งานมหกรรมดนตรีสมัยใหม่เอเชีย–ยุโรปปี๒๐๑๔เป็นสะพานเชื่อมวัฒนธรรมอาเซียนกับโลก

(VOVworld) –  “หนึ่งไม่มีสอง” “น่าประทับใจมาก”นี่คือคำชื่นชมของศิลปินจำนวนมากในจำนวนศิลปินทั้งหมด๒๐๐คนจาก๓๐ประเทศ รวมทั้งศิลปินของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว ไทย และฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมงานมหกรรมดนตรีสมัยใหม่เอเชีย–ยุโรปปี๒๐๑๔ ที่จัดขึ้น ที่กรุงฮานอย และนครฮาลอง จังหวัดกว๋างนิงในระหว่างวันที่๘ถึงวันที่๑๒เดือนนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในปีนี้


(VOVworld) –  “หนึ่งไม่มีสอง” “น่าประทับใจมาก”นี่คือคำชื่นชมของศิลปินจำนวนมากในจำนวนศิลปินทั้งหมด๒๐๐คนจาก๓๐ประเทศ รวมทั้งศิลปินของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว ไทย และฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมงานมหกรรมดนตรีสมัยใหม่เอเชีย–ยุโรปปี๒๐๑๔ ที่จัดขึ้น ที่กรุงฮานอย และนครฮาลอง จังหวัดกว๋างนิงในระหว่างวันที่๘ถึงวันที่๑๒เดือนนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในปีนี้

มายแอง“ดิฉันเห็นว่า ผลงานต่างๆมีลมหายใจของชีวิตที่ทันสมัย”

หายลอง“ผลงานดนตรีต่างๆทำให้บทบาทของมนุษย์ได้รับการยกย่องเชิดชูและมีความผูกพันกับความรัก”

งานมหกรรมดนตรีสมัยใหม่เอเชีย–ยุโรปปี๒๐๑๔เป็นสะพานเชื่อมวัฒนธรรมอาเซียนกับโลก - ảnh 1
นักดนตรีโด๋ห่งกวน นายกสมาคมนักดนตรีเวียดนาม(ขวา)และนักดนตรีราซิด กาลีมูลิน
นายกสมาคมนักดนตรีสาธารณรัฐตาตาร์สถาน

ในหลายวันที่ผ่านมา ผู้รักดนตรีได้สัมผัสกับชีวิตดนตรีเอเชีย–ยุโรปสมัยใหม่ที่มีหลากหลายอารมณ์ จากเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแชมเบอร์ ร้องหมู่ ซิมโฟนี ละครร้องและดนตรีพื้นเมืองได้สร้างภาพดนตรีที่หลากหลายสีสัน ยกย่องสรรเสริญชีวิตที่สวยงามและจิตวิญญาณของมนุษย์จากหลายประเทศ ไฮไลท์ของงานมหกรรมดนตรีครั้งนี้คือ รายการคอนเสิร์ตดนตรีพื้นเมืองเวียดนาม ที่จัดขึ้น ที่ถ้ำเด่าโก๋ในอ่าวฮาลองซึ่งได้สร้างความประทับใจให้แก่บรรดาศิลปินต่างประเทศ นักดนตรีราซิด กาลีมูลิน นายกสมาคมนักดนตรีสาธารณรัฐตาตาร์สถาน สหพันธรัฐรัสเซียที่มีผลงานovertureโฮจิมินห์กล่าวว่า“นี่เป็นครั้งที่๒ที่ผมมาเวียดนามตามคำเชิญของนักดนตรีโด๋ห่งกวน นายกสมาคมนักดนตรีเวียดนาม งานมหกรรมดนตรีครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสร้างอารมณ์สุนทรีใหม่ๆ  โดยเฉพาะ วัฒนธรรมเวียดนามเป็นสะพานเชื่อมที่ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจคนและ ประเทศเวียดนามและประเทศอื่นๆ”

ที่ท่านกำลังรับฟังอยู่ขณะนี้คือเพลงโบพา โบโดลชัดของนักดนตรีชาวกัมพูชาซอมซอมอางโดยนักร้องแห่งชาติรินอาน อาจารย์จากกรมศิลปะแสดงแห่งกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะกัมพูชาเสนอ นายรินอานกล่าวว่า“ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้าร่วมงานมหกรรมดนตรีครั้งนี้  เมื่อกลับประเทศ ผมจะกล่าวกับนักเรียนและนักศึกษาของตนว่า งานมหกรรมดนตรีครั้งนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ เป็นโอกาสเพื่อให้บรรดาศิลปินจากทั่วโลกพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ด้านดนตรี และวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ”

จากแนวทางนำดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องเข้าใกล้ผู้ฟังประเทศอาเซียนมากขึ้น วาทยากรกาห์จุน วอง ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะขององค์กรดนตรีสมัยใหม่เอเชียในสิงคโปร์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของประเทศตนเกี่ยวกับปัญหานี้ว่า“ในทางเป็นจริง ยากที่จะขายตั๋วรายการแสดงซิมโฟนีและดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องเพราะในตอนแรกชาวสิงคโปร์ไม่ชอบฟังซิมโฟนีสมัยใหม่หากชอบผลงานดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน โมสาร์ท ชายกอฟสกี และบราห์ม แต่๓ถึง๔ ปีให้หลัง

จากความพยายามในการจัดคอนเสิร์ต ก็มีประชาชนไปฟังมากขึ้นและเข้าใจดนตรีนี้มากขึ้น ดังนั้น สำหรับประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ เวียดนามต้องใช้เวลา๔ถึง๕ ปีเพื่อให้ประชาชนคุ้นเคยกับซิมโฟนีทันสมัย งานมหกรรมดนตรีครั้งนี้เป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อสร้างสิ่งนี้”

การร้องเพลงพื้นเมืองกวานเหาะพี่เอ๋ยอย่าเพิ่งกลับและการร้องเพลงทำนองวันซ้าเถื่องซึ่งเป็นการร้องเพลงในพิธีเข้าทรงของเวียดนามเป็นการเสร็จสิ้นงานมหกรรมดนตรีสมัยใหม่เอเชีย–ยุโรปปี๒๐๑๔ เมื่อค่ำวันที่๑๒เดือนนี้ บรรดาศิลปินร่ำลากันแต่ในดวงใจของแต่ละคนยังคงมีดนตรีที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมระหว่างประเทศอาเซียนกับโลก./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด