เศรษฐกิจครัวเรือนมีส่วนร่วมพัฒนาหมู่บ้านในเขตชายแดนจังหวัดลายโจว์
Khắc Kiên- Lê Phương -  
(VOVWORLD) - ฟองโถคือหนึ่งในอำเภอที่ยากจนที่สุดของจังหวัดชายแดนลายโจว์ โดยมี 28 ตำบลและตัวเมือง ซึ่งในนั้นมีตำบลชายแดน 13 แห่งและตำบลยากจน 15 แห่ง ประชากรร้อยละ 97 คือชนกลุ่มน้อย ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในอำเภอ ฟองโถ จึงประสบอุปสรรคมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ในหลายปีมานี้ จากการสนับสนุนและการช่วยเหลือของทางการและองค์กรสังคม ชาวบ้านได้มุ่งมั่นลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือน และสร้างฐานะ ซึ่งมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของหมู่บ้านในเขตเขา
เศรษฐกิจครัวเรือนมีส่วนร่วมพัฒนาหมู่บ้านในเขตชายแดนจังหวัดลายโจว์ |
หลังจากประสบความลำบากมากเนื่องจากเป็นครอบครัวยากจนมาหลายปี เมื่อปี 2016 ครอบครัวคุณ เติ๋นซานเหมย ในตำบล โหม่สี่ซาน อำเภอชายแดนฟองโถ ได้กู้เงิน 50 ล้านด่งจากธนาคารนโยบายสวัสดิการสังคมและยืมเงินจากญาติมิตรเพื่อนำไปซื้อรถยนต์ขนส่งวัสดุการก่อสร้าง หลังจากเก็บเงินระยะหนึ่ง และเห็นถึงความต้องการใช้คอนกรีตบล็อกเพื่อก่อสร้างบ้านในเขตชายแดน ครอบครัวนาง เหมย ได้ลงทุนเกือบ 100 ล้านด่งเพื่อซื้อเครื่องจักรและก่อสร้างโรงงานผลิตคอนกรีตบล็อกเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น
คอนกรีตบล็อกของครอบครัวนาง เหมย มีคุณภาพดีและได้รับความเชื่อมั่นจากชาวบ้าน ดังนั้น รูปแบบธุรกิจของครอบครัวเธอนับวันได้รับการขยาย ซึ่งจนถึงปัจจุบัน รายได้จากโรงงานผลิตคอนกรีตบล็อกและบริการส่งของด้วยรถยนต์ได้สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวประมาณ 200 ล้านด่งต่อปี สร้างงานทำที่มั่นคงให้แก่แรงงานในท้องถิ่น 4-5 คนด้วยรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 4-5 ล้านด่งต่อเดือน “เมื่อก่อน ครอบครัวดิฉันยากจนมากและไม่มีที่ดินเพื่อทำการผลิต ดังนั้นครอบครัวดิฉันต้องเลี้ยงปศุสัตว์และกู้เงินจากธนาคารเอาไว้ไช้ประกอบอาชีพ ดิฉันและสามีใช้รถให้บริการส่งของ เมื่อมีเงินก็ซื้อเครื่องจักรผลิตคอนกรีตบล็อกเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวบ้าน ตอนนี้ท้องไม่หิวแล้วและมีเงินเก็บนับร้อยล้านด่งต่อไป”
ครอบครัวนาง เติ๋นซานเหมย คือหนึ่งในครอบครัวที่ได้รับการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจากสมาคมฯและทางการท้องถิ่นทุกระดับในการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและมีส่วนร่วมปรับปรุงชีวิต เพื่อให้ชนเผ่าในเขตชายแดนเป็นฝ่ายรุกในการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือน ในหลายปีที่ผ่านมา พร้อมกับพรรคสาขาและทางการปกครองท้องถิ่น สมาคมเกษตรกรในตำบลโหม่สี่ซาน เป็นสะพานเชื่อมช่วยให้ประชาชนกู้เงินและกำหนดรูปแบบการผลิตอยู่เสมอ
เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจและปฏิบัติตาม ครอบครัวสมาชิกของสมาคมเกษตรกรได้มุ่งมั่นปฏิบัติรูปแบบใหม่เป็นการนำร่อง เมื่อรูปแบบนี้เกิดประสิทธิผล ทางสมาคมฯได้รณรงค์ให้สมาชิกอื่นๆปฏิบัติตาม ซึ่งทำให้โครงการเศรษฐกิจครัวเรือนพัฒนาในทุกหมู่บ้าน ตั้งแต่รูปแบบเศรษฐกิจการเกษตร เช่นการปลูกกระวาน ปลูกขมิ้นและปลูกป่า รวมทั้งการบริการต่างๆ สนับสนุนการดำรงชีวิตของชาวท้องถิ่นโดยตรง นาย ฝ่านล้าวต๋า นายกสมาคมเกษตรกรตำบล โหม่สี่ซาน อำเภอฟองโถ ได้เผยว่า “สมาคมเกษตรกรตำบลได้ช่วยให้สมาชิกของสมาคมปฏิบัติขบวนการผลิตและประกอบธุรกิจเก่งผ่านการได้รับความไว้วางใจจากธนาคารนโยบายในอำเภอเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกสมาคมเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อพัฒนาการผลิต จนถึงปัจจุบัน มีหลายครอบครัวใช้เงินกู้เพื่อผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมเกษตรกรของตำบลจะรณรงค์ให้สมาชิกของสมาคมเข้าร่วมโครงการใหญ่ๆ เช่นเกษตรกรแข่งขันผลิตประกอบธุรกิจเก่งและการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในตำบล”
ปี 2018 อำเภอฟองโถมีครอบครัวเกษตรกรเกือบ 2 พัน 9 ร้อยครอบครัวที่ได้รับเงินกู้เพื่อประกอบธุรกิจ แรงงานชนบทนับพันคนได้รับการฝึกสอนอาชีพเพื่อพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจ ครอบครัวเกษตรกรมีความสามัคคีและช่วยเหลือกัน ซึ่งได้สร้างบรรยากาศการแข่งขันที่คึกคักให้แก่สมาชิกเกษตรกร โครงการผลิตประกอบธุรกิจเก่งในท้องถิ่นได้รับการขยายผลซึ่งดึงดูดเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมากและความไว้วางใจของสมาชิกต่อองค์กรได้รับการยกระดับให้สูงขึ้น มีส่วนร่วมแก้ปัญหาความยากจนในท้องถิ่น นาย บุ่ยวันเซิน รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอฟองโถ จังหวัดลายโจว์ได้เผยว่า “สมาคมเกษตรกรได้รณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติรูปแบบการเลี้ยงปศุสัตว์ กู้เงินพัฒนาการผลิต แก้ปัญหาความยากจน เข้าร่วมการก่อสร้างกิจการในท้องถิ่น เช่นโครงการเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โครงการพัฒนาตำบลในเขตเขา สมาคมเกษตรกรได้ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการประชาชนอำเภอจัดงบส่วนหนึ่งเป็นประจำทุกปีเพื่อสนับสนุนกองทุนของสมาคมเกษตรกร ครอบครัวยากจนกู้เงินเพื่อพัฒนาการผลิต รูปแบบการปฏิบัติในท้องถิ่นได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ”
เกษตรกรในอำเภอชายแดนฟองโถได้ฟันฝ่าอุปสรรค ส่งเสริมจิตใจที่ขยันในการทำงาน การผลิต กล้าคิดกล้าทำ ปฏิบัติแนวทางของพรรค นโยบายและกฎหมายของรัฐอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะโครงการผลิตประกอบธุรกิจเก่งได้ดึงดูดสมาชิกของสมาคมฯเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพืชและสัตว์ แก้ปัญหาการผลิตที่ล้าหลัง มีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของหมู่บ้านยากจนในเขตชายแดนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ.
Khắc Kiên- Lê Phương