สร้างสรรค์ชนบทใหม่ในจังหวัดยาลาย: การเปลี่ยนแปลงใหม่บนพื้นฐานเก่า
Bùi Hằng-VOV5 -  
(VOVworld) – ปัจจุบัน จังหวัดยาลายเป็นจังหวัดที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติตามโครงการที่เป็นเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตที่ราบสูงไตเงียนโดยมีตำบล 5 แห่งบรรลุมาตรฐาน 19 ข้อตามที่ทางการกำหนดไว้ ในจำนวนนี้มีบางตำบลในเขตที่ยากจนรวมอยู่ด้วย การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานโดยยึดหลักบนพื้นฐานเก่าได้ช่วยให้ตำบลเหล่านี้มีความก้าวหน้าอย่างน่าประทับใจในหลายด้าน
(VOVworld) – ปัจจุบัน จังหวัดยาลายเป็นจังหวัดที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติตามโครงการที่เป็นเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตที่ราบสูงไตเงียนโดยมีตำบล 5 แห่งบรรลุมาตรฐาน 19 ข้อตามที่ทางการกำหนดไว้ ในจำนวนนี้มีบางตำบลในเขตที่ยากจนรวมอยู่ด้วย การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานโดยยึดหลักบนพื้นฐานเก่าได้ช่วยให้ตำบลเหล่านี้มีความก้าวหน้าอย่างน่าประทับใจในหลายด้าน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ในการผลิตและนำพันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกในตำบลซึ่งทำให้ผลผลิตของต้นอ้อยเพิ่มขึ้น
|
ในฤดูฝนนี้ หุบเขา ดั๊กเฮอเลอ อำเภอ กาบาง จังหวัดยาลายเต็มไปด้วยสีเขียวของต้นอ้อย นาย โต๊งวันยาง ชาวบ้านจากหมู่บ้านหมายเลข 4 ของตำบลดั๊กเฮอเลอได้เผยว่า พื้นที่ในเขตนี้เป็นดินทรายซึ่งเหมาะที่จะปลูกต้นอ้อย 3 ปีของการปฏิบัติตามโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่คือช่วงเวลาที่นาย ยางและชาวบ้านในตำบลช่วยกันนำเอาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ในการผลิตและนำพันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกในตำบลซึ่งทำให้ผลผลิตของต้นอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 60 ตันต่อเฮกต้าร์เป็น 100 ตันต่อเฮกต้าร์และบางครั้งก็ได้ผลผลิตมากถึง 130 ตันต่อเฮกต้าร์ ขณะนี้ นาย ยาง พร้อมกับอีก 15 ครอบครัวในตำบล ดั๊กเฮอเลอ กำลังพัฒนารูปแบบทุ่งนาขนาดใหญ่เป็นการนำร่อง รวมพื้นที่เกือบ 13 เฮกต้าร์เพื่อประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการปลูกอ้อย นาย โต๊งวันยาง ได้กล่าวว่า “เมื่อโรงงานมีแนวทางพัฒนาไร่อ้อยขนาดใหญ่ ผมได้ขอให้ชาวบ้านทำตามและชาวบ้านก็เห็นด้วย ผมเห็นว่า การพัฒนาไร่อ้อยขนาดใหญ่ทำให้ได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากและประชาชนได้รับประโยชน์ ส่วนโรงงานก็เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนและปุ๋ยที่มีคุณภาพจึงทำให้ได้ผลผลิตสูง”
จากความได้เปรียบด้านสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะกับการปลูกอ้อย ตลอดจนการร่วมแรงร่วมใจของโรงงานอ้อยอานเค ประกอบกับความพยายามของประชาชนในท้องถิ่น ในอนาคตข้างหน้า การพัฒนาไร่อ้อยขนาดใหญ่จะถูกนำไปใช้ในท้องถิ่นอื่นๆเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของตำบลดั๊กเฮอเลอในอำเภอกบาง ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการผลิตจึงทำให้โฉมหน้าของชนบทใหม่ในตำบลเฮอเลอมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ในขั้นพื้นฐาน ด้วยจิตอาสา ประชาชนในตำบลได้เข้าร่วมการสมทบแรงงานและเงินทุนอย่างเต็มที่เพื่อทำให้เกิดการสร้างระบบคมนาคมเชื่อมหมู่บ้านจนถึงคันนาซึ่งในขณะนี้ เส้นทางร้อยละ 90 ในตำบลเฮอเลอ รวมระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางซึ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งสินค้า นาย เหงียนแทงเฝื่องชาวบ้านในหมู่บ้าน 3 ตำบลเฮอเลอได้เผยว่า “ชาวบ้านร่วมมือกันอย่างแข็งขันเนื่องจากเมื่อก่อนนี้ ถนนเส้นนี้ขรุขระทำให้การเดินทางลำบาก แต่หลังจากการปฏิบัติตามโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่และได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ประชาชนก็มีความปลื้มปิติยินดีมาก”
เมื่อโครงสร้างพื้นฐานได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นและเกิดการพัฒนา ส่งผลให้เกิดความสะดวกและเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อให้หลายครอบครัวในตำบลดั๊กเลอเฮอสร้างบ้านหลังใหม่ได้ นาย เหงียนวันทั๊ง ชาวบ้านในหมู่บ้าน 2 ตำบลดั๊กเลอเฮอได้กล่าวว่า จากแหล่งเงินทุนที่สะสมเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ครอบครัวของเขากำลังลงทุนประมาณ 1 พันล้านด่งเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่“ครอบครัวของผมได้ตั้งใจว่า จะสร้างที่อยู่อาศัยให้ถาวรเพื่อสอดคล้องกับภูมิทัศน์ท้องถิ่นที่กำลังปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่”
ในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ที่ตำบลดั๊กเลอเฮกได้ก่อสร้างบ้านใหม่นับร้อยหลังโดยแต่ละหลังใช้เงินลงทุนนับร้อยล้านด่ง โดยเฉพาะบ้านบางหลังใช้เงินก่อสร้างสูงถึงนับพันล้านด่งกลางไร่อ้อยที่เต็มไปด้วยสีเขียวซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการพัฒนาของผืนแผ่นดินนี้
ย้อนมองดูเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาของการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นาย เจิ่นฮุ๊ยเฟือก ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลดั๊กเลอเฮอ อำเภอกาบางได้แสงความยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า ผลสำเร็จที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงใหม่ในเรื่องแนวคิดและวิธีการปฏิบัติของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม เช่นในพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 1700 เฮกต้าร์ได้สร้างรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในตำบลประมาณ 27.6 ล้านด่ง เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมือเทียบกับปี 2011 และในจำนวนทั้งหมด 800 ครอบครัว มี 50 ครอบครัวเท่านั้นที่ยังคงยากจนอยู่ นาย เจิ่นฮุ๊ยเฟือกได้เผยว่า“จิตสำนึกความเข้าใจของประชาชนเป็นสิ่งที่พวกเราให้ความสนใจมากที่สุด เมื่อเริ่มโครงการ ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนต่างยังไม่มีความเข้าใจในการปฏิบัติโครงการ ดังนั้นจึงต้องเผยแพร่แนะนำให้เจ้าหน้าที่รู้ก่อนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจโดยประชาชนจะกลายเป็นปัจจัยหลัก รัฐจะให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในด้านกลไกและนโยบายเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติและได้ตระหนักถึงสิ่งนี้ว่า พวกเขาคือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการนี้”
ดั๊กเฮอเลอเป็นตำบลยากจนของอำเภอ กาบาง จังหวัดยาลายได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดภายหลัง 3 ปีของการปฏิบัติตามโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานเก่า./.
Bùi Hằng-VOV5