นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง และนาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการลงทุนและนวัตกรรมระหว่างเวียดนามกับสหรัฐ
(VOVWORLD) - ในกรอบการเยือนเวียดนามเช้าวันที่ 11 กันยายน ณ กรุงฮานอย นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง และนาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการลงทุนและนวัตกรรมเวียดนาม – สหรัฐ โดยมีนาย เหงียนชี้หยุง รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม และนาย แอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐร่วมเป็นประธานการประชุม
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง และนาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการลงทุนและนวัตกรรมระหว่างเวียดนามกับสหรัฐ |
ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เสนอให้สถานประกอบการของทั้งสองประเทศสงวนเวลา สติปัญญาและแหล่งพลังต่างๆให้แก่การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ การเติบโตแห่งสีเขียว พลังงานหมุนเวียน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจหมุนเวียน
นายกรัฐมนตรีเผยว่า เวียดนามได้พยายามแก้ไขผลร้ายจากสงคราม เปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก ตั้งเป้าหมายว่า จนถึงปี 2030 เวียดนามจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมที่ทันสมัยและมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในระดับสูง และจนถึงปี 2045 จะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาและมีรายได้สูง ดังนั้น เวียดนามจึงกำหนดว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนหลักให้แก่การพัฒนาประเทศ
นายกรัฐมนตรีมีความปรารถนาว่า จะยังคงได้รับการสนันสนุนด้านเงินทุน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงจากชุมชนสถานประกอบการสหรัฐเพื่อช่วยให้เวียดนามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเติบโตและปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศตามแนวทางพัฒนาแห่งสีเขียว รวดเร็ว ยั่งยืนและครอบคลุม
ส่วนนาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้เห็นพ้องกับความเห็นของนายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง โดยแสดงความเห็นว่า ขณะนี้เป็นโอกาสเพื่อให้ทั้งสองประเทศส่งเสริมความสัมพันธ์ ไม่เพียงแต่ในด้านการลงทุนและนวัตกรรมเท่านั้น หากยังในทุกด้านเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งสองฝ่าย สหรัฐจะร่วมมือและสนับสนุนเวียดนามในการใช้โอกาสและศักยภาพของตน เสนอให้เวียดนาม รวมทั้ง สถานประกอบการเวียดนามร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมการพัฒนา รวมถึงด้านต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยี นวัตกรรม อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ การเปลี่ยนแปลงสีเขียว การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งมากขึ้นต่อห่วงโซ่คุณค่าระดับภูมิภาคและระดับโลก.