การประชุมรัฐบาลประจำเดือนกันยายน: จีดีพีสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011
(VOVWORLD) - เช้าวันที่ 1 ตุลาคม รัฐบาลเวียดนามได้จัดการประชุมประจำเดือนกันยายนภายใต้อำนวยการของนายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กเพื่อเตรียมรายงานฉบับสมบูรณ์ให้แก่การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 8 สมัยที่ 12 และการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 6 สมัยที่ 14 ที่จะมีขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ – สังคมในเดือนกันยายนและใน 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2018
การประชุมรัฐบาลประจำเดือนกันยายน: จีดีพีสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 (Photo VNplus)
|
ในการกล่าวปราศรัยในการประชุม นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุ๊กได้ชื่นชมผลสำเร็จที่โดดเด่นและรอบด้านของเศรษฐกิจสังคมเวียดนาม ซึ่งจีดีพีในเดือนกันยายนได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.98 สูงที่สุดในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่ปี 2011 ความสำเร็จของการประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลก-อาเซียน หรือ WEF – ASEAN ณ กรุงฮานอย ซึ่งเป็นกิจกรรมการต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของเวียดนามในปี 2018 ได้รับคำชื่นชมจากประเทศต่างๆว่า เป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในตลอด 27 ปีที่ WEF จัดการประชุมในอาเซียนและเอเชียตะวันออก ควบคู่กันนั้นคือการเปิดตัวคณะกรรมการควบคุมเงินทุนภาครัฐในสถานประกอบการเมื่อวันที่ 30 กันยายน นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้แสดงความประสงค์ว่า การเปิดตัวดังกล่าวจะช่วยให้การประกอบธุรกิจของสถานประกอบการภาครัฐมีประสิทธิภาพ เปิดเผย โปร่งใสและมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาของประเทศมากขึ้น
นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กยังกล่าวย้ำถึงความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนและกำชับให้รัฐมนตรีและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆต้องเกาะติดสถานการณ์เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งหารือและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ที่อยู่ภายใต้อำนาจของตนเพื่อมีมาตรการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ในปี 2018 และสร้างพื้นฐานให้แก่ปี 2019
ส่วนในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุ๊กได้ชี้นำให้ธนาคารชาติเวียดนามเกาะติดสถานการณ์โลกต่อไปเพื่อมีมาตรการแก้ไขอย่างทันการณ์เพื่อรักษาความมีเสถียรภาพ คาดว่า จะมีกระแสการลงทุนเข้าสู่เวียดนาม ดังนั้นกระทรวงวางแผนและการลงทุนต้องพิจารณาเพื่อรับโอกาสนี้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจ แม้สภาแห่งชาติมอบหมายหน้าที่ให้บรรลุร้อยละ 6.7 แต่รัฐบาลจะพยายามให้บรรลุมากขึ้น การผลิตการเกษตรต้องเน้นถึงการแปรรูป การส่งออกและการสร้างสรรค์ห่วงโซ่มูลค่า เป็นต้น.