ประเทศต่างๆให้คำมั่นที่จะผลักดันการปฏิบัติสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(VOVWORLD) -วันที่ 3 สิงหาคม ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 55 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ภาพการประชุม |
ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEANWFZ ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกในกรอบการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 55 และการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะผู้แทนเวียดนามนำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ บุ่ยแทงเซิน ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในการนี้ ประเทศต่างๆให้คำมั่นที่จะผลักดันการปฏิบัติสนธิสัญญา SEANWFZ ยืนยันผลงานที่ได้บรรลุในการปฏิบัติแผนปฏิบัติงานเพื่อผลักดันการปฏิบัติ SEANWFZ ในช่วงปี 2018-2022 ความร่วมมือเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการรับมืออุบัติการณ์ทางรังสีและนิวเคลียร์ รวมทั้งการจัดตั้งกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เห็นพ้องขยายเวลาการปฏิบัติแผนปฏิบัติงานในช่วงปี 2022 -2026
ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม รัฐมนตรี บุ่ยแทงเซิน ได้ยืนยันถึงคุณค่าของสนธิสัญญาดังกล่าวในสภาวการณ์ที่สถานการณ์โลกมีความไร้เสถียรภาพและซับซ้อนในปัจจุบัน เสนอให้อาเซียนเชิดชูบทบาทและคุณค่าของ SEANWFZ ร่วมกับประชาคมโลกค้ำประกันความมั่นคงและความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ แสวงหามาตรการเพื่อมุ่งสู่การลงนามพิธีสาร SEANWFZ
ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ บุ่ยแทงเซิน ได้พบปะกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศลาว สะเหลิมไซ กมมะสิด ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะปฏิบัติข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศในช่วงปี 2021 -2025 รวมทั้งกลไกต่างๆ เช่น การทาบทามความคิดเห็นทางการเมืองระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการทูตเชิงเศรษฐกิจ ผลักดันการประสานงานและสนับสนุนกันในฟอรั่มระหว่างประเทศ ส่งเสริมความสามัคคีและบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
นอกรอบการประชุม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเพื่อนมิตรแม่โขงหรือ FOM โดยมีการเข้าร่วมของตัวแทนประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขงและหุ้นส่วนการพัฒนา คณะผู้แทนเวียดนามได้เสนอประเด็นที่ต้องให้ความสนใจในการปฏิบัติโครงการเชื่อมโยงระหว่างเขต โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์และคมนาคม ให้ความสำคัญต่อการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มทักษะความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การบริหารแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ การปฏิบัติโครงการเพิ่มทักษะความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจมหภาค การเปลี่ยนแปลงใหม่นวัตกรรมและการพัฒนาการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง.