(VOVWORLD) -ในการปฏิบัติโครงการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลอย่างเข้มแข็งของรัฐบาล ในปี 2023 นครโฮจิมินห์ได้ตั้งเป้าหมายปฏิบัติกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลของหน่วยงานสาธารณสุขนครโฮจิมินห์ นั่นคือ การจัดทำเวชระเบียนดูแลสุขภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ประชาชนและฐานข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งรูปแบบและสิ่งใหม่ๆ ในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลด้านสาธารณสุขได้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงพยาบาลเนื้องอกหมายเลข 2 นครโฮจิมินห์ |
นางเหงียนถิบิ๊กทู อาศัยที่เขตก่อเวิบ นครโฮจิมินห์ ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลประชาชนยาดิ่งห์ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำการสแกนลายนิ้วมือ ลงทะเบียนผ่าน kios ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและบัตรประกันสุขภาพ แล้วรับบัตรคิว ซึ่งทุกขั้นตอนใช้เวลาไม่นาน นาง เหงียนถิบิ๊กทู กล่าวว่าเธอรู้สึกพึงพอใจต่อบริการของที่นี่เป็นอย่างมาก
“โรงพยาบาลใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือช่วยให้การทำเวชระเบียนรวดเร็วและสะดวกมาก ไม่ต้องรอที่เคาน์เตอร์ เราสามารถทำเองได้ และใช้เวลาแค่ 1 นาทีเท่านั้นแม้ที่โรงพยาบาลจะมีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมากก็ตาม”
การนำระบบเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์มาใช้คือหนึ่งในการยกระดับคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลประชาชนยาดิ๋งห์ ซึ่งสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้วในการมาใช้บริการครั้งต่อไปก็แค่สแกนลายนิ้วมือเท่านั้นข้อมูลต่าง ๆ เช่น บัตรประกันสุขภาพ บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น ก็จะแสดงบนหน้าจอทันที
แพทย์หญิง เหงียนถิหมีลิงห์ หัวหน้าแผนกตรวจผู้ป่วยของโรงพยายบาลประชาชนยาดิ๋งห์เผยว่า ปัจจุบันนี้ มีผู้ป่วยราว 20,000 คนที่ลงทะเบียนกับทางโรงพยาบาลแล้ว โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 นาทีก็สามารถรับบัตรคิวและมารอที่ห้องตรวจ แต่ถ้าหากทำเวชระเบียนแบบธรรมดาจะต้องเสียเวลามาก แพทย์หยิง เหงียนถิหมีลิงห์ กล่าวว่า
“การแจกบัตรคิวผู้ป่วยผ่าน kios อัจฉริยะช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ ความถูกต้องในการทำเวชระเบียนและรักษาสิทธิผลประโยชน์ของผู้ป่วยที่ใช้บัตรประกันสุขภาพตามข้อกำหนด ป้องกันการใช้บัตรประกันสุขภาพอย่างไม่ถูกต้อง”
ทางโรงพยาบาลได้ใช้ซอฟแวร์ AI EyeDr ในการอ่านผลวินิจฉัยในการรักษาโรคเส้นประสาทตาอักเสบ |
ส่วนที่โรงพยาบาลเนื้องอกหมายเลข 2 นครโฮจิมินห์ ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งถึงขณะนี้ ทางโรงพยาบาลฯ ได้เสร็จสิ้นการติดตั้งระบบการทำเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ มีการเชื่อมโยงผลการตรวจกับและภาพx-ray และทางโรงพยาบาลกำลังร่วมมือกับศูนย์วิจัยต่างๆ ในการผลิตซอฟแวร์ระบุจุดที่เกิดเนื้องอกและวางแผนการรักษา เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ทางโรงพยาบาลได้ให้การรักษาผู้ป่วยร้อยละ 80 จากจังหวัดใกล้เคียง ดังนั้น การให้คำปรึกษาและการตรวจรักษาโรคทางไกลถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ให้แก่ผู้ป่วยที่อยู่ไกลจากโรงพยาบาลฯ
ส่วนที่โรงพยาบาลจักษุนครโฮจิมินห์ เมื่อปีที่แล้ว ทางโรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการรักษา โดยใช้ซอฟแวร์ AI EyeDr ในการอ่านผลวินิจฉัยในการรักษาโรคเส้นประสาทตาอักเสบซึ่งใช้เวลาแค่ 8-12 วินาทีและมีความแม่นยำถึงกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ EyeDr ยังสนับสนุนแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาทางไกลแก่ผู้ป่วย ช่วยให้การรักษามีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
นายแพทย์ เลแองต๊วน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจักษุนครโฮจิมินห์ได้เผยว่า ผลสำเร็จดังกล่าวมาจากการที่ทางโรงพยาบาลฯ ได้ลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเศและการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของแผนการดำเนินงานของทางโรงพยาบาลฯ โดยทุก ๆ ปี ทางโรงพยาบาลได้พัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีเพื่อยักระดับคุณภาพการรักษาของโรงพยาบาลฯ
“ปัจจัยแรกคือมนุษย์ ซึ่งเพื่อปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี จำเป็นต้องมีมนุษย์แห่งยุคดิจิทัล ปัจจัยที่สองคือต้องมียุทธศาสตร์และแผนการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และในระยะยาว ดังนั้น ทางโรงพยาบาลฯ ได้ปฏิบัติทุกขั้นตอนในการสร้างสรรค์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนภารกิจนี้”
อาจกล่าวได้ว่า การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารและสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยได้ช่วยปรับปรุงระบบสาธารณสุขในนครโฮจิมินห์ให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ หน่วยงานสาธารณสุขนครโฮจิมินห์กำลังมุ่งสู่การสร้างสรรค์และปรับปรุงโรงพยาบาลอัจฉริยะให้มีความสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการรักษาและดูแลสุขภาพประชาชน.