นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงเข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 7

(VOVworld) – การประชุมผู้นำแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 ได้มีขึ้น ณ กรุงโตเกียว โดยมีผู้นำประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนามและญี่ปุ่นเข้าร่วม

นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงเข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 - ảnh 1
นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงเข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 7

(VOVworld) – วันที่ 4 กรกฎาคม การประชุมผู้นำแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 ได้มีขึ้น ณ กรุงโตเกียว โดยมีผู้นำประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนามและญี่ปุ่นเข้าร่วม โดยคณะผู้แทนเวียดนาม นำโดยท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม โอกาสนี้ ผู้นำทุกประเทศได้อนุมัติยุทธศาสตร์โตเกียว 2015 โดยเป้าหมายสำคัญของความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นระยะปี 2016-2018คือ รักษาเสถียรภาพให้แก่ภูมิภาคและบรรลุ “การขยายตัวที่มีคุณภาพ”ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง  เพื่อปฏิบัติยุทธศาสตร์โตเกียว ผู้นำทุกท่านได้เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจร่างแผนการปฏิบัติและ “วิสัยทัศน์พัฒนาอุตสาหกรรมแม่โขง”
ในแถลงการณ์ร่วมแม่โขง – ญี่ปุ่น ผู้นำทุกท่านได้ย้ำถึงความสำคัญของมหาสมุทร ซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของโลก ยืนยันถึงความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อปกป้องการเดินเรืออย่างปลอดภัยในภูมิภาค ย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพและจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว ผู้นำทุกท่านยังยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นที่จะปกป้องเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน ความปลอดภัยในการเดินเรือ การค้าขายทางทะเลและแก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธีตามกฎหมายสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982
ในการกล่าวปราศรัยในการประชุม นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงได้ระบุเนื้อหาสำคัญ 3 ประเด็นที่ความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นควรเน้นให้ความสนใจในเวลาข้างหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมาย “การขยายตัวที่มีคุณภาพ” ในประเทศสมาชิก ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการประชุม ท่านเหงียนเติ๊นหยุงได้ย้ำว่า “ผลที่น่ายินดีของการประชุมครั้งนี้คือการอนุมัติ “ยุทธศาสตร์โตเกียว 2015” โดยมีการวางแนวทางใหญ่ๆให้แก่ความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นระยะปี 2016-2018 ส่วนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ดังกล่าวคือผลักดัน “การขยายตัวที่มีคุณภาพ”ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและเปิดโอกาสแห่งความร่วมมือใหม่ระหว่างญี่ปุ่นกับบรรดาประเทศแม่โขงเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ เพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การรัฐบาลเท่านั้นหากยังมีการเข้าร่วมของสถานประกอบการ องค์การทางสังคม มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ที่ประชุมยังเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการแม่โขงในการบริหารและใช้แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน”
นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงยังแลกเปลี่ยนทัศนะร่วมกันของที่ประชุมและย้ำว่า การพิพาทอธิปไตยในทะเลตะวันออกกำลังมีขึ้นอย่างซับซ้อน การปรับปรุงและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในขอบเขตอันกว้างขวางได้เปลี่ยนสภาพเดิมของเกาะและโขตหินในทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายสากลและแถลงการณ์ดีโอซี ลดความไว้วางใจและเพิ่มความตึงเครียดในภูมิภาค นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงยืนยันว่า การรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง การเดินเรืออย่างเสรีและปลอดภัยในทะเลตะวันออกคือความปราถนา ผลประโยชน์และหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันของทุกประเทศทั้งภายในและนอกภูมิภาค./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด