ตำบล ซวนยาง อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าด้านวัฒนธรรมของชนเผ่าไต
Vinh Phong/VOV5 -  
(VOVWORLD) - ตำบลซวนยาง อำเภอ กวางบิ่งห์ จังหวัดห่ายาง มีประชากรกว่าร้อยละ 90 เป็นชนเผ่าไต เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไต โดยเฉพาะเพลงและดนตรีพื้นเมือง ตำบลซวนยางได้ก่อตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้านเพื่อเป็นสะพานเชื่อมในการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าในท้องถิ่น
ชนเผ่าไตในตำบลซวนยาง อำเภอกวางบิ่งห์ จังหวัดห่ายาง (baohagiang) |
ในคลังวัฒนธรรมของชนเผ่าไต รวมทั้งตำบลซวนยาง อำเภอกวางบิ่งห์ จังหวัดห่ายาง เพลงพื้นเมืองแทน เพลงพื้นเมือง เอี๊ยวและเพลงโต้ตอบหาคู่ เป็นหนึ่งในคุณค่าวัฒนธรรมที่โดดเด่นแห่งเอกลักษณ์ โดยในเทศกาลต่างๆ เช่นเทศกาลแรกนาขวัญหรือโหล่งโต่ง เทศกาลทำข้าวเม่า เทศกาลเงวียนเตียว หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามจันทรคติ เทศกาลวูลานหรือเทศกาลแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ หนุ่มสาวจะเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองและหาเพื่อนเพื่อร้องเพลงโต้ตอบหาคู่
วันนี้ บ้านของนาย หว่างวันบิ๊ง นายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านตำบล ซวนยาง มีศิลปินหลายคนพร้อมเด็กๆมาเรียนการเล่นพิณติ๋งและร้องเพลงพื้นเมือง นาย หว่างวันบิ๊ง เผยว่า สมาคมศิลปินพื้นบ้านของตำบลได้รับการก่อตั้งเมื่อปี2012 รวมสมาชิกกว่า 30 คน ซึ่งส่วนใหญ่คือกำนันผู้ใหญ่บ้านและ ผู้สูงอายุที่ยังคงอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองและอาชีพพื้นเมือง จนถึงปัจจุบัน จำนวนสมาชิกของสมาคมฯมีสูงถึงเกือบ 100 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน 9 แห่ง ทุกเดือน นอกจากการสอนอาชีพพื้นเมือง ศิลปินยังสอนการร้องเพลงทำนองและการเต้นรำอีกด้วย นาย หว่างวันบิ๊ง ในหมู่บ้าน เกวี่ยน ตำบล ซวนยาง เผยว่า “ผมคิดว่า การร้องเพลงแทน เอี๊ยว และการเล่นดนตรีพื้นเมืองได้หายไปแล้ว ซึ่งปัจจุบัน ต้องฟื้นฟู อนุรักษ์และส่งเสริม เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ ตั้งแต่การร้องเพลงแทน ไปจนถึงการเล่นดนตรีพื้นเมืองยังคงได้รับการอนุรักษ์ในทุกครอบครัวในตำบลซวนยาง”
นอกจากการสืบทอดการร้องเพลงและการเต้นรำพื้นเมืองในหมู่บ้านต่างๆในท้องถิ่นแล้ว สมาคมศิลปินตำบลซวนยางยังจัดการสอนร้องเพลงและการเต้นรำในโรงเรียนต่างๆ โดยในฤดูร้อน เมื่อนักเรียนเลิกเรียน ทางสมาคมฯจะเปิดชั้นเรียนหลายชั้น โดยแต่ละชั้นเรียนมีเด็กกว่า 40 คนเข้าร่วม นาย หว่างวันบิ๊ง เผยต่อไปว่า “เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าไตมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นเฉพาะ การร้องเพลงพื้นเมืองหรือเป่าขลุ่ยมักจะประกอบการเต้นรำพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆ และมีเนื้อร้องที่แตกต่างกัน”
ไม่เพียงแต่ทุ่มเทสอนการร้องเพลงพื้นเมืองให้แก่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ศิลปินในซวนยางยังเก็บสะสม วิจัย ประพันธ์เพลงพื้นเมืองและคิดค้นการเต้นรำของชนเผ่าไตอย่างต่อเนื่อง ศิลปิน หว่างถิเถิบ ในหมู่บ้าน เกวี่ยน ตำบล ซวนยาง เผยว่า ถึงแม้สมาคมศิลปินพื้นเมืองไม่มีเงินดำเนินงาน แต่ด้วยความทุ่มเททำงาน บรรดาศิลปินได้หาเงินเองเพื่อเปิดชั้นเรียนสอนการร้องเพลงและการเต้นรำพื้นเมืองให้แก่เด็กๆ “ดิฉันเรียนร้องเพลงตั้งแต่อายุ 15 ปี และต่อจากนั้นดิฉันก็เป็นศิลปินท้องถิ่น เมื่อก่อนดิฉันเรียนเต้นรำ เป็นสมาชิกของคณะศิลปินและไปแสดงในตำบลต่างๆ หลังจากดำเนินงานมาหลายสิบปี ปัจจุบัน พวกเรามีหน่วยศิลปินพื้นบ้าน ซึ่งทำให้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กับท้องถิ่นต่างๆ การอนุรักษ์ช่วยให้ศิลปินมีโอกาสสอน สืบทอดให้แก่ลูกหลาน ซึ่งพวกเขาให้ความสนใจมาก ดิฉันเคยไปสอนที่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ซวนยาง”
ทุกเดือน ที่หอวัฒนธรรมของหมู่บ้านในตำบล ชั้นเรียนเกี่ยวกับเพลงและดนตรีพื้นเมืองยังคงมีขึ้นเป็นประจำ เด็กๆสนใจศึกษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าตนเป็นอย่างมาก คุณ หว่าง ถิ ยือ กวิ่ง อายุ 16ปี ในหมู่บ้าน เกวี่ยน เผยว่า “ดิฉันเรียน ฝึกร้องเพลงและดนตรีพื้นเมืองตอนอายุ 13 ปี และแสดงในสถานที่หลายแห่ง ดิฉันเข้าร่วมการประกวดและงานเทศกาลต่างๆในท้องถิ่น อาจารย์ หว่างวันบิ๊งสอนได้ 3 ปี ขณะนี้ ดิฉันร้องเพลงทำนองแทนและเพลงพื้นเมือง ดิฉันมีความภาคภูมิใจที่เป็นชนเผ่าไต ได้เรียนได้รู้จักและอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าตน”
การอนุรักษ์และพัฒนากิจกรรมของสมาคมศิลปินพื้นบ้าน พร้อมกับความทุ่มเทและความพยายามของศิลปินได้ช่วยให้ตำบล ซวนยาง อนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าไตในท้องถิ่น ในเวลาที่จะถึง ตำบล ซวนยาง จะผลักดันกิจกรรมด้านวัฒนธรรมพื่อให้ศิลปินมีโอกาสพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อมีแนวทางที่มั่นคงในการอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าไต.
Vinh Phong/VOV5