว่า “ พวกเราจะร่วมรับประทานอาหารที่บ้านที่มีคนหลายรุ่นมากที่สุดอยู่ด้วยกันอาทิเช่น ในหมู่บ้านจะมีครอบครัวขยาย ๓ รุ่นหรือ ๒ รุ่น เราจะมาบ้านที่มี ๓ รุ่นก่อน โดยเริ่มตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ ”
สำหรับผู้หญิงนั้น จะรับหน้าที่เป็นแม่ครัวทำความสะอาดบ้านและจ่ายตลาดซึ่งอาหารหลักต้องมีสาหร่ายหินย่าง แกงหน่อไม้และเนื้อหมูย่าง คุณป้าหล่อถิ่เหลื่อง ภรรยาของคุณลุงยิ้งเผยว่า ตั้งแต่เด็กๆ ผู้หญิงไทดำถูกสอนงานบ้านทุกอย่างและการทำอาหารช่วงตรุษเต็ตแสดงให้เห็นความเป็นแม่ศรีเรือนของพวกเขา คุณป้าเหลื่องเผยว่า “ เราจะรับประทานไก่และเนื้อหมูย่างไม่รับประทานเป็ด เมื่อก่อนไม่มีตู้เย็นเราทำอาหารสำเร็จรูปเพื่อไปอวยพรปีใหม่กลับมาจะมีของกินได้เลย แต่เดี๋ยวสะดวกสะบายขึ้นเพราะมีตู้เย็น และเมื่อไปอวยพรปีใหม่กลับมาก็ทำอาหารรับประทานกัน ”
มีอาหารอีกอย่างที่คนไทดำมักจะทำในช่วงตรุษเต็ตคือ ส้มตำไก่ ซึ่งเป็นอาหารดีต่อสุขภาพและเป็นอาหารสมุนไพรที่ทำให้ย่อยอาหารได้ดี คุณลุงยิ้งเผยว่า “ วัตถุดิบหลักคือไก่และเครื่องปรุงต่างๆของชาวไทยดำ เมื่อทำเสร็จต้องออกรสเผ็ด หวาน ขมและเปรี้ยว รสเหล่านี้จะช่วยย่อยอาหารได้ดี”
|
สระผม |
ชาวไทดำยังมีอีกประเพณีที่มักจะทำกันในช่วงก่อนตรุษเต็ตคือ สระผมด้วยน้ำซาวข้าว โดยผู้หญิงไทยดำจะสระผมด้วยน้ำซาวข้าวก่อนวันส่งท้ายปีเก่า น้ำซาวข้าวนั้นต้องทิ้งไว้ ๒ หรือ ๓ วันให้ตกตะกอนแล้วกรองเอาแต่น้ำใสมาสระผมเท่านั้น
ประเพณีฉลองเทศกาลตรุษเต็ตของคนไทดำได้รับการอนุรักษ์มารุ่นแล้วรุ่นเล่า คุณลุงยิ้งกับภรรยาต่างประสงค์ให้รุ่นลูกรุ่นหลานสืนสานประเพณีไหว้บรรพบุรุษให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ./.
Lan Anh – VOV5