มรดกวัฒนธรรมนามธรรม 3 รายการที่มีขอบเขตใหญ่ที่สุดใน 3 ภาคของเวียดนาม
Ba Thi- VOV5 -  
(VOVWORLD) -ภายหลัง 12 ปีที่ศิลปะการแสดงดนตรีพระราชวังเว้ ซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมรายการแรกของเวียดนามได้รับการรับรองจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติหรือยูเนสโกเมื่อปี 2008 จนถึงขณะนี้ เวียดนามมีมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ 13 รายการ สิ่งที่น่าสนใจคือทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนามต่างมีมรดกวัฒนธรรมนามธรรม ต่อไปนี้ ขอแนะนำให้ท่านได้รู้จักมรดกวัฒนธรรมนามธรรม 3 รายการที่มีขอบเขตใหญ่ที่สุดในทั้งสามภาคของประเทศ
พิธีรับหนังสือรับรองศิลปะการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ |
มรดกวัฒนธรรมนามธรรมล่าสุดของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกและเมื่อปี 2019 และเป็นหนึ่งในมรดกที่มีขอบเขตใหญ่ที่สุดในภาคเหนือคือพิธีกรรมในการแสดงการร้องเพลงทำนองแทนของชาวไต หนุ่มและไท โดยครอบคลุมใน 11 จังหวัดในภาคเหนือ เช่น หลางเซิน ห่ายาง กาวบั่ง เตวียนกวาง บั๊กก๋าน ท้ายเงวียน บั๊กยาง กว๋างนิง ลาวกาย เดียนเบียนและลายโจว์ พิธีกรรมในการแสดงการร้องเพลงทำนองแทนเป็นพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ในชีวิตทางจิตใจของชาวไต่ หนุ่งและไทของเวียดนาม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและจักรวาล เอกลักษณ์วัฒนธรรมของ 3 ชนเผ่า รวมทั้ง ขนบธรรมเนียมประเพณี เครื่องดนตรี การระบำรำฟ้อนและดนตรีที่ได้รับสืบทอดและรักษาจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะหมอผีแทนมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆ นาย หลาเวียดแหมง หมอผีแทนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดหลางเซินได้เผยว่า
“ ผมร้องเพลงทำนองแทนโบราณก็เพื่อขอให้อายุยืน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อน การร้องเพลงทำนองแทนโบราณเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไตและหนุ่งในจังหวัดหลางเซิน เนื้อเพลงทำนองแทนกล่าวถึงเอกลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ ส่งเสริมให้ทุกคนเป็นคนดีและมีความสามัคคี”
งานมหกรรมการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อในภาคใต้ |
ศิลปะการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยในภาคกลางได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเมื่อปี 2017 ซึ่งเป็นมรดกที่มีขอบเขตใหญ่ที่สุดในภาคกลางเวียดนามที่ครอบคลุมจังหวัดและนคร 9 แห่งได้แก่กว๋างบิ่ง กว๋างจิ เถื่อเทียนเว้ ดานัง กว๋างนาม กว๋างหงาย บิ่งดิ่ง ฟู้เอียนและแค้งหว่า ศิลปะการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยเป็นเสียงพูดของประชาชนที่ได้รับการสานต่อจากรุ่นสู่รุ่นและพัฒนากลายเป็นศิลปะการแสดงละครเวทีพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคกลาง โดยมีการผสมผสานระหว่างดนตรี สุภาษิต บทกลอน การแสดงและจิตรกรรม ซึ่งเรื่องราวต่างๆในบทเพลงบ่ายจ่อยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักของชายหญิงและประสบการณ์ในชีวิตของประชาชน ในการกล่าวปราศรัยในพิธีรับหนังสือรับรองศิลปะการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2018 ณ เมืองกวีเญิน จังหวัดบิ่งดิ๋ง นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้ยืนยันว่า ศิลปะการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยเป็นกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อความบันเทิงของชุมชนที่มีความคิดสร้างสรรค์
“ การแสดงการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยก็เพื่อแสดงอารมณ์และถ่ายทอดประสบการณ์ในชีวิต การรับฟังการร้องเพลงทำนองบ่ายจ่อยก็เพื่อปลูกกฝังจิตใจแห่งความรักใคร่ ความรักปิตุภูมิและประเทศ วิจารณ์นิสัยที่ไม่ดีและส่งเสริมให้ประชาชนพยายามเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น”
ส่วนศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อในภาคใต้ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเมื่อปี 2013 โดยนิยมร้องกันอย่างแพร่หลายใน 21 จังหวัดและนครในภาคใต้ เช่น อานยาง บ่าเหรียหวุงเต่า บากเลียว เบ๊นแจ บิ่งเยือง บิ่งเฟือก บิ่งถวน ก่าเมา เกิ่นเทอ ด่งท๊าป เหิวยาง เป็นต้น ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประยุกต์ใช้ดนตรีชาววังเว้เข้ากับความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือและภาคใต้อย่างกลมกลืน เป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมนับพันปีของประชาชาติเวียดนาม เอกลักษณ์ของชาวภาคใต้ที่ขยันหมั่นเพียร เรียบง่ายและจริงใจ ซึ่งศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อมีบทบาทพิเศษในชีวิตทางวัฒนธรรมและจิตใจของประชาชนในภาคใต้ มีส่วนร่วมเพิ่มความหลากหลายให้แก่ชีวิตวัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆแต่ศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อยังคงดึงดูดความสนใจจากคนรุ่นใหม่ คุณ ดั๋งห่งจุ๊ก ศิลปินรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลเกรดเอในงานมหกรรมการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อภาคใต้ปี 2019 ได้เผยว่า
“ การร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของดิฉัน แม้จะมีคนบอกว่า การร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อไม่น่าสนใจแต่สำหรับดิฉันเอง การร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อมีความหมายทางจิตใจ”
นอกจากมรดก 3 รายการดังกล่าว เวียดนามยังมีมรดกวัฒนธรรมนามธรรมอีก 10 รายการที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกได้แก่ ศิลปะการแสดงดนตรีพระราชวังเว้และ ศิลปะการแสดงฆ้องเตยเงวียนที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2008 ศิลปะการร้องเพลงกวานเหาะบั๊กนิงและศิลปะการร้องเพลงทำนองกาจู่ที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2009 เทศกาลเทพเจ้าย้องในวิหารฝู่ด๋งและวิหารซอกที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2010 การร้องเพลงทำนองซวานที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2011 พิธีสักการะบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2012 การร้องเพลงทำนองพื้นเมืองเหงะติ๋งที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2014 และการเล่นชักกะเย่อที่ได้รับการรับรองเมื่อปี 2015 ซึ่งเป็นมรดกระดับชาติของทั้งเวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี ฟิลิปปินส์และกัมพูชาและประเพณีบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเมื่อปี 2016 การที่เวียดนามมีมรดกวัฒนธรรมมนามธรรมจำนวนมากได้เป็นการยืนยันถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม การเชื่อมโยงในชุมชน การยกย่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการพบปะพูดคุยระหว่างกันทั้งในระดับประชาชน ประชาคมและชนเผ่าต่างๆเพื่อส่งเสริมความรักและความเมตตาตามเป้าหมายของอนุสัญญาปี 2003 เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของยูเนสโก.
Ba Thi- VOV5