แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒
(VOVWorld) – แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒
|
การแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒(Photo:Internet) |
(VOVWorld) – การแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒เป็นการดำเนินชีวิตทางการเมืองอย่างกว้างขวางและกำลังได้รับความสนใจจากประชาชนทุกชั้นชนซึ่งเมื่อวันที่๒๘กุมภาพันธ์ จังหวัดVĩnh Longได้จัดการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวโดยบรรดาผู้แทนเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี๑๙๙๒ให้มีเนื้อหาที่ชัดเจนและเป็นวิทยาศาสตร์ รักษาทัศนะทางการเมืองและทำความกระจ่างแจ้งคุณลักษณะของรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญควรยืนยันถึงอธิปไตยของเวียดนามต่อดินแดน น่านฟ้า น่านน้ำและเกาะแก่ง รวมทั้งหมู่เกาะTrường Saหรือ เสปรตลีและHoàng Sa หรือพาราเซลที่ไม่อาจละเมิดได้ ในวันเดียวกัน จังหวัด Thừa Thiênเว้ก็ได้จัดการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวซึ่งบรรดาผู้แทนได้แสดงความชื่นชมเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการศึกษาและฝึกอบรบแหล่งบุคลากรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของประเทศ ผู้แทนจำนวนมากได้เสนอให้เพิ่มเติมเนื้อหา การลงทุนให้แก่การศึกษาเป็นการลงทุนให้แก่การพัฒนาโดยในเฉพาะหน้าต้องสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจนถึงปี๒๐๒๐ เกี่ยวกับบทบาทการตรวจสอบและการรับฟังเสียงสะท้อนจากสังคมของแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามที่ระบุในมาตราที่๙ บรรดาผู้แทนเห็นว่า นี่เป็นก้าวพัฒนา ดังนั้นควรมีข้อกำหนดที่เป็นรูปธรรม และชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้แทนจำนวนมากเห็นว่า การทำประชาพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญเป็นการส่งเสริมสิทธิการเป็่นเจ้าของ สติปัญญา ไฟแห่งความเร่าร้อนของประชาชนทุกชั้นชนพร้อมทั้งส่งเสริมพลังที่เข้มแข็งของกลุ่มมหาสามัคคีชนในชาติ
ส่วนเช้าวันที่ ๑ มีนาคม ณ กรุงฮานอย สหพันธ์เยาวชนเวียดนามส่วนกลางได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขปี ๑๙๙๒ โดย มาตรา ๖๖ของรัฐธรรมนูญปี ๑๙๙๒ ระบุเกี่ยวกับบทบาท สถานะและกิจกรรมของเยาวชน แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขปี ๑๙๙๒ ได้ยกเลิกมาตราดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นว่า ควรพิจารณาประเด็นนี้อย่างละเอียดและรอบคอบ คุณถ่าวถุ่ยลิงห์ จังหวัดเอียนบ๊ายเห็นว่า “ ต้องคงมาตรา ๖๖ ไว้โดยทำการแก้ไขและเสริมเพราะนี่เป็นมาตราเกี่ยวกับบทบาทของเยาวชนในสังคม เอกสารและมติของพรรคทุกฉบับต่างระบุว่า เยาวชนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของสังคมและเป็นพลังอันเข้มแข็งของชาติ เยาวชนแข็งแกร่งประชาชาติก็แข็งแกร่งตามไปด้วยและภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศจะประสบผลก็ต่อเมื่อมีการเข้าร่วมของกองกำลังเยาวชน ”
ที่ประชุมยังแสดงความคิดเห็นต่อสิทธิในการศึกษาเล่าเรียนและศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ โดยเห็นว่า รัฐธรรมนูญควรระบุรายละเอียดนโยบายค้ำประกันสิทธิในการศึกษาและวิจัยวิทยาศาสตร์ของทุกคน ซึ่งถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐ อีกทั้งควรเสริมข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารของรัฐต่อการศึกษา วางยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาการศึกษา ปรับปรุงระบบการศึกษาให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม พร้อมทั้งอำนายความสะดวกให้แก่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และการวิจัยวิชาการต่างๆ.