การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์
(VOVworld) – ศาสตราจารย์กาลีเต ธาเยอจากสถาบันกลาโหมออสเตรเลียกล่าวว่า การพิพาทเกี่ยวกับอำนาจและอธิปไตยในเขตทะเลรอบๆหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลในปัจจุบันต้องได้รับการแก้ไขบนพื้นฐานของกฎหมายสากล
|
เรือจีนฉีดน้ำแรงดันสูงใส่เรือเวียดนาม(Photo:Dan tri) |
(VOVworld) – วันที่๒๐เดือนนี้ ที่นครดานังได้มีการจัดการสัมมนาเป็นเวลา๒วันโดยมีวิทยากร นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศกว่า๑๐๐คนเข้าร่วมซึ่งเป็นการสานต่อการสัมมนาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ แง่มุมทางประวัติศาสตร์และนิตินัย ณ จังหวัดกว๋างหงาย เมื่อเดือนเมษายนปี๒๐๑๓ ที่สัมมนาเน้นหารือถึงปัญหาต่างๆ เช่น บทบาทและสถานะของหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ในทะเลตะวันออก การพิพาทเหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งและผลกระทบต่อสันติภาพ ความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก การกำหนดและปฏิบัติอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะสองแห่งนี้ผ่านมุมมองของกฏหมายสากล ความคืบหน้า มาตรการแก้ไขการพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าว และปฏิบัติการของจีนที่ติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม
เช้าวันเดียวกัน ในการอภิปรายครั้งแรกในหัวข้อ“ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการพิพาทในหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์และผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงภูมิภาค ” ศาสตราจารย์กาลีเต ธาเยอจากสถาบันกลาโหมออสเตรเลียกล่าวว่า ปฏิบัติการเพียงลำพังฝ่ายเดียวของจีนที่ติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามกำลังสร้างปัญหาทางประวัติศาสตร์ การเมืองและนิตินัยที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องถึงคำเรียกร้องเกี่ยวกับอธิปไตยและยืนยันว่า การพิพาทเกี่ยวกับอำนาจและอธิปไตยในเขตทะเลรอบๆหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลในปัจจุบันต้องได้รับการแก้ไขบนพื้นฐานของกฎหมายสากล รวมทั้ง อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี๑๙๘๒“ผมเห็นว่า พวกเราต้องหารือถึงปัญหาแท่นขุดเจาะและผลกระทบของปัญหาดังกล่าวในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและจีนซึ่งเป็นประเทศสมาชิกก็จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหานี้ สหประชาชาติในฐานะอนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้จีนถอนแท่นขุดเจาะเพื่อรักษาสันติภาพในภูมิภาค”
|
รองศาสตราจารย์ ดร.ฝ่ามดังเฟือก อธิการบดีมหาวิทยาลัยฝ่ามวันด่งซึ่งเป็นหน่วยงานจัดการสัมมนาเผยว่า“เมื่อปี๒๐๑๓ มหาวิทยาลัยฝ่ามวันด่ง ที่จังหวัดกว๋างหงายได้จัดการสัมมนาซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่นักวิทยากรต่างชาติ จากความเห็นของวิทยากรต่างชาติจำนวนมาก พวกเราจึงจัดการสัมมนาครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ความหมายทางประวัติศาสตร์และนิตินัยเกี่ยวกับอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าว แน่นอนว่า การสัมมนาจะได้รับความสนใจจากวิทยากร และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศเพราะการสัมมนาได้รับการจัดขึ้นในขณะที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามอย่างผิดกฏหมาย”
โอกาสนี้ จะมีการจัดการสัมมนาในหัวข้อหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีเป็นดินแดนที่ไม่อาจแยกออกจากเวียดนาม ณ พิพิธภัณฑ์ดานังในวันที่๒๑เดือนนี้./.