เวียดนามให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคและหุ้นส่วนต่างๆ

(VOVWORLD) -ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง พร้อมคณะผู้แทนระดับสูงของเวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น การประชุมสุดยอดอาเซียน +3 การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดียครั้งที่ 21 และการประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-แคนาดา

เวียดนามให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคและหุ้นส่วนต่างๆ - ảnh 1บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น 

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 27  นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ย้ำว่า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนควรเป็นพลังขับเคลื่อหลักของความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย มีส่วนร่วมผลักดันการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น พร้อมทั้งเสนอให้สถานประกอบการญี่ปุ่นขยายการลงทุนในอาเซียน ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการอาเซียนในการเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานของสถานประกอบการญี่ปุ่น  พัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและแรงงานที่มีฝีมือดี ผลักดันพลังขับเคลื่อนแห่งการขยายตัวในด้านการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล เซมิคอนดักเตอร์ เศรษฐกิจแห่งสีเขียว เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น

ส่วนในการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 ครั้งที่ 27 ซึ่งประกอบด้วย อาเซียนกับ 3 ประเทศหุ้นส่วน ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและจีน นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ย้ำถึง 3 แนวทางการพัฒนาความร่วมมือของอาเซียน +3  โดยต้องค้ำประกันการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน เสนอให้ปฏิบัติแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน +3 เกี่ยวกับการผลักดันการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเพื่อผลักดันการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้าและการลงทุน การรักษาเสถียรภาพทางการเงินและเปิดตลาด ใช้ประโยชน์จากพลังขับเคลื่อนการขยายตัวใหม่เพื่อนำผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมาให้แก่ประชาชนและประเทศต่างๆในภูมิภาค เสนอให้อาเซียน+3 ผลักดันความร่วมมือในการรับมือภัยธรรมชาติและลดผลเสียหายจากภัยธรรมชาติ ให้ความสนใจต่อความร่วมมือด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน การปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียครั้งที่ 4  นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เสนอให้อาเซียนและออสเตรเลียสร้างสรรค์ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านระหว่างสองฝ่าย ประสานงานในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนส่งเสริมพลังขับเคลื่อนใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมและการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนกันในการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขยายความร่วมมือ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน การปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ส่วนในการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดียครั้งที่ 21 นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ย้ำว่า อาเซียนและอินเดียควรส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การพัฒนาเชิงก้าวกระโดด ส่งเสริมจุดแข็งที่สนับสนุนกันและเปิดตลาดต่อกัน ควบคู่กันนั้น ขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีหลัก เซมิคอนดักเตอร์ เศรษฐกิจดิจิทัล การฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น  พร้อมทั้งแสดงความประสงค์ว่า  อินเดียจะร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติกรอบความร่วมมือแม่โขง-คงคา ที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการผลักดันความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ในทุกด้านอาเซียน-อินเดียเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรือในภูมิภาคและแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล

ในการประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-แคนาดาเกี่ยวกับการยกระดับความเชื่อมโยงและความยืดหยุ่น นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายผลักดันการแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน เสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาในปี 2025  เสนอให้แคนาดาผลักดันความร่วมมือในการเพิ่มทักษะความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ช่วยเหลืออาเซียน โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการปรับเปลี่ยนด้านพลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรับมือภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น แคนาดาจะให้ความช่วยเหลืออาเซียนในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจแห่งสีเขียว เศรษฐกิจหมุนเวียนและความมั่นคงในโลกไซเบอร์ ที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการยกระดับความเชื่อมโยงและความยืนหยุ่น

ในการประชุมต่างๆ นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ยืนยันความสำคัญของบรรยากาศที่สันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพ ไม่มีสงคราม อำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาของประเทศต่างๆและภูมิภาค พร้อมทั้งย้ำว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือต้องให้ความเคารพกฎหมายสากล กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 การสนทนาอย่างตรงไปตรงมา แก้ไขปัญหาการพิพาทด้วยสันติวิธี ร่วมกันรับมือความท้าทายต่างๆของโลก. 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด